สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน IGF-II กับลักษณะการเจริญเติบโตในสุกรพันธุ์กระโดน
เกศรา อำพาภรณ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน IGF-II กับลักษณะการเจริญเติบโตในสุกรพันธุ์กระโดน
ชื่อเรื่อง (EN): Association of IGF-II gene with growth trait in Kradon pig breed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกศรา อำพาภรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kessara Ampaporn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษารูปแบบจีโนไทป์และความสัมพันธ์ของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คือ น้ำหนักแรกเกิด(BW) และน้ำหนักหย่านม (WW) ของลูกสุกรพื้นเมืองพันธุ์กระโดนจำนวน 50 ตัว ของสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่เลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบเปิด ด้วยน้ำาสะอาดและอาหารที่มีระดับโปรตีน 18% เก็บบันทึกข้อมูลลักษณะปรากฏของสุกร เจาะเลือดและสกัดดีเอ็นเอจากเลือดมาตรวจสอบจีโนไทป์ของยีน IGF-II ด้วยเทคนิค PCR-RFLP ที่ตัดด้วยเอนไซม์ BcnI และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของยีน IGF-II กับลักษณะน้ำหนักหย่านมของสุกร จากการศึกษาพบจีโนไทป์ 3 รูปแบบ คือ จีโนไทป์ AA, AB, และ BB มีความถี่จีโนไทป์เท่ากับ 0.58, 0.32, และ 0.10, ตามลำดับ รูปแบบจีโนไทป์ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะน้ำหนักแรกเกิด (p>0.05) แต่รูปแบบจีโนไทป์มีความสัมพันธ์ต่อลักษณะน้ำหนักหย่านม (p<0.05) โดยสุกรที่มีจีโนไทป์ BB (6.52 กก.) และจีโนไทป์ AB (5.76 กก.) มีน้ำหนักหย่านมสูงกว่าสุกรที่มีจีโนไทป์ AA (4.92 กก.)
บทคัดย่อ (EN): The study of IGF-II genotype and the association of IGF-II gene on growth trait such as birth weight (BW) weaning weight (WW) in Kradon pig breed. 50 pigs from Department of Animal Science, Faculty of Natural Resources, Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus were used as the sample. All pigs were raised under an open-house system, water and 18%CP feed were used, their bloods and phenotypes were collected. The Polymerase Chain Reaction Restriction Fragment Length Polymorphisms (PCR-RFLP) technique with BcnI enzyme was used for detection of genotype. The results showed that Kradon pig breed with 3 genotypes of IGF-II gene, the genotype frequency of AA, AB, and BB were 0.58, 0.32, and 0.10, respectively. The IGF-II genotypes were not related with BW, but found that the associated with weaning weight trait (p<0.05), the BB (6.52) and AB (5.76) genotypes had higher weaning weight than AA (4.92) genotype.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252162/172505
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน IGF-II กับลักษณะการเจริญเติบโตในสุกรพันธุ์กระโดน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน ความสัมพันธ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน Insulin-like growth factor II (IGF-II) ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายในประชากรสุกรเชิงการค้าแห่งหนึ่ง การศึกษาเปรียบเทียบระดับการแสดงออกของยีน IGF-1 และลักษณะการเจริญเติบโตไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชีและไก่เนื้อสายพันธุ์ทางการค้า การศึกษาเครื่องหมายพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะการเจริญเติบโต ในโคตาก ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาผลของสถานที่เลี้ยงต่อการเจริญเติบโต, การพัฒนาของอวัยวะ และคุณภาพซาก สุกรพันธุ์กระโดน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานของไม้น้ำมวกเหล็ก 3 แหล่ง ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการเจริญเติบโตของลูกสุกรก่อนหย่านม การคัดเลือกสุกรพื้นเมือง(หมูกระโดน) ให้เจริญเติบโตดีด้วยยีน IGF-II

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก