สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงปลอดสารเคมีในกลุ่มชุดดินที่ 29
นิรมล เกษณา - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงปลอดสารเคมีในกลุ่มชุดดินที่ 29
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate soil management for free-chemical ginger production on soil group no.29
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิรมล เกษณา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิรมล เกษณา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549-2550 ในพื้นที่หมู่บ้านส่งคุ้ม ตำบลเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการทดลองครั้งนี้ดำเนินการวิจัยปลูกขิง โดยมีวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 5 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์) ตำรับที่ 2 แบบเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยเคมี) ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมัก (พด.1) + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลวัว + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) จากผลการทดลอง พบว่าในปีผลผลิตในปีแรกและปีที่สองไม่แตกต่างกันมากนัก โดยทั้งสองปีมีแนวโน้มคล้ายกันคือ ผลผลิตที่ได้สูงสุดคือตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2)ได้ผลผลิตในปีแรก 2,628 กก./ไร่ และในปีที่สองให้ผลผลิต 2,547 กก./ไร่ ส่วนในตำรับที่ 1 แปลงควบคุมให้ผลผลิตต่ำสุดทั้งสองปีคือ ในปีแรก 1,778 กก./ไร่ และในปีที่สองให้ผลผลิต 1,741 กก./ไร่ และเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับที่ 2 แบบเกษตรกร (ใช้ปุ๋ยเคมี) ในปีแรกให้ผลผลิต 2,058 กก./ไร่ ปีที่สองให้ผลผลิต 2,213 กก./ไร่ พบว่าแตกต่างกับตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลไก่+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ(พด.2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-04-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงปลอดสารเคมีในกลุ่มชุดดินที่ 29
นิรมล เกษณา
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
ผลของสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินชุดบ้านจ้อง ( กลุ่มชุดดินที่ 29 ) ต่อการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงในพื้นที่ อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย ศึกษาผลการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงอย่างยั่งยืน (กลุ่มชุดดินที่ 29) จ.พะเยา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29 ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29 การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกร ในดินทราย การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยแต่ละพันธุ์ตามกลุ่มชุดดิน การสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพาราในกลุ่มชุดดินที่34 ชุดดินท่าแซะ การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพดหวาน ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก