สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดเมล็ดสมุนไพรที่กำลังงอก
ศิริพร โอโกโนกิ, รัตติรส คนการณ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดเมล็ดสมุนไพรที่กำลังงอก
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Bioactives Containing Nano-Products from Germinating Seed Extracts of Herbs
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนของสารสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดจากเมล็ดพืชไทย โครงการได้เริ่มต้นจากการรวบรวมเมล็ดของพืชไทยที่นิยมปลูกในประเทศจำนวน 12 ชนิด นำเมล็ดเหล่านั้นมาเตรียมสารสกัดหยาบโดยการหมักโดยใช้เอธานอลเป็นตัวทำละลายในการสกัด แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย พบว่าสารสกัดหยาบของมะละกอแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแกรมบวก Staphylococcus aureus และเชื้อแกรมลบ Escherichia coli ได้สูงที่สุดแต่สารสกัดแยกส่วนของเมล็ดนี้กลับไม่แสดงฤทธิ์นี้เลย ในขณะที่สารสกัดหยาบของเมล็ดงาขี้ม้อนแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงสุด ได้ทำการเตรียมสารสกัดแยกส่วนของเมล็ดงาขี้ม้อนที่งอกและไม่งอกโดยใช้เฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเอธานอลเป็นตัวทำละลายในการสกัดตามลำดับ พบว่าสารสกัดแยกส่วนของชั้นเอธานอลและชั้นเอทิลอะซิเตตซึ่งเรียกชื่อว่า F-EtOH และ F-EtOAc ตามลำดับแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงที่สุด ได้นำสารสกัดแยกส่วนทั้งสองชนิดมาทำ HPLC fingerprint โดยใช้สภาวะที่เหมาะสม พบว่าเวลาที่สารสำคัญปรากฏออกมาคือประมาณที่ 14.6-14.7 นาที สารสกัด F-EtOH มีข้อดีกว่า F-EtOAC คือมีปริมาณสารที่สกัดได้สูงกว่าและมีปริมาณสารสำคัญมากกว่า ดังนั้น F-EtOH จึงถูกเลือกไปพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์นาโน การศึกษาก่อนการตั้งตำรับแสดงให้เห็นว่า F-EtOH ไม่ละลายในน้ำหรือตัวทำละลายใดๆในทางเภสัชกรรมเลย แต่มันแสดงความเข้ากันได้อย่างดีกับไขมันบางอย่างเช่น ไขพาราฟินขาว ไขส้ม และน้ำมันอัลมอนด์ ดังนั้นจึงได้พัฒนานาโนอิมัลชันสำหรับสารสกัดชนิดนี้ พบว่าสารลดแรงตีงผิวและสารไขมันต่างๆรวมทั้งค่า HLB มีผลต่อความคงสภาพของระบบที่พัฒนาได้ พบว่านาโนอิมัลชันของ F-EtOH ที่ดีที่สุดได้จากระบบที่มีไขส้มและมีค่า HLB เท่ากับ 12 โดยมีขนาดของวัตภาคภายในที่วัดได้จากโฟตอนคอรีเลชันสเปคโตรสโคปี เท่ากับ 373.23?1.84 นาโนเมตร การศึกษาด้านความคงตัวพบว่านาโนอิมัลชันของ F-EtOH ที่พัฒนาได้ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิคงที่เพื่อจะได้มีความคงตัวยาวนานขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to develop a nano-product of the most active extract from the seeds of Thai plants. The project started from the collection of seeds of 12 plant species that commonly grown in Thailand. The crude extracts of the seeds were prepared by maceration using ethanol as an extracting solvent. The crude extracts were subjected to antibacterial test. It was found that the crude extract of papaya seeds showed the highest antibacterial activity against Gram positive Staphylococcus aureus and Gram negative Escherichia coli. However, the fractionated extracts of this seeds did not present the activity. In the meantime, the crude extract of perilla (Perilla frutescens Linn.) seeds exhibited the highest antioxidant activity. The fractionated extracts of perilla germinating seeds and non-germinating seeds were prepared using hexane, ethyl acetate, and ethanol, respectively as extracting solvents. The ethanol and ethyl acetate fractionated extracts, namely F-EtOH and F-EtOAc, respectively showed the highest antioxidant activity. HPLC fingerprints of both fractionated extracts were constructed using suitable condition. It was found that the retention time of the active compound of the extract was approximately 14.6 – 14.7 min. F-EtOH showed more advantage than F-EtOAc on higher yield and higher amount of the active compound. F-EtOH therefore was selected for further development of the nano-product. Preformulation study indicated that F-EtOH could not dissolve in water or any pharmaceutical solvents. However, it showed complete miscible with some lipids like white soft paraffin, orange wax, and almond oil. Therefore, the nanoemulsion was developed for this fractionated extract. It was found that surfactant and lipids as well as the HLB value showed high effect to the stability of the developed systems. It was found that the best nanoemulsion of F-EtOH was obtained from the system using orange wax with the HLB value of 12. The size of the internal phase of this system measured by photon correlation spectroscopy was 373.23?1.84 nm. The stability test indicated that the developed F-EtOH nanoemulsion should be kept in the constant temperature condition for longer stability.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดเมล็ดสมุนไพรที่กำลังงอก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การวิจัยคุณลักษณะจาเพาะต่อการแปรรูปของข้าว 84 พันธุ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ- การใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาวิถีการผลิตโปรตีนหลักในเมล็ดข้าวและการเตรียมเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดและรำข้าว การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ศักยภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากฟางข้าวเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชชีวภาพ ผลของสารสกัดหยาบขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของปลาคาร์ป การสกัดสารออกฤทธิ์ การแยกกลุ่มสารออกฤทธิ์ การพัฒนารูปผลิตภัณฑ์และกลไกการยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืชของสารจากเลี่ยน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก