สืบค้นงานวิจัย
การเคลื่อนไหวของราคายางและสถานการณ์ตลาดยาง
สุภาพร บัวแก้ว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การเคลื่อนไหวของราคายางและสถานการณ์ตลาดยาง
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Rubber Price Movements and Market Situation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร บัวแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความเคลื่อนไหวของราคายางและสถานการณ์ตลาดปี 2537 ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2537 สรุปผลการศึกษา ปริมาณการส่งออกยางของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 15.34 และคาดว่าปริมาณการส่งออกยางของไทยในปี 2537 จะมีปริมาณ 1.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 14.62 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยในช่วงระหว่างปี 2527-2536 ราคา FOB กรุงเทพฯของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง TTR 20 และน้ำยางข้น เฉลี่ยปี 2537 กิโลกรัมละ 27.45 บาท 26.86 บาท และ 21.17 บาท ตามลำดับ ราคายางทั้ง 3 ประเภทสูงขึ้นในเดือนธันวาคมที่ราคากิโลกรัมละ 34.42 บาท 35.12 บาท และ 25.22 บาท ตามลำดับ และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่กิโลกรัมละ 19.65 บาท 19.97 บาท และ 16.73 บาท ตามลำดับ ราคายางเฉลี่ยปี 2537 ของราคายางทั้ง 3 ประเภท เพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 37.60 , 34.44 และ 16.90 ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 1 2 และ 3 ตลาดหาดใหญ่ เฉลี่ยปี 2537 กิโลกรัมละ 23.48 บาท 23.27 บาท และ 23.04 บาท ตามลำดับ ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 38.12 , 41.21 และ 42.40 ตามลำดับ องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (INRO) ได้เข้าแทรกแซงตลาดยางในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2537 INRO ได้ขายยางในมูลภัณฑ์กันชน จำนวน 220,000 ตัน ออกไปจนหมด แต่การแทรกแซงตลาดยางของ INRO ไม่มีผลกระทบต่อราคาตลาดแต่อย่างใด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเคลื่อนไหวของราคายางและสถานการณ์ตลาดยาง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การพัฒนาระบบการวิเคราะห์สถานการณ์ราคายางพารา โดยใช้ แบบจำลองสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าราคายาง กรณีศึกษาสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ศึกษาสถานการณ์ตลาดและราคายาง พยากรณ์ราคายางพารา แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงของตลาดและมาตรการสนับสนุนการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของไทย: เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน (Phase I เน้นการศึกษายางพาราเขตภาคเหนือ) ความสัมพันธ์ของราคายางในตลาดล่วงหน้าญี่ปุ่นและสิงคโปร์ต่อราคายางของไทย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคายางพารา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดยาง กลไกตลาดยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก