สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร
ปียรัตน์ ประมุขชัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปียรัตน์ ประมุขชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาข้อมูล ปัญหา อุปสรรค ในการทำงานของโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาศักยภาพการทำงานของโรงพิมพ์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อได้เปรียบด้านงานพิมพ์ในเรื่องต้นทุนต่ำ และมีความเข้าใจงานส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างดี แต่มีจุดอ่อนในการทำงานพิมพ์อยู่ที่อุปกรณ์การพิมพ์ใช้งานมานาน และเจ้าหน้าที่มีจำนวนไม่เพียงพอ โดยอุปกรณ์ของโรงพิมพ์ มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 15 – 30 ปี ได้รับการซ่อมบำรุงบ้างเป็นบางครั้ง โดยอุปกรณ์การพิมพ์ที่ยังไม่มีแต่ควรจะมีเพิ่มเติมได้แก่ เครื่องพิมพ์ เครื่องเก็บเล่ม เครื่องแยกสีทำ plate และเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ในส่วนของการวางแผนและการจัดการงานพิมพ์นั้น โรงพิมพ์มีการจัดทำแผนการผลิต แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ โดยเจ้าหน้าที่โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่ยึดหลักเกณฑ์การผลิตตามลำดับคิว และมีการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจวางแผนการผลิตงานพิมพ์ด้วย สำหรับปัญหาที่เจ้าหน้าที่โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตรเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญของโรงพิมพ์ คือ บุคลากรไม่เพียงพอ อุปกรณ์ไม่ทันสมัย ขาดงบประมาณ และปัญหาด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ ผู้ใช้บริการจากหน่วยงานต่างๆ ภายในกรมส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 88.7 ใช้บริการงานพิมพ์ของโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตรนานๆ ครั้ง ส่วนร้อยละ 11.3 ใช้บริการเป็นประจำ คะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยหัวข้อที่ได้คะแนนสูงสุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความสุภาพ ได้คะแนน 3.68 หัวข้อที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ เจ้าหน้าที่มีจำนวนเพียงพอกับผู้ใช้บริการ และคะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับคุณภาพงานพิมพ์ อยู่ในช่วงระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยหัวข้อที่ได้คะแนนสูงสุด คือ งานพิมพ์ที่ได้รับถูกต้อง ได้คะแนน 3.51 คะแนน ส่วนหัวข้อการออกแบบงานพิมพ์มีรูปแบบที่หลากหลาย สวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับชิ้นงาน หัวข้อการใช้สีเหมาะสม ทำให้ชิ้นงานน่าสนใจ และหัวข้อได้รับงานพิมพ์ตรงตามกำหนดเวลา ได้คะแนนเท่ากัน ปัญหาที่ผู้ใช้บริการพบเมื่อมารับบริการที่โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตรมี 4 ประการด้วยกัน คือ ปัญหางานพิมพ์ล่าช้า ปัญหาด้านการประสานงาน ปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกในการรับบริการ และปัญหาด้านงบประมาณ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2550
การศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา การสื่อสารภายในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการถ่ายโอนภารกิจกรมส่งเสริมการเกษตรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย ความพึงพอใจในการให้บริการเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ความรู้และความต้องการความรุ้ทางเทคนิคบางประการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อพัฒนาชนบทในภาคกลาง ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2536 การศึกษาสถานภาพเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การเลือก และการใช้โสตทัศนวัสดุ ในงานส่งเสริมการเกษตร ของนักวิชาการเกษตรและเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ซึ่งสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ในเขตจังหวัดภาคกลาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก