สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536
วัทนา บัวทรัพย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัทนา บัวทรัพย์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532.2536 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้วางแผนการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตทุเรียนของประเทศไทย ทำการศึกษาโดยวิธีรวบรวมข้อมูลทุติภูมิจากสถิติและเอกสารที่เกี่ยวข้องระยะเวลาที่ศึกษาในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2538 ผลการศึกษาด้านการผลิตพบว่า ในปี 2536 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 700,376 ไร่ ผลผลิต 746,642 ตัน พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากซึ่งจะทำให้ผลผลิตในอนาคตเพิ่มมากขึ้นด้วย ประมาณการว่าผลผลิตทุเรียนในปี 2541 จะสูงถึง 1,180,000 ตัน พันธุ์ทุเรียนที่เกษตรกรปลูกคือ พันธุ์หมอนทอง ร้อยละ 43.8 พันธุ์ชะนี ร้อยละ 38.2 และพันธุ์อื่น ๆ ร้อยละ 18.0 ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตทุเรียน พบว่าเกษตรกรในภาคตะวันออกมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องมากกว่าเกษตรกรในภาคใต้ เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งดอกและผลอ่อน การป้องกันการกำจัดโรคและแมลง เป็นต้น ปัญหาด้านการผลิตทุเรียน พบว่ามีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูงเพราะปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำเนื่องจากมีเกษตรกรบางส่วนใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมและการระบาดทำลายของศัตรูพืช ปัญหาคุณภาพของผลผลิตต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญาการตัดทุเรียนอ่อน ส่วนการศึกษาด้านการตลาดพบว่า ผลผลิตทุเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.54 ใช้บริการภายในประเทศ ในปี 2536 มูลค่าการส่งออกทุเรียนสด แช่แข็งและแปรรูปโดยใช้น้ำตาล เท่ากับ 554.8 ล้านบาท แม้การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่สอดคล้องกับปริมาณการผลิต ราคาทุเรียนที่เกษตรขายได้มีความแตกต่างกันขึ้นกับ พันธุ์ คุณภาพ และช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด โดยราคาจะลดต่ำลงในช่วงกลางฤดูการผลิต ปัญหาด้านการตลาดพบว่า ราคาผลผลิตที่เกษตรขายได้มีแนวโน้มต่ำลง มีปัญหาเกี่ยวกับการกระจายของผลผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด กล่าวคือ ฤดูกาลของผลผลิตสั้น และการกระจายผลผลิตจากแหล่งผลิตที่สำคัญยังไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น รัฐจึงควรให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือให้มีการพัฒนาการผลิตและการตลาดทุเรียนอย่างครบวงจรเพื่อช่วยให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนมีรายได้ที่ดีขึ้นและมั่นคง รวมทั้งเพื่อให้สามารถขยายการส่งออกได้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีแก่ประเทศโดยส่วนรวม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2538
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537 การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม การศึกษาสถานการณ์การผลิตยางแผ่นของประเทศไทย ปี 2530 สถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวต่างประเทศ การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านสำหรับการผลิตทุเรียนในภาคตะวันออกของประเทศไทย สภาพการผลิตและการตลาดทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก