สืบค้นงานวิจัย
การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์
แสงจันทร์ เสนาปิน - มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่อง: การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์
ชื่อเรื่อง (EN): Identification of proteins from white spot syndrome virus and the black tiger shrimp involved in apoptosis pathway
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แสงจันทร์ เสนาปิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กลไกการตายของเซลล์แบบ Apoptosis มีความจำเป็นต่อการพัฒนาการของเซลล์ และเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง อีกทั้งยังมีความสำคัญในการต้านไวรัสของเซลล์เจ้าบ้านด้วย ความรู้ความเข้าใจในกลไกการตายของเซลล์มีศึกษาอย่างเป็นระบบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แต่การศึกษาในกุ้งยังมีอยู่อย่างจำกัด มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าไวรัสตัวแดงดวงขาว และไวรัสหัวเหลืองซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคในกุ้งสามารถกระตุ้นการตายของเซลล์กุ้งได้ งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของกุ้งและไวรัสที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์ โดยใช้เทคนิค Yeast two-hybrid screenโดยเลือกโปรตีน 4 ชนิดจากไวรัสตัวแดงดวงขาว คือโปรตีน WSSV134, WSSV389, WSSV385 และ WSSV449 ในการหาปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนจากห้องสมุดของยีนกุ้งกุลาดำ ทำให้พบโปรตีนกุ้งที่มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของไวรัสเหล่านี้ ซึ่งได้แก่โปรตีน ?-2-macroglobulin, Lysozyme, Hypothetical protein,Crustin, Carboxypeptidase B, Elongation factor, Serine protease, Serine protease homolog และKazal-type proteinase inhibitor นอกจากนี้งานวิจัยยังศึกษาปฏิสัมพันธ์ของโปรตีนแคสเปสจากกุ้งกุลาดำ (PmCasp) กับโปรตีนจากห้องสมุดของยีนจากไวรัสตัวแดงดวงขาวโดยใช้ PmCasp ในรูปแบบของยีนเส้นสมบูรณ์ และเฉพาะส่วนของโดเมน p20 (กรดอะมิโนลำดับที่ 55 ถึง 215) และ p10 (กรดอะมิโนลำดับที่ 216 ถึง 317) เป็น bait ในการหาปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนจากไวรัสตัวแดงดวงขาว โดยวิธี Yeast two-hybrid screening ผลการศึกษาพบว่าโดเมน p20 เกิดปฏิสัมพันธ์กับโปรตีน WSSV134 และ WSSV322 ส่วนโดเมน p10 มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของไวรัสตัวแดงดวงขาว 9 ชนิดแต่ไม่พบโปรตีนจากไวรัสตัวแดงดวงขาวที่มีปฏิสัมพันธ์กับ PmCasp อย่างไรก็ตาม การยืนยันผลปฏิสัมพันธ์ของโปรตีนด้วยวิธี Co-immunoprecipitation ในระบบซลล์แมลง Sf-9 พบว่าโปรตีน WSSV134 และ WSSV322 จับได้ทั้ง PmCasp และโดเมน p20 ผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการย้อมนิวเคลียสของเซลล์แมลง Sf-9 ด้วยสี DAPI พบว่า PmCasp สามารถกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์ได้ แต่ไม่พบลักษณะการตายของเซลล์เมื่อได้รับโดเมน p20 ที่สำคัญยังพบว่าโปรตีน WSSV134 และ WSSV322 สามารถยับยั้งกลไกการตายของเซลล์ Sf-9 ที่ถูกกระตุ้นโดย PmCasp ได้ การทดลองควบคุมที่มีการใช้โปรตีน WSSV449 นั้นพบว่าไม่สามารถจับกับ PmCasp ด้วยวิธี yeast two-hybrid และไม่สามารถยับยั้งการตายของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วย PmCasp ดังนั้น การศึกษานี้ค้นพบโปรตีนจากไวรัสตัวแดงดวงขาวที่มีหน้าที่ยับยั้งกลไกการตายของเซลล์เพิ่มอีก 2 ชนิด และมีการสันนิษฐานว่า PmCasp และ Pm caspase มีหน้าที่ต่างกันในกลไกการตายของเซลล์
บทคัดย่อ (EN): Apoptosis is essential for development, tissue homeostasis and defense against viral infections in multicellular organisms. Although extensively studied in some organisms, its pathways are not well understood in shrimp. White spot syndrome virus (WSSV) and yellow head virus have been shown to be able to induce apoptosis in shrimp infections. The objective of this project was to study the interaction between shrimp and viral proteins involved in apoptosis pathway. In this work 4 WSSVproteins (WSSV134, WSSV389, WSSV385, and WSSV449) that may confer anti-apoptotic function were used as baits to screen for interacting partners in the black tiger shrimp (Penaeus monodon) hemocyte cDNA library by yeast two-hybrid screen. Interacting proteins identified from shrimp in this study included ?-2-macroglobulin, Lysozyme, Hypothetical protein,Crustin, Carboxypeptidase B,Elongation factor, Serine protease, Serine protease homolog, and Kazal-type proteinase inhibitor. In addition, caspase or cysteine-dependent aspartate-directed protease (key factors in the apoptosis pathway) from shrimp was also selected in this research. This study employed a full-length sequence of PmCasp and its p10 and p20 domain as baits to screen for novel anti-apoptotic proteins from WSSV using the yeast two-hybrid approach. The results showed that PmCasp gave no interaction with WSSV proteins. However, two WSSV proteins, WSSV134 and WSSV322, were found to interact with the p20 domain while nine WSSV proteins interacted with p10 domain. Co-immunoprecipitation in the Sf-9 system was then used to confirm the protein-protein interaction. The results demonstrated that WSSV134 and WSSV322 were immunoprecipitated by both p20 and PmCasp proteins. By morphological observation and DAPI nuclear staining, Sf-9 cell apoptosis could be induced by PmCasp but not by the p20 domain. Interestingly, anti-apoptosis activity of WSSV134 and WSSV322 was revealed by inhibition of Sf-9 cell apoptosis induced by PmCasp. WSSV449 that was included in the control experiments did not bind to PmCasp in the yeast two-hybrid assay. In addition, WSSV449 could not inhibit apoptosis induced by PmCasp. Thus, this study successfully identified 2 novel anti-apoptotic proteins from WSSV.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์
มหาวิทยาลัยมหิดล
30 กันยายน 2558
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การศึกษาการถ่ายทอดชิ้นส่วนของยีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวที่แทรกอยู่ใน genome ของกุ้งกุลาดำโดยการสืบพันธุและบทบาทชิ้นส่วนของยีนของไวรัสดังกล่าวต่อภูมิคุ้มกันของลูกกุ้งต่อไวรัสตัวแดงดวงขาว ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (white spot syndrome virus, WSSV) ในกุ้งกุลาดำ บทบาทของ HtrA2 serine protease ต่อการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (ระยะที่ 2) การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในกุ้งที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ด้วยเทคนิค RNA Interference (ระยะที่ 2) กลไกการทำงานของยีน PmRab7 ต่อการเคลื่อนที่ภายในเซลล์ของไวรัสที่ก่อโรคในกุ้ง การทดสอบเพื่อยืนยันการนำโปรตีนวัคซีน PmRab7 ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ในกุ้งในระดับอุตสาหกรรม การพัฒนาชุดตรวจ strip test ต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก