สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
นายเกรียงศักดิ์ โชควรกุล, เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง: แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): The approach to reduce the production cost of cassava and develop a network of farmers who produce cassava province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง และเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้พื้นที่ศึกษา คือ อำเภอครบุรี เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา ทำการศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตและพัฒนากลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอำเภอครบุรีส่วนใหญ่มองว่า มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกและดูแลอย่างไรก็ได้ ภาษาชาวบ้าน คือ ปลูกให้เทวดาเลี้ยง ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงเพียงแค่ไถเตรียมดิน นำท่อนพันธุ์มาปัก แล้วก็หนีหายไป จนครบอายุก็มาขุดเอาหัวมันไปขาย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โรค แมลง วัชพืช จะมีหรือไม่มีไม่ได้เป็นปัญหา หรือแม้แต่จะกระทบแล้งอย่างไรก็ไม่ใช่ประเด็นเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือ วิถีปฏิบัติต่อมันสำปะหลังที่เกษตรกรปฏิบัติสืบต่อกันมา เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอำเภอครบุรีมีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังสูง เนื่องมาจากไม่มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เกษตรกรยังใช้วิธีการปลูกมันสำปะหลังแบบดั้งเดิม คือ (1) ไม่รู้วิธีการจัดการดินเคยปลูกอย่างไรก็ปลูกอย่างนั้น ขาดการบำรุงรักษาดิน (2) ไม่รู้วิธีการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีการปลูกพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ (3) ไม่รู้วิธีการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (4) การเพาะปลูกมันสำปะหลังยังใช้น้ำฝนเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก (5) ไม่รู้วิธีการอารักขาพืช คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงแนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง โดยใช้แนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอำเภอครบุรีจะต้องเรียนรู้ 5 เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นต้นการผลิตมันสำปะหลัง ได้แก่ (1) การจัดการดิน (2) การจัดการพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ (3) การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (4) การจัดการน้ำหยด (5) การอารักขาพืช 2) ในพื้นที่อำเภอครบุรี เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังมีการรวมกลุ่มเป็นจำนวนมากถึง 80 กลุ่ม เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรของรัฐบาล โดยดำเนินการผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังในแต่ละกลุ่ม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มจำนวน 9 คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และกรรมการอีก 5 คน มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 30 คน แต่ไม่เกิน 50 คน ซึ่งในการสมัครสมาชิกกลุ่มนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากสมาชิกเดิมเกินจำนวนกึ่งหนึ่ง จะต้องมีภูมิลำเนาที่อยู่ รวมถึงที่ดินทำกินอยู่ในพื้นที่ของกลุ่ม กลุ่มเกษตรกรมีกำหนดการประชุมทุกเดือน เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานและการวางแผนการดำเนินงานกลุ่ม จุดประสงค์หลักของการรวมกลุ่มเกษตรกร คือ เพิ่มอำนาจต่อรองราคามันสำปะหลังกับพ่อค้าคนกลาง สมัยก่อนลานมันสำปะหลัง รับซื้อมันสำปะหลังในราคาเหมา ไม่มีการวัดเปอร์เซนต์แป้ง มีปัญหาการโกงตาชั่ง ทำให้เกษตรกรประสบปัญหายิ่งขายยิ่งขาดทุน เกษตรกรจึงมีการปรึกษาหารือกันว่าน่าจะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นเพื่อลดปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยเข้าไปขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จึงมีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรครบุรี จำกัดขึ้น เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2520 ประเภทสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรครบุรี จำกัด ทำการซื้อขายมันสำปะหลังกับ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด โดยมีวิธีการดังนี้ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรครบุรี จำกัด สามารถนำมันสำปะหลังเข้าไปชั่งน้ำหนักและเทขายที่ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ได้โดยตรง เมื่อผ่านการวัดเปอร์เซนต์แป้ง และชั่งน้ำหนักหัวมันสำปะหลังสดเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ จะออกใบชั่งน้ำหนักให้เกษตรกร สามารถตีรถกลับไปขึ้นเงินที่สหกรณ์การเกษตรครบุรี จำกัด ได้ทันที ซึ่งทางบริษัทฯ จะใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีสหกรณ์ฯ โดยตรง วิธีการนี้สหกรณ์ฯ ได้ค่าดำเนินการ 3 เปอร์เซนต์จากยอดรับซื้อหัวมันสดทั้งหมด ส่วนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ได้ราคาที่สูงกว่าราคาหน้าป้ายโรงแป้งมันอีก 5 สตางค์ต่อกิโลกรัม และได้ค่ารถ (ค่าเบรค) อีก 5 สตางค์ต่อกิโลกรัม และสิ้นปีเกษตรกรได้รับเงินปันผลจากสหกรณ์การเกษตรครบุรี จำกัด ทำให้เกษตรกรมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ในส่วนของผู้ประกอบการด้านมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันมี 22 โรงแป้ง 120 ลานมัน ทั่วจังหวัดนครราชสีมา ประสบปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังภายในจังหวัดนครราชสีมามีไม่เพียงพอความต้องการซื้อ ต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อมันสำปะหลังจากจังหวัดอื่น ทำให้มีต้นทุนการรับซื้อที่สูงขึ้นจากค่าขนส่ง ผู้ประกอบการฯ จึงรวมตัวกันเพื่อหาทางเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มผู้ประกอบการฯ ได้ประสานไปยังรัฐบาลเพื่อขอรับการสนับสนุน ต่อมารัฐบาลมีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่พิเศษ/2553 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง "แต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการเขตเศรษฐกิจ เพื่ออาหารพลังงานและอุตสาหกรรม" มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานคณะทำงานร่วม และเลือกจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดนำร่องโครงการ โดยมุ่งเน้นให้มีการผลิตแบบกลุ่มการผลิต (Cluster) ที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงกันในระหว่างผู้ผลิตภายในห่วงโซ่อุปทาน จากนั้นมีคำสั่งจังหวัดนครราชสีมา ที่ 2262/2553 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 แต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหารพลังงานและอุตสาหกรรม (ปี 2553 - 2556) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานคณะทำงานระดับจังหวัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์จากกิจกรรมการรวมกลุ่ม จึงมีมติให้ตั้งชื่อ "คลัสเตอร์มันโคราช หรือ Korat Tapioka Cluster (KOTAC)" อย่างเป็นทางการ วัตถุประสงค์ KOTAC คือ กระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม ให้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เกิดความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการดำเนินการที่มีการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และกลยุทธ์รวมทั้งแผนปฏิบัติการ ที่ชัดเจน เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างยั่งยืน 3) กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง อำเภอครบุรี ไม่มีแผนการดำเนินงานการพัฒนาการตลาดมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจำหน่ายมันสำปะหลังสดเป็นหลัก ทำให้ได้ราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการแปรรูปเป็นมันสำปะหลังเส้น เมื่อกลไกการตลาดเป็นเครื่องจำกัดความได้เปรียบในทางการค้า เกษตรกรจึงควรเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายมันสำปะหลังของตนเองเสียใหม่ จากรูปแบบเดิมซึ่งจำหน่ายให้แก่คนกลางในรูปหัวมันสดเป็นการจำหน่ายเป็นมันเส้น เพราะว่าจะได้ราคาสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมันสำปะหลังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น คณะผู้วิจัยใคร่ขอแสดงกรณีตัวอย่างสมมุติว่า ขณะนี้ราคามันสดเปอร์เซนต์แป้ง 25% เฉลี่ยอยู่ ณ ราคา 2.20 บาท/กก. และมันเส้นราคา 6.80 บาท/กก. แต่การจะแปรรูปหัวมันสดให้ได้มันเส้นน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้หัวมันสดน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม หากแปรรูปเป็นมันเส้นสามารถจำหน่ายได้ราคาเพิ่มขึ้น 1.30 บาท/กิโลกรัม พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของครอบครัวเกษตรกรระดับกลางในอำเภอครบุรี เฉลี่ยมีประมาณครอบครัวละ 15 ไร่ ผลผลิตมันสดโดยเฉลี่ย 3.0 ตัน/ไร่ โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ 15(3,000 ? 2.5)1.30 = 23,400 ดังนั้น หากเกษตรกรจำหน่ายมันสำปะหลังในรูปมันเส้นแล้ว จะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงครอบครัวละประมาณ 23,400 บาท/ปี ซึ่งในอนาคตหากเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังสด/ไร่ ได้มากขึ้นก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการแปรรูปเป็นมันเส้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมเอทานอล ซึ่งใช้มันสำปะหลังสดและมันสำปะหลังเส้นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เป็นช่องทางการตลาดหนึ่งที่ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังขายผลผลิต เนื่องจากภาครัฐให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมเอทานอลอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นพลังงานทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ช่วยประหยัดเงินตราของประเทศและเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research study. To study the cost of the production of cassava farmers who produce cassava. Nakhon Ratchasima To support the integration creating a network of farmers who produce cassava. And to increase marketing for cassava products. Nakhon Ratchasima The study area is due Khon Buri district, a district that has grown cassava in the province. Studied by those involved with promoting the development and manufacturing network of farmers who produce cassava in the province. The process of qualitative research The study found that 1) the farmers who produce cassava Khon Buri district generally regarded. Cassava is grown and how it is grown in the home to Angel Party. So planting cassava so just plow tillage. Forest, the Wildcats were led Then fled away, Until the maturity was sold to dig out the roots. The abundance of soil insects, diseases, weeds are not a problem or not. Or even drought, however, it was not an issue as well. All this is Cassava farmers follow the practices of the people. Khon Buri district farmers who produce cassava are cassava production costs high. Because of the lack of cassava production technologies applied in their area. Cassava farmers still use traditional methods are: (1) do not know how to manage soil used to grow the crop, however. Lack of maintenance of soil (2) do not know how to deal cassava varieties that fit the area. The plant species that do not fit the space. It has a low yield (3) do not know how to handle manure on the soil (4) cultivation of cassava to use rainwater as a primary factor in cultivation (5) do not know how to plant. The researchers conducted a study of ways to reduce the cost of cassava production. Using the guidelines of the Ministry of Agriculture by farmers who produce cassava Khon Buri District will have to learn five technologies to improve productivity and reduce the production of cassava include (1) soil management (2) Management of varieties that fit the space (3. ) fertilizer management based on the analysis of soil (4) management of water drops (5) crop protection. 2) in Khon Buri district Farmers who produce cassava bundles as many as 80 groups of farmers, the governments policy to promote integration. Conducted by the Ministry of Agriculture and Cooperatives By the farmers who produce cassava in each group. The management group has appointed a committee of nine people including the president, vice president, secretary, treasurer and five other board members who are not less than 30 nor more than 50 people who register in that group. Must be certified by the original members exceeded half. Must be domiciled address Including arable land in the area of the group. Farmers have set up meetings every month. To monitor the implementation and operational planning group. The main aim of the group is to increase farmers bargaining power with middlemen cassava. Initially yard cassava Buy cassava in the package price. No measuring flour collections The scales are cheating Farmers face problems selling even more losses. Farmers have a discussion that should be grouped together to form cooperatives to reduce exploitation. The latest consultation from the authorities Provincial Cooperative Office in Nakhon Ratchasima. It has established cooperative Khon Ltd. On February 8, 2520 of an agricultural cooperative. Khon Buri Agriculture Cooperative Limited Trading Company reserves Wong cassava industry is limited by the following methods. Farmers who are members of cooperatives Khonburi limit can be weighed and cassava to sell the company reserves Wong Industrial Co., Ltd. has passed the measure directly on the dough percent. And weighed fresh cassava completed, the company will issue a scale farmers. Back to the car can hit up the money Khonburi Cooperative Ltd. The company immediately. How to use the cooperatives bank account directly to this cooperative. The processing fee of 3 percent of the total purchase all fresh roots. The farmers are members of cooperatives have a higher price tag than the price five cents more per kilogram of flour mills and the car (the brakes), another 5 cents per kilogram. And year-end dividends received from farmers, agricultural cooperatives, farmers Khonburi limited income and living conditions are much improved. The operator of cassava in the province. Currently, there are 22 flour mills 120 million it across the province. Experiencing cassava within the province there is not enough demand. To solve the problem with buying potatoes from other provinces. The cost of the purchase of higher transport costs. The operator Gather to seek more cassava to the farmers who produce cassava province. As a result, the Coordinate to the government for support. The government has ordered the Ministry of Agriculture. Department of Energy Ministry of Industry and Special / 2553 dated February 9, 2553 entitled "Appointment of work integrated economic area. For food, energy and industry, "the Permanent Secretary of the Ministry of Agriculture. Secretary of Energy Ministry of Industry and Chairman of the Works And Nakhon Ratchasima A provincial pilot project By focusing on the production of bulk products (Cluster) are managed effectively. And coherence between manufacturers within the supply chain. The province has ordered the 2262/2553 dated July 13, 2553 appointed a working group to integrate the fields of agricultural economics, food, energy and industrial (years 2553-2556) by the Governor of Nakhon Ratchasima. The chairman of the working class Province Department of Industrial Promotion The Department of Industrial Promotion, which is sponsoring the establishment of six clusters of activity bundles. Passed a resolution to name "Its a cluster or Korat Korat Tapioka Cluster (KOTAC)" official purposes KOTAC is urged stakeholders in the industry. The importance of integration as a business partner. Cooperation Information exchange Knowledge, experience Product development and innovation with the implementation of the strategic direction and goals, as well as a clear action plan to build competitiveness in both domestic and international sustainable. 3) the farmers who produce cassava Khon Buri district has no plans to develop a market for cassava. Most of the farmers sold fresh cassava is the main. It has a relatively low price compared with a cassava processing line. When the market mechanism as defined advantage in trade. Farmers should change their behavior cassava waste disposal. From the original model, which sold to a middleman in the distribution of the cassava root. It will not cost more than In order to add value to cassava farmers increase income. To illustrate more clearly. The researchers would like to show you an example, lets say. At this price it fresh collections flour 25% average at the price 2.20 baht / kg and cassava price 6.80 baht / kg, but will be processed root to it the weight of one kilogram takes root weight 2.5 kg processed. It can be sold on-line prices rose 1.30 baht / kg cassava growing areas of family farmers in the Central District, Khon. The average family has about 15 acres of its fresh produce on average 3.0 tonnes / ha, with the following formula: 15 (3,000 ? 2.5) 1.30 = 23,400, so if a farmer sells cassava and cassava. To increase the family income of about 23,400 baht / year in the future if farmers can increase yields of fresh cassava / ha. It will make farmers more income from privatization, as it lines up a lot. In addition, the researchers have found that the ethanol industry. The use of fresh cassava and cassava as raw material in the production line. Niche marketing is one that should encourage farmers who produce cassava yield sales. Because of government support for ethanol industry continues. It is a renewable crude oil imports from overseas. Save money and help the countrys income to the farmers who produce cassava sustainable.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
30 กันยายน 2558
อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทน จากการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก