สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการผลิตและการส่งออกยางของเวียดนามและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
สุภาพร บัวแก้ว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตและการส่งออกยางของเวียดนามและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร บัวแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: "ในปี 2545 จีนมีปริมาณการผลิตยางทั้งสิ้น 527,400 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากประเทศจีนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาก จึงมีความต้องการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่สามารถ เพิ่มปริมาณการผลิตได้ในประเทศ จากปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายพื้นที่ปลูก ดังกล่าวทำให้จีนต้องนำเข้ายางธรรมชาติจากประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่รวมทั้งประเทศไทย ปริมาณ การใช้ยางธรรมชาติของจีนได้เพิ่มจาก 910,000 ตัน ในปี 2540 เป็น 1,310,000 ตัน ในปี 2545 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในปี 2546 จีนนำเข้ายางธรรมชาติปริมาณทั้งสิ้น 914,700 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจาก ไทย 436,600 ตัน หรือร้อยละ 18 ของปริมาณการส่งออกยางทั้งหมดของไทย อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ยางเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เศรษฐกิจของจีนขยายตัวย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความต้องการใช้ ยางของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 จีนจะใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ รวมทั้งสิ้น 7.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีการใช้ยางธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 3.06 ล้านตัน และการใช้ ยางของจีนจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของการใช้ยางทั้งหมดของโลกมณฑลไฮนานมีพื้นที่ปลูกยางมาก ที่สุดของจีน โดยในปี 2545 มีพื้นที่ปลูกยาง 368,900 เฮกตาร์ หรือประมาณ 2.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ มีปริมาณการผลิต 303,000 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของปริมาณการ ผลิตของประเทศ พื้นที่ร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกยาง เป็นสวนยางเปิดกรีดแล้ว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม ต่อเฮกตาร์ หรือ192 กิโลกรัม ต่อไร่ จำนวนวันกรีด 80-120 วัน ระบบกรีดที่ใช้สำหรับสวนยาง ที่เป็น State farms คือกรีดครึ่งลำตันวันเว้นวัน ส่วนสวนยางขนาดเล็กนิยมกรีดยางโดยใช้ความถี่ วันเว้น 2 วัน ดินปลูกยางมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง พันธุ์ยางที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ RRIM 600 และ PR 107 ด้านเขตกรรมมีการปฏิบัติโดยใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์บำรุงต้นยาง โดยวิธีการขุดหลุม การปลูกยางโดยทั่วไป ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 –3 เมตร ระหว่างแถว 6-8 เมตร ในกรณีที่ปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยาง เช่น พืชสมุนไพร อ้อย ถั่วลิสง มันเทศ ไม้ดอก จะใช้ระยะ ปลูก 2x10 เมตร ปัญหาการปลูกยางส่วนใหญ่เกิดจากลมใต้ฝุ่น อากาศหนาว และปัญหาต้นยางแสดง อาการเปลือกแห้งมากกว่าร้อยละ 10 แต่จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคยางพารา เวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกยาง ธรรมชาติรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก รองจากไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปัจจุบันเวียดนามมี พื้นที่ สวนยางทั้งสิ้น 2,625,000 ไร่ (420,000 เฮกเตอร์) ในจำนวนนี้พื้นที่ 1,687,500ไร่ (270,000 เฮกเตอร์) เป็นสวนยางของรัฐ ซึ่งบริหารงานโดยบริษัทยางเวียดนาม (Vietnam General Rubber Corporation : GERUCO ) และบริษัทซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของราชการส่วนท้องถิ่น(Provincial authorities ) สวนยางที่เหลือจำนวน937,500 ไร่ (150,000 เฮกเตอร์)เป็นของเอกชน (Private sector) รัฐบาลเวียดนาม ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ.2553 พื้นที่สวนยางของประเทศจะมีจำนวนทั้งสิ้น 3,125,000 ไร่ (500,000 เฮกเตอร์ )โดยสวนยางที่เป็นของรัฐจะมีจำนวนทั้งสิ้น 2,187,500 ไร่ (350,000 เฮกเตอร์) ปริมาณการผลิตยางของเวียดนามขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่าปี 2540-2545 โดยมีปริมาณการ ผลิตในปี 2540 มีจำนวนทั้งสิ้น 212,000 ตัน ได้เพิ่มขึ้นเป็น 373,000ตัน ในปี 2545 อัตราการขยายตัว เฉลี่ยร้อยละ 10.26 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ การส่งออก ยางธรรมชาติของเวียดนามขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปริมาณการผลิต เนื่องจากส่วนใหญ่เป็น การผลิตเพื่อส่งออกในรูปวัตถุดิบ โดยปริมาณการส่งออกยางของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นจาก 194,200 ตัน ในปี 2540 เป็น 351,000 ตัน ในปี 2545 โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 12.8 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2540-2545"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการผลิตและการส่งออกยางของเวียดนามและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก การวิจัยพัฒนาการผลิต ผลิตภัณฑ์ยางและอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ยางพารา ศักยภาพอุตสาหกรรมและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ ภาวะการผลิตกระเจี๊ยบเขียว การผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ ศึกษาศักยภาพข้อจำกัดและความต้องการใช้ยางของโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง พัฒนาการผลิตพรรณไม้น้ำปลอดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชเพื่อการส่งออก ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี ศักยภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ยางของกลุ่มเกษตรกรสวนยาง การใช้ยางธรรมชาติร่วมกับยางสังเคราะห์เพื่อผลิตปะเก็นยางทนน้ำมันสำหรับสวมเพลาเกียร์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก