สืบค้นงานวิจัย
ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
มะลิวรรณ นาสี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Mepiquat Chloride, Chlormequat Chloride, and Paclobutrazol on Flowering of Mango cv. Nam Dok Mai Si Thong
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มะลิวรรณ นาสี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Maliwan Nasee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2555 ถึง เดือนมีนาคม 2556 ณ แปลงเกษตรกร อำเภอสันทราย      จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยกำหนดให้ 10 ต้นเป็น     1 บล็อค รวมทั้งหมด 3 บล็อค จำนวน 5 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ควบคุม 2) ราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 3) พ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร 4) พ่นทางใบด้วยคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 5) พ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตรผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า การใช้สารชะลอการเจริญเติบโตของพืชในทุกกรรมวิธี สามารถชักนำการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมเฉลี่ย 87-92 วัน หลังทำการทดลอง โดยการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัมของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม มีผลทำให้มะม่วงออกดอกมากที่สุดถึง 96.16 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร คลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก 65.46-82.13 เปอร์เซ็นต์ โดยในทุกกรรมวิธีมีช่อดอกล้วนเฉลี่ย 67.11-77.54 เปอร์เซ็นต์ และช่อดอกปนใบ 22.46-32.89 เปอร์เซ็นต์ และการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซล 1 กรัมของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม การพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มากกว่าการพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่การพ่นทางใบทุกกรรมวิธีมีผลทำให้ต้นมะม่วงมีเปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ย มากกว่าการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซล
บทคัดย่อ (EN): The study on effect of mepiquat chloride, chlormequat chloride, and paclobutrazol on flowering of mango cv. ‘Nam Dok Mai Si Thong’ was carried out during July 2012 to March 2013 at Sansai district, Chiang Mai. The experiment was designed based on Randomized Complete Block Design (RCBD) with 5 treatments and 3 blocks (10 trees each); 1) control, 2) soil drench with paclobutrazol 1 g a.i/m2, 3) foliar spray with mepiquat chloride 3,000 mg/l, 4) foliar spray with chlormequat chloride 1,000 mg/l, and 5) foliar spray with mepiquat chloride 3,000 mg/l plus chlormequat chloride 1,000 mg/l. The results showed that all growth retardant substances could induce flowering of mango trees faster than control, which flowered at 87-92 days after treatments. The treatment of soil drench with paclobutrazol 1 g a.i/m2 gave the highest flowering about 96.16% whereas foliar spraying with mepiquat chloride 3,000 mg/l and chlormequat chloride 1,000 mg/l and mepiquat chloride 3,000 mg/l plus chlormequat chloride 1,000 mg/l showed lower flowering than paclobutrazol at 65.46-82.13%. All treated treatments gave similary flower quality, 67.11-77.54% of full flower, 22.46-32.89% of leafy flower. Moreover, paclobutrazol 1 g a.i/m2, mepiquat chloride 3,000 mg/l plus chlormequat chloride 1,000 mg/l and chlormequat chloride 1,000 mg/l had more effect on flower number per panicle than mepiquat chloride 3,000 mg/l. However, all foliar spraying treatments promoted higher percentage of fruit setting than using paclobutrazol.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245828/168050
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน การพัฒนาของรอยผสานของมะม่วง การพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองโดยการห่อผลต่างขนาดด้วยถุงกระดาษคาร์บอน การชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูโดยการเสียบกิ่ง ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตดาหลา (Etlingera elatior L.) เป็นไม้ดอกกระถาง การลดอาการสะท้านหนาวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การศึกษาโรคเปลือกแตกยางไหลของมะม่วง การพัฒนาปทุมมาพันธุ์ ‘แดงดอยตุง’ เป็นไม้ดอกกระถางโดยการราดสารพาโคลบิวทราโซล การใช้ยูนิโคนาโซลเพื่อกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูในมะม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก