สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ สำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
วิระ ศรีธัญรัตน์, สาคร แสงสุวอ, สาระ สวัสดิ์โยธิน, ลภวัน ทองนำ, สมชญา ศรีธรรม, จุณจะรา ทุยไธสง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ สำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Organic Fertilizers to Increase an Organic Thai Jasmine Rice (Khao Dawk Mali 105) Yield for Technology Transfer
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพร้า) ปุ๋ย ชีวภาพ (พีจีพีอาร์1) และเถ้าแกลบในการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สำหรับถ่ายทอด เทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยทา การทดลองที่ตำบลนอกเมืองและตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ.2555 – 56) วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซ้า ผลการวิจัยยังพบว่า แต่ละกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) การใช้ปุ๋ยคอกมีแนวโน้ม ให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนการใช้ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพร้า) ปุ๋ยชีวภาพ และเถ้าแกลบ ไม่ ทา ให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ใช้ แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุน และผลตอบแทน ควรเลือกใช้กรรมวิธีที่ใส่ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด ซึ่งให้กำไรส่วนเกินรวมสูงสุด จากการวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ในดิน พบว่า ทุกกรรมวิธีที่ใช้ปุ๋ยทำให้ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p? 0.05) กับการไม่ใช้ ในขณะที่ปริมาณเชื้อราทั้งหมดในดินมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ค่า ดัชนีความหลากหลายของแบคทีเรียในดินจากการปลูกข้าวอินทรีย์ในทั้ง 4 กรรมวิธีในตำบลนอก เมือง (ดินเหนียว) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ตำบลตระแสง (ดินทราย) มีค่าดัชนีความหลากหลายของแบคทีเรียแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p? 0.05) นั่นคือ การใช้ปุ๋ยที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อจุลินทรีย์ในดิน ดัชนีชี้วัดความหลากหลายของจุลินทรีย์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p? 0.01) กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ของดิน และร้อยละของอนุภาคดินเหนียว คำสำคัญ : ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เถ้าแกลบ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์
บทคัดย่อ (EN): This research aimed to study the effect of the applications of cow manure, green manure (Jack bean), bio-fertilizers (PGPR 1), and husk ash on an increase of the organic rice yields in order to transfer the technology to the farmers by conducting the experiments at Tambon Nok Muang and Trasaeng, Muang district, Surin province for 2 years (2012 – 2013) using RCBD with 4 replicates. The results showed that there was no significant difference in organic rice yields among organic fertilizer application (p>0.05). The application of cow manure tended to increase the yields while the green manure (Jack bean), bio – fertilizer and rice husk ash did not show different increase of yields. When the cost and benefit were considered, the cow manure and green manure (Jack bean) should be used as they had the maximum total contribution margin. The microorganism analysis showed that the total numbers of bacteria in soils were statistically significantly different among the treatments (p? 0.05) while the total numbers of fungi were not (p>0.05). The bacterial diversity index in soils (clay) at Tambon Nok Muang had no significant difference (p>0.05), while at Tambon Trasaeng did (p? 0.05). It was concluded that the uses of different fertilizers had an effect on the soil microorganism communities. The microbial diversity induces were significantly correlated to organic matter, pH, and percentages of clay (p? 0.01). Keywords : Cow manure, green manure, bio-fertilizer, husk ash and organic jasmine rice
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ สำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2556
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การใช้น้ำส้มควันไม้ในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในสภาพนาหว่าน การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ใน ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน การพัฒนาแบบจำลองโซ่อุปทานของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในประเทศไทย การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โครงการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง โดยใช้ปุ๋ยพืชสด(ถั่วพร้า) ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพในดินร่วนหยาบ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก