สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ขวัญตา มูลชารี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting to New Theory Farming of Agriculture by Farmers in Mueang District Roiet Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขวัญตา มูลชารี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kwunta Moolcharee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด รวมไปถึง 2) สภาพการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ของเกษตรกร 4) ปัจจัยต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 5 ประสานสืบสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2561อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 350 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การจัดอันดับ และใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 53.57 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.95 มีจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 2.53 คน เกษตรกรทั้งหมดมีการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 11.46 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 46,000 บาท ต่อปี และมีรายได้ต่อปี เฉลี่ย 82,798 บาทต่อปี 2) การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรร้อยละ 94.9 สามารถทำการเลี้ยงปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในสระเพื่อบริโภคและสร้างรายได้ มีการจัดสรรพื้นที่ ประมาณร้อยละ 30 เพื่อปลูกข้าว ร้อยละ 96.3 สามารถแบ่งพื ้นที่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร 3) ร้อยละ 61 เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 89 ได้รับความรู้จากการฝึกอบรม ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 83 ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และร้อยละ 6 ได้รับความรู้ จากเพื่อนบ้าน 4) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ พบว่า รายได้ภาคการเกษตร รายได้ต่อปี จำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตร มีความสัมพันธ์กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.6 ประสบปัญหาปัญหาภัยธรรมชาติ รองลงมาคือ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และ โครงการภาครัฐมีน้อยไม่ทั่วถึง
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this research were to study 1) economic and social status of farmers in Muang District, Roi-Et province, 2) new theory farming performance 3) farmers’ Knowledge about new theory farming, resources and level of knowledge in new theory farming, 4) factors affecting to news Theory Farming and 5) problems and suggestions to promote new theory farming of agriculture by farmers. Population of this research were 350 farmers participating in the 5 projects of the new theory farming of agriculture 2018 in Mueang District, Roiet Province, and the samples were 188 farmers who were determined by Taro Yamane table and selected by simple random sampling technique. The research instrument for data collection was an interview in Mach to May 2018; and frequency, percentage, range, mean, standard deviation, rating and Peason’s product moment coefficient of correlation. The results of the study were as follows. 1) Average age of the farmers was 53.57 years old, most farmers graduated primary education, and the average number of family member was 3.95 people. For economic and social conditions, the number of average agricultural labors in each family was 2.53 people, the average land holding was 11.46 Rai, and annual income from agricultural activities was 46,000 bath and total annual income 82,798 bath. For the aspect of new theory farming performance of agriculture, 94.9 percent of farmers raised fish and other freshwater animals for consuming and making income, 30 percent of the land was allocated for growing rice, 96.3 percent of farmers can separate 30 percent of their land to be a source of water reserved for agricultural activities, 61 percent of farmers had knowledge about new theory farming of agriculture at high level, 89 percent of farmers, had obtained knowledge from training, following by 83 percent from agricultural promotion officers, and 62 percent from neighbors. Social factors including ages and number of family members were related to new theory farming of agriculture with statistical significant of 0.05 level and 0.001 level respectively. For Economic factors, income made from agricultural activities, annual income, average land holding for agricultural purposes were related to new theory farming of agriculture with statistical significance of 0.01 level. For problems, 76.6 percent of natural disasters lack of agricultural, labors for 71.3 percent of farmers. 68.6 percent of farmers found that the government projects were not sufficiently covering the number of the farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=80_Ext39.pdf&id=3552&keeptrack=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของเกษตรกรกับความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการปรับปรุงวิธีการผลิตทางการเกษตร : ศึกษาเฉพาะกรณีเกษตรกรชั้นเล็กในเขตอำเภอเกษตรวิจัย จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจกำหนดขนาดพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการผลิตไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลยางใหม่ ปี 2546/2547 อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด การยอมรับโครงการป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มของเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร ในจังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของกลุ่มเกษตรกรดีเด่น กับกลุ่มเกษตรกรกำลังพัฒนาในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่ออำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการปลูกพริกของเกษตรกรตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก