สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สมพล สุขเจริญพงษ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชื่อเรื่อง (EN): The Potential of Producing and Marketing Ornamental Fish in Asean Economic Community (AEC)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมพล สุขเจริญพงษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาการค้าและการผลิตของอุตสาหกรรมปลาสวยงามในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อศึกษาถึงความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางการแข่งขันหลังการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงามในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยได้ศึกษาโซ่อุปทานปลาสวยงามของไทย ประกอบด้วย 1) ผู้เพาะเลี้ยงหรือฟาร์ม 2) ผู้รวบรวมหรือพ่อค้าคนกลาง 3) ผู้ส่งออกหรือบริษัทส่งออก 4) ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ 5) ตลาดคู่ค้าต่างประเทศ 6) หน่วยงานราชการ โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแสดงถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค การวิเคราะห์กลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix แสดงถึงโอกาสและอุปสรรคจากภายนอกที่สัมพันธ์กับจุดแข็งและจุดอ่อนภายใน การศึกษาปัจจัยที่กำหนดความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยใช้แนวคิดการได้เปรียบการแข่งขันของประเทศ การวิเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของโมเดลเพชร และการวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าถึงกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงามทั้งประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการระดมสมอง การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งจำแนกตามวัตถุประสงค์การศึกษา มีสาระสำคัญดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงามของประเทศไทย คือ มีความหลากหลายของพันธุ์ปลา ภูมิอากาศเอื้อต่อการเพาะเลี้ยง ต้นทุนการผลิตต่ำทั้งด้านปัจจัยการเพาะเลี้ยง ที่ดิน แรงงาน มีการเพาะเลี้ยงปลาจำนวนมาก ฟาร์มปลาได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพื่อการส่งออกที่ต่างประเทศให้การยอมรับ และมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ แต่จุดอ่อนของประเทศไทย คือ พิธีการศุลกากรและการขอใบรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการส่งออกมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและใช้เวลาหลายวัน จึงต้องพึ่งพาการส่งออกโดยผ่านประเทศสิงคโปร์ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษขาดประสิทธิภาพ ผู้เพาะเลี้ยงปลาส่วนมากจะเป็นรายย่อยทำให้ขาดอำนาจในการต่อรอง ขาดการรวมกลุ่มผู้เพาะเลี้ยง งบลงทุนมีจำกัด และกลุ่มผู้ส่งออกมีน้อยรายทำให้สามารถควบคุมตลาดและมีอำนาจต่อรองกับผู้เพาะเลี้ยงสูง จุดแข็งของอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงามของประเทศสิงคโปร์ คือ ภาครัฐให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมปลาสวยงามเป็นวาระแห่งชาติ มีความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการต่ำทั้งด้านพิธีการศุลกากรและการตรวจโรค มีการทำงานแบบให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ฟาร์มและบริษัทส่งออกมีการควบคุมคุณภาพปลาที่ส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการด้านคุณภาพ (ISO 9001) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มีโครงสร้างภาษีการนำเข้าต่ำส่งผลให้ต้นทุนการบริหารจัดการต่ำ มีรูปแบบการติดต่อซื้อขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่นำไปใช้ในการบริหารจัดการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีการก่อตั้งสมาคม Singapore Aquarium Fish Exporter Association (SAFEA) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงาม หน่วยงานภาครัฐทำงานเชิงรุก มีแนวทางปฏิบัติที่รวดเร็ว เช่น หน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore (AVA) ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตส่งออกปลาผ่านระบบออนไลน์ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร แต่จุดอ่อนของประเทศสิงคโปร์ คือ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติทำให้มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงสูง เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรงงาน พื้นที่การเพาะเลี้ยงมีจำกัด ต้องพึ่งพาการนำเข้าปลาจากประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นหลักเพื่อทำการส่งออกใหม่อีกครั้ง จุดแข็งของอุตสาหกรรมส่งออกปลาสวยงามของประเทศมาเลเซีย คือ การใช้เทคโนโลยี ที่ช่วยควบคุมการเพาะเลี้ยงให้มีคุณภาพสูง เช่น การฝังไมโครชิพในตัวปลาเพื่อช่วยบ่งบอกแหล่งกำเนิดของปลา มีระบบสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการต่ำ ภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพสูง มีการจัดแบ่งเขตเพาะเลี้ยงปลาอย่างชัดเจนทำให้ภาครัฐเข้าไปบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ทำให้การติดต่อทางการค้าระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพ แต่จุดอ่อนของประเทศมาเลเซีย คือ ขาดความหลากหลายในการเพาะเลี้ยงปลา เนื่องจากนิยมเพาะเลี้ยงปลาเพื่อการส่งออกบางชนิดเท่านั้น เช่น ปลาอโรวาน่า ปลาปอมปาดัวร์ ปลาหมอสี การจัดแบ่งเขตเพาะเลี้ยงปลามีระยะทางไกลจากสนามบินทำให้อัตราค่าขนส่งปลามาที่สนามบินสูง มีอัตราค่าแรงงานเพาะเลี้ยงปลาสูง การผลิตปลามีระยะเวลาเพาะเลี้ยงนานทำให้มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงสูง และฟาร์มปลาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพื่อการส่งออกที่ต่างประเทศให้การยอมรับมีน้อย
บทคัดย่อ (EN): This research, “Production Potential and Marketing of Ornamental Fish in ASEAN Economic Community,” aimed to: 1) study on trading and producing of ornamental fish industry in ASEAN Economic Community and 2) examine advantages and disadvantages in competition of ornamental fish industry after entering into ASEAN Economic Community. Data were collected from Thailand’s ornamental fish supply chain which consisted of: 1) ornamental fish breeders or ornamental fish farms, 2) compliers or middle men, 3) exporters or exporting companies, 4) logistic service providers, 5) international competitors, and 6) government agencies. Qualitative analysis was done in order to show strengths, weaknesses, and threats. TOWS Matrix was conducted to indicate external opportunities and threats which were related to internal strengths and weaknesses. In addition, Diamond Model was used to investigate determinants of national competitive advantages. Then, Value Chain Analysis on activities of the organizations was done in order to bring the competitive advantages to the ornamental fish industry of Thailand, Singapore, and Malaysia. The data were collected by using brainstorming, in-depth interviews. The results showed that the strengths of Thailand’s ornamental fish industry were: a variety of fish species, contribution of weather to ornamental fish breeding, low production costs in breeding factors; lands and labors. In addition, there were a lot of ornamental fish breeding farms which were certified, supported by the government, and accepted from other countries. However, for weaknesses, export customs and export certificates done by the government were complicated and time consuming. This made the export of Thailand always rely on Singapore’s. Moreover, the breeders still lacked of English communication skills. Most of the breeders were retailers that had no power to bargain, and there was no aggregation among them. The investment was also limited. Furthermore, since there were not much of exporters, they could control and had more power to bargain with the breeders. The strengths of ornamental fish industry of Singapore were the ornamental fish industry was set by the government as a national agenda, and there were modern public utility system and logistic system that could lower the costs of export customs and diagnosis. In addition, one stop service was operated. The farms and exporting companies also had effective export quality controls, for example, ISO 9001Ouality Management and ISO 14001 Environmental Management. The low import tax structure could reduce the costs of its management. Moreover, there was a convenient and effective E-commerce. Database system was set in both government and private agencies. Singapore Aquarium Fish Exporter Association (SAFEA) was established to provide knowledge about ornamental fish export industry. The government agencies were proactive and had effective operations. For example, Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore (AVA) used online system to declare export permits and communicated in English during working. Nevertheless, Singapore’s ornamental fish industry also had weaknesses. The lack of natural resources increased the costs of breeding especially the costs of lands and labors. In addition, the breeding areas were limited, so the ornamental fish were firstly imported from other countries in ASEAN Economic Community and then they were exported again by Singapore. In Malaysia, the strengths of ornamental fish industry were using technology to control effective breeding, for example, embedding microchip underneath the skin of fish in order to identify their birthplaces. The modern public utility system and logistic system could help to decrease the costs of investment. Moreover, the weather also allowed the effective ornamental fish breeding. The breeding areas were divided clearly that helped the government manage the farms efficiently. In addition, since English was mainly used to communicate, the trade done with other countries became successful. However, the weaknesses were found because of the lack of variety in breeding. That was a few species of ornamental fish, such as Arowana, Pompadour, and Cichlid, were bred for exporting. Furthermore, the breeding areas were far from the airport, so the costs of transportation were high. Since the breeding took a long time, the costs of breeding were also increased. In addition, not many ornamental fish export farms in Malaysia were certified and accepted by other countries.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292287
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ผลิตลำไยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยแนวคิดสีเขียว การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโฮมสเตย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการตลาดอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร การศึกษาฟังก์ชั่นการผลิต ศักยภาพ ประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดพริกในจังหวัดสกลนคร การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ชุดโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเศรษฐกิจในกระชัง จังหวัดนครพนม เพื่อผลิตอาหารปลาเศรษฐกิจจากใส้เดือนดิน แบบครบวงจร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เตรียมความพร้อมภาคการประมงไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก