สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค
ทรงทรัพย์ อรุณกมล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of using soybean meal hydrolysate with pineapple juice in diet on growth performance, stress tolerance and disease resistance
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทรงทรัพย์ อรุณกมล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Songsub Arungamol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นสับปะรดทดแทนปลาปนในสูตรอาหารปลานิลต่อการ เจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค วางแผนการวิจัยแบบสุมตลอด โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง โดยใช้กากถั่วเหลืองย่อยด้วยน้ำสับปะรดอัตราสวน 1:2 เป็นเวลา 90 นาที และนำมาทดแทนปลาปนใน สูตรอาหารในอัตรา 0, 25, 50และ 75% ที่ระดับโปรตีน 31% และระดับพลังงานเฉลี่ย 284 kcal/ 100g ใช้ปลานิลมีน้ำหนัก เริ่มต้นเฉลี่ย 0.33 กรัม ทดลองเป็นเวลา 45 วัน หลังจากนั้นนำปลามาทดสอบความทนทานต่อสภาพเครียดบางประการ โดยการแช่ฟอร์มาลิน 500 ppm นาน 2 ชั่วโมง แอมโมเนียที่ละลายในน้ำ1.5 ppm และความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย ก่อโรคชนิด A. hydrophila ผลการทดลองพบว่า ปลานิลในชุดการทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารโดยใช้กากถั่วเหลืองย่อย ด้วยน้ำคั้นสับปะรดทดแทนปลาปนในอัตรา 0, 25 และ 50% มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) ส่วนการทดสอบความทนทานต่อสภาพเครียดบางประการโดยการทดสอบกับฟอร์มาลิน และแอมโมเนียพบว่า กลุ่มการทดลองที่ใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยแล้วในสูตรอาหารทดแทนปลาปนในอัตรา 0 และ 25% มีอัตราการตายสะสมที่ ต่ำกว่ากลุ่มที่ทดแทนปลาปนในอัตรา 50 และ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนความต้านทานเชื้อก่อโรค A. hydrophila พบว่ามีอัตราการตายสะสมไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสามารถ ใช้กากถั่วเหลืองย่อยด้วยน้ำสับปะรดทดแทนปลาป่นได้สูงสุดที่ระดับ 25% โดยไม่ส่งกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค
บทคัดย่อ (EN): Effect of using soybean hydrolysate through pineapple juice to replace fish meal in Nile tilapia on Growth performance stress tolerance and disease resistance. Soybean meal was digested with pineapple juice at 1:2 for 90 minutes and replaced with fish meal in diet formula. The experiment was assigned into 4 groups in each randomly by mixing soybean hydrolysate in diet at the rank of 0%, 25%, 50% and 75% which contained 31% protein and average energy level 284 kcal/100g. Tilapia with an average initial weight was 0.33 grams cultured for 45 days. The end of feeding experimental diet, fish were tested for tolerance to certain stress conditions by soaking 500 ppm formalin for 2 hours, 1.5 ppm of ammonia dissolved in water and the resistance to bacteria A. hydrophila. The results showed that fish fed with soybean meal digested with pineapple juice instead of fish meal at rate 0, 25 and 50% the effective growth were not different (P>0.05). In some stress tolerance tests by testing with formalin and ammonia indicated that accumulated mortality rate of experimental group using soybean hydrolysate in fish meal diet formula at the rate of 0 and 25% was lower than the fish meal replacement group at the rate 50 and 75% were significant (P<0.05). The accumulated mortality rate of resistance to bacteria A.hydrophila were not different (P>0.05). It can be concluded that soybean hydrolysate can be digested with pineapple juice would be highly at 25% without affecting growth rate, stress tolerance and disease resistance.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P98 Fis28.pdf&id=3141&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเสริมเปลือกมันสำปะหลังและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารปลานิลต่อประสิทธิภาพการย่อยได้และการเจริญเติบโต ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล ผลของความเข้มข้นของโคลชิซีนต่อการเจริญเติบโต ของต้นกล้าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล ผลของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นต่อการเจริญเติบโต ระบบการย่อยอาหาร และการยับยั้งโรคติดเชื้อในปลานิล (Nile tilapia: Oreochromis niloticus) ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร และการตอบสนอง ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ในปลานิลวัยอ่อน ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง การพัฒนาสูตรอาหารปลานิลโดยใช้กากเหลือจากการหมักสูตรสุกรทดแทนแหล่งโปรตีนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก