สืบค้นงานวิจัย
แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก
ปวโรจน์ นรนาถตระกูล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก
ชื่อเรื่อง (EN): Bio-economic Model for Management of Short Mackerel Fisheries in the Western Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปวโรจน์ นรนาถตระกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Nuntachai Boonjorn
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราการจับ องค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำ และความยาวปลาทูจากอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตกโดยการเก็บข้อมูลจากเรือประมงที่ใช้เครื่องมือชนิดอวนล้อมจับที่ทำการประมงในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน และอ่าวไทยตอนกลางระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี2556 พบว่า มีอัตราการจับสัตว์น้ำ 2,512.96 กิโลกรัม/วัน องค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำหลักได้แก่ ปลาทู (Rastrelliger brachysoma) ปลาหลังเขียวจุด(Sardinella gibbosa) และปลาลัง (R. kanagurta) คิดเป็นร้อยละ 44.64 11.58 และ 7.36 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดตามลำดับ ปลาทูที่จับได้มีความยาวอยู่ในช่วง 8.75-23.25เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 15.49?2.28 เซนติเมตร ปลาทูที่จับได้ร้อยละ 88.65 มีความยาวน้อยกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ของเพศเมีย การวิเคราะห์ผลผลิตและมูลค่าปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตกในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น 2 สถานการณ์ ได้แก่กำหนดให้ปลาทูขนาดเล็กในปี2556 ไม่ถูกจับโดยเครื่องมือชนิดอวนล้อมจับ และปล่อยให้เจริญเติบโตจนถึงขนาดแรกสืบพันธุ์ และกำหนดให้ปลาทูที่ถูกจับทั้งหมดในปี 2556เจริญเติบโตต่อไปในช่วงเวลา 3 เดือน และทำการปรับระดับการลงแรงประมงตั้งแต่ 0.0-4.0โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐกิจชีววิทยา พบว่า ในปี 2556 มีปริมาณการจับปลาทูจากเครื่องมือชนิดอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก 72,350 ตันมูลค่า 2,320.48 ล้านบาท เมื่อวิเคราะห์สัดส่วนปลาทูขนาดเล็กซึ่งมีความยาวน้อยกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์โดยใช้ผลการศึกษาการกระจายความถี่ความยาว พบว่า ปลาทูปริมาณ 58,667ตันเป็นปลาทูขนาดเล็ก มีมูลค่า 1,826.57ล้านบาท หากกำหนดให้ปลาทูขนาดเล็กดังกล่าวไม่ถูกจับ โดยสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 0 และปล่อยให้เจริญเติบโตจนถึงขนาดแรกสืบพันธุ์ จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 73,421 ตัน และมีมูลค่า 2,569.72ล้านบาท สำหรับกรณีกำหนดให้ปลาทูที่ถูกจับทั้งหมดในปี 2556 เจริญเติบโตต่อไปในช่วงเวลา 3 เดือนและสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 0 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 3เดือน ผลผลิตปลาทูทั้งหมดจะลดลงเหลือ 66,476ตันแต่มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2,341.67ล้านบาท โดยผลผลิตและมูลค่าจะลดลงตามการเพิ่มขึ้นของระดับการลงแรงประมงทั้ง 2สถานการณ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก
กรมประมง
30 กันยายน 2557
กรมประมง
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาข้าราชการกรมประมง การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ในอ่าวไทย ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาแข้งไก่(Megalaspis cordyla (Linnaeus,1758)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenopthalmus Bloch, 1793)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก