สืบค้นงานวิจัย
การประเมินผลโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 : กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนหันร่มโพธิ์ทอง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
พัชราภรณ์ กันเดช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 : กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนหันร่มโพธิ์ทอง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชราภรณ์ กันเดช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษา ประเมินผลโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอนหันร่มโพธิ์ทอง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น โดยสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มที่เป็นคณะกรรมการ และสมาชิกที่ร่วมโครงการจำนวน 82 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ดำเนินการสำรวจข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2547 ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 45.46 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ 4 มีอาชีพทำนา รายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ยรายละ 22,878.05 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ยรายละ 21,174.39 บาท รายจ่ายทั้งสิ้น เฉลี่ย 32,676.83 บาท สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีระยะเวลาการเป็นสมาชิก เฉลี่ย 4.85 ปี ถือหุ้นคนละ 2 หุ้น การดำเนินการตามโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร พบว่า เกษตรกรมีการอบรมรับความรู้และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปวางแผนการตลาด โดยให้เหตุผลว่าได้รับความรู้เพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่นที่มาสอน และได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร เรื่องวางแผนการผลิต การมีส่วนร่วมของสมาชิก พบว่าสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีส่วนร่วมในประเด็น การจัดทำแผนการผลิตชุมชน การเป็นผู้ผลิต การเป็นผู้จำหน่าย การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และไม่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการผลิตชุมชน การดำเนินการผลิตตามโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซื้อวัตถุดิบจากกลุ่มผลิตสินค้าตลอด และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีการพัฒนากระบวนการผลิตและเกิดเครือข่าย เช่น จัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัย สร้างเครือข่ายการผลิต เพิ่มชนิดลวดลายผ้า มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด การตัดสินใจผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกค้าเดิมสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ยอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้น และมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อที่บ้าน สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรมีแผนปฏิบัติและ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ไปร่วมประชุมทุกครั้งจึงทำให้ทราบสถานการเงินและบัญชีของกลุ่ม ปัญหาอุปสรรคพบว่า ไม่มีที่ทำการกลุ่มเป็นเอกเทศ งบประมาณในการสนับสนุนล่าช้า การเบิกจ่ายแบ่งจ่ายหลายงวด ทำให้การจัดซื้อเส้นไหมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัตถุดิบช้าไม่ต่อเนื่อง และต้นทุนการผลิตสูง แนวทางการแก้ไขปัญหาคือในประสานงานจัดหาที่ทำการกลุ่มและอาคารดำเนินกิจกรรม ในการสนับสนุนงบประมาณควรให้งบประมาณเต็มจำนวนตั้งแต่งวดแรก พัฒนาการทอและลวดลาย สีสัน ให้ทันสมัย เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ ศึกษาความต้องการของตลาด และจัดหาตลาดเพิ่มให้มากขึ้น จดลิขสิทธิ์ลายต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มเพื่อรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบทอดต่อไป ข้อเสนอแนะ ควรประสานงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดงบประมาณก่อสร้างอาคารเป็นที่ทำการกลุ่ม ศึกษาหาความต้องการของตลาดและหาตลาดเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์โดยการนำผ้าไหมมาแปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ เพื่อสินค้าจะได้หลากหลาย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านดอนหันร่มโพธิ์ทอง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2546
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินผลโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 : กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนหันร่มโพธิ์ทอง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ผลสัมฤทธิ์โครงการแปรรูปสินค้าเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตที่ 2 ตามโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านภูคำเบ้า ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ที่มีต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 การประเมินผลโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเรือ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่มีต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 การดำเนินงานโครงการแปรรูป ปี 2546 กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเขียด ตำบลหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ในจังหวัดนครราชสีมา ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก