สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาหาชนิดจุลินทรีย์ดินอิสระที่สามารถย่อยสลายหินฟอสเฟตในสภาพดินปลูกยาง ในเขตภาคใต้ตอนบนให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อยาง
สุทัศน์ ด่านสกุลผล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาหาชนิดจุลินทรีย์ดินอิสระที่สามารถย่อยสลายหินฟอสเฟตในสภาพดินปลูกยาง ในเขตภาคใต้ตอนบนให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อยาง
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of Free living Microorganism For Phosphate Minerlization in Rubber Plantation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทัศน์ ด่านสกุลผล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคใต้ มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่ละลายยากหรืออยู่ในรูปสารประกอบที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อยาง ประกอบกับธาตุฟอสฟอรัสมีการเคลื่อนที่ในดินน้อยมากรากยางจะต้องชอนไชไปยังแหล่งที่มันละลายจึงจะได้ประโยชน์ ปัจจุบันพบว่าจุลินทรีย์ดินอิสระบางจำพวก เช่น Bacillus sp. , Psuedomonas sp. , Aspergillus sp. , Penicillium sp. เป็นต้น มีความสามารถในการย่อยละลายฟอสฟอรัสดังกล่าว ให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืช จึงได้ร่วมกับกองปฐพีวิทยา ทำการวิจัย นำจุลินทรีย์ ดังกล่าวมาใช้ในพื้นที่ปลูกยางในเขตภาคใต้ตอนบน ซึ่งโดยทั่วไปมีสภาพดินค่อนข้างกรด (pH 4.5-5.5) แต่การทดลองเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น จนถึงขณะนี้ สามารถสรุปได้เพียงว่า หลังจากใส่เชื้อ (Inoculate) ลงดิน เชื้อราทุกสายพันธุ์มีความสามารถอยู่รอดได้ในดินทั้งที่ สล.ย กระบี่ และสล.ย ระนอง จนถึงเวลา 60 วัน แต่เชื้อ RPS 003 F ซึ่งเป็นเชื้อราพวก Penicilliun sp. (ทั้ง 3 สายพันธุ์ RPS 003 F, RPS 032 F, และ RPS 145 F เป็น Penicilliun spp. ทั้งสิ้น) มีแนวโน้มอยู่ได้นานกว่า (ผลการดำเนินงานใน 1 ปี )
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาหาชนิดจุลินทรีย์ดินอิสระที่สามารถย่อยสลายหินฟอสเฟตในสภาพดินปลูกยาง ในเขตภาคใต้ตอนบนให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อยาง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การดูดตรึงฟอสเฟตสูงของดินชุดต่าง ๆ การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภาคใต้ของประเทศไทย การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟตโดยผสมกับส่าเหล้า การปรับตัวของระบบการผลิตยางพาราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตภาคใต้ตอนบน อิทธิพลของการปลูกหวายตะค้าทองและพืชร่วมบางชนิดที่ใช้เป็นค้างต่อการเจริญเติบโต ของยางพาราในเขตภาคใต้ตอนบน ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก