สืบค้นงานวิจัย
ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี
อรสา บุญพร่อง - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Farmers' satisfaction towards rice seeds quality produced by Ratchaburi rice seed center
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรสา บุญพร่อง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Orasa Boonprong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ดังนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว (3) ความพึงพอใจต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ประชากร คือ เกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี ในปี 2552 ใช้ปลูกใน 3 อำเภอ คือ อาเภอเมืองราชบุรี อาเภอโพธาราม และอาเภอปากท่อ มีจานวนทั้งสิ้น 405 ราย กลุ่มตัวอย่าง 136 ราย สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป โดยใช้สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.68 ปี สองในสามจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการทานา เฉลี่ย 2.19 ราย ในฤดูการผลิต ปี 2551/2552 มีพื้นที่ทานาเฉลี่ย 20.70 ไร่ ได้รับราคาผลผลิตเฉลี่ย 8.52 บาทต่อกิโลกรัม รายได้และรายจ่ายต่อไร่จากการทานาเฉลี่ย 8,519.54 บาท และ 3,765.26 บาท ตามลาดับ เกษตรกรได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร สื่อสิ่งพิมพ์ คือ แผ่นพับ สื่อมวลชน คือ วิทยุกระจายเสียง และสื่อกิจกรรม คือ การฝึกอบรม และการสัมมนา (2) โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวในระดับมากที่ค่อนมาทางมากที่สุด (3) โดยภาพรวม เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านสรีรวิทยา และมีความพึงพอใจในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ ด้านกายภาพ และด้านพันธุกรรม เกษตรกรมีความรู้มากเท่าใดก็จะส่งผลต่อระดับความ พึงพอใจต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มากขึ้นไปด้วย (4) เกษตรกรมากกว่าหนึ่งในสาม มีปัญหาเมล็ดพันธุ์มีวัชพืชปน มีพันธุ์อื่นปน มีเมล็ดลีบมาก และไม่ต้านทานโรค เกษตรกรน้อยกว่าหนึ่งในห้า มีปัญหาเมล็ดพันธุ์ไม่มีการคลุกสารเคมี มีโรค ติดมากับเมล็ดพันธุ์ ให้ผลผลิตต่า มีความงอกต่า ไม่มีความแข็งแรง และเสื่อมคุณภาพเร็ว เกษตรกรน้อยกว่าสี่ในห้า มีปัญหาเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง ขายข้าวได้ราคาต่า ขาดเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้เมล็ดพันธุ์ มีข้าววัชพืชระบาด ไม่มีเจ้าหน้าที่มาแนะนา และไม่มีเงินทุน ดังนั้น จึงเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ดีอย่างจริงจัง แนะนาอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม และสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่าเสมอ
บทคัดย่อ (EN): Objectives of this study were to study (1) social and economic characteristics of rice farmers in Ratchaburi province, (2) farmers’ knowledge of rice seed quality standard, (3) farmers’ satisfaction towards rice seed quality, and (4) problems and suggestions on the rice seed quality. The population in this study were 405 rice farmers from Mueang Ratchaburi, Photharam, and Pak Tho District in Ratchaburi Province had utilized rice seeds produced by Ratchaburi Rice Seed Center in 2009. The 136 samples were selected by using the stratified random sampling methodology. The data were collected by using a structured interview. The data was analyzed using a computer program. The statistical parameters being analyzed were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The findings of this study were as follows: (1) More than half of the farmers were male, with an average age of 46.68 years. Two-thirds of them were educated at a primary level. The average man power in rice farming was 2.19 persons per family. In 2008/2009 cropping season, their average rice farming area was 20.70 rais. The average price of their production was 8.22 baht/kg. Their average income and expenditure in rice farming was 8,519.54 baht/rai and 3,765.26 baht/rai, respectively. They had generally received an information on rice seed quality from personal communication, officials from Ratchaburi Rice Seed Center and Department of Agricultural Extension, printed media (brochures), mass media (broadcasting radio), and event media (training courses and seminars). (2) The farmers generally had knowledge of rice seed quality standard at almost the highest level. (3) Farmers were satisfied with rice seed quality at a high level. Furthermore, they were satisfied with rice seed quality at the highest level in one aspect,i.e physiology of rice seeds. The other 3 aspects that they were satisfied at a high level included seed hygiene, physical properties, and seed purity. The level of their knowledge of rice seed quality standard was related to the level of their satisfaction towards the rice seed quality. (4) More than one-third of them had problems with impurity caused by mixing of weeds and other cultivar seeds, too many unfilled seeds, and susceptible to plant diseases. Less than one-fifth of them had problems on untreated rice seeds with chemicals, seed-borne diseases, low yield, low germination, low vigor, and rapid deterioration. Less than four-fifths of them had problems on the high price of rice seeds produced by the center, the low price of their production, the lack of academic documents about rice seed utilization, the spread of weeds, the lack of extension officials, and the lack of capital. Thus, they suggested that both public and private sectors should have transferred to them the knowledge of rice seed quality, strongly supported them in quality rice seed utilization, instructed them to use a suitable rate of rice seeds utilization in their farming, and also supported them in new technology continuously.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329706
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ปัจจัยในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก