สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
นัฏพล ต่างใจ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นัฏพล ต่างใจ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดลำปางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมสภาพการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกร การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมและเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะของเกษตรกร ได้ทำการศึกษาจากเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดลำปางปี 2542/2543 โดยทำการสุ่มเกษตรกรจำนวน 129 คน จากเกษตรกรทั้งสิ้น 515 คนได้รวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์เกษตรกร นำมาแปรผลและใช้สถิติในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับการยอมรับเทคโนโลยี ใช้ค่า ไคสแคว์ สมมติฐานการศึกษาคือเกษตรกรที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 87.6 อายุระหว่าง 41-50 ปี เฉลี่ย 45.7 ปีร้อยละ 51.2 การศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 4 ร้อยละ 85.3 สมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 4-6 คน เฉลี่ย 4.08 คน ร้อยละ 62.8 มีประสบการณ์ปลูกมะเขือเทศ 1-3 ปี เฉลี่ย 2.6 ปี ร้อยละ 83.7 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 1-3 ไร่ เฉลี่ย 2.7 ไร่ ร้อยละ 83.7 เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเป็นสมาชิกกลุ่ม ร้อยละ 90.7 เป็นสมาชิกกลุ่ม ธกส. ร้อยละ 76.1 ได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก ร้อยละ 95.7 การรับฟังข่าวสารการเกษตรได้รับจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 51.9 จากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 84.5 จากญาติ ร้อยละ 68.5 และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลร้อยละ 61.2 รายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในรอบปีที่ผ่านมา มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาท โดยเฉลี่ย 6,850 บาทร้อยละ 38.8 ใช้ต้นทุนผลิตมะเขือเทศระหว่าง 2,001-4,000 บาทต่อไร่ เฉลี่ย 3,850 บาทต่อไร่ ร้อยละ 66.6 การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศของเกษตรกรพบว่า การใช้พันธุ์มะเขือเทศโดยใช้พันธุ์เบต้า ร้อยละ 55.8 โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทนำเข้า ร้อยละ 99.2 มีการเพาะกล้าในแปลงเพาะ ร้อยละ 97.7 และปลูกมะเขือเทศภายในเดือน ธันวาคม ร้อยละ 68.2 การเตรียมดินโดยการไถตากดิน 5-7 วัน ร้อยละ 91.5 ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อนปลูก ร้อยละ 90.7 ใส่จำนวน 3-4 ตันต่อไร่ ร้อยละ 65.0 ใส่ปูนขาวรองพื้นร้อยละ 89.1 ใส่จำนวน 251-350 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 73.0 การปลูกมะเขือเทศโดยใช้ระยะแถว 70 เซนติเมตร ระยะต้น 50 เซนติเมตร ร้อยละ 56.6 จำนวนต้นที่ใช้ปลูกต่อไร่ 3,001-4,000 ต้น ร้อยละ 45.0 การให้น้ำมะเขือเทศโดยการสังเกตจากสภาพความชื้นในดิน ร้อยละ 81.4 ทุกรายมีการให้น้ำโดยปล่อยตามร่องน้ำรอบแปลงปลูกมะเขือเทศ ทุกรายมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศ และใส่จำนวน 2 ครั้ง ร้อยละ 54.3 ใส่จำนวน 3 ครั้ง ร้อยละ 45.7 การเก็บเกี่ยวโดยการสังเกตผลมะเขือเทศที่สุกมีสีแดงทั้งผล ร้อยละ 98.4 ทุกรายเก็บเกี่ยวโดยใช้มือปลิดผล และคัดผลมะเขือเทศใส่ภาชนะรอการขนส่งผลผลิตเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 82.2 การใช้เงินทุนในการผลิตมะเขือเทศต่อไร่ อยู่ระหว่าง 2,001-4,000 บาทเฉลี่ยไร่ละ 3,850 บาท ร้อยละ 66.6 และผลผลิตที่ได้รับต่อไร่อยู่ระหว่าง 4,001-6,000 กิโลกรัม เฉลี่ยไร่ละ 6,192.16 กิโลกรัม ร้อยละ 38.7 การยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆอาทิเช่น ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน ประสบการณ์ในการปลูกมะเขือเทศต้นทุนการผลิตต่อไร่และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ กับการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดลำปาง พบว่า อายุ ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน ประสบการณ์ในการปลูกมะเขือเทศไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีสำหรับต้นทุนการผลิตต่อไร่และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ พบว่า มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญระดับที่ .05 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรดังนี้ 1. ด้านเมล็ดพันธุ์พบว่า มีคุณภาพความงอกต่ำร้อยละ 46.5 รองลงมาคือเมล็ดพันธุ์มีโรคและแมลงติดมากับเมล็ด ร้อยละ 33.3 และเมล็ดพันธุ์มีสิ่งอื่นเจือปน ร้อยละ 20.2 2. ด้านการเพาะกล้าพบว่าต้นกล้าถูกโรคและแมลงทำลายหลังจากงอกเป็นต้นกล้าแล้วร้อยละ 72.9 และต้นกล้าไม่สมบูรณ์ร้อยละ 24.8 3. ด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่ามะเขือเทศถูกทำลายด้วยโรคและแมลงมากร้อยละ 95.3 และการขนส่งผลผลิตส่งโรงงานล่าช้าร้อยละ 3.9 และผลมะเขือเทศอ่อนหรือสุกมากเกินไปร้อยละ 0.8 4. ปัญหาด้านการขนส่งพบว่าระยะทางขนส่งไกลร้อนละ 72.1 และการบรรจุไม่มีคุณภาพร้อยละ 19.4 ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ควรจัดให้มีการอบรมทัศนศึกษาดูงานให้คำแนะนำผ่านสื่อสารมวลชน จัดส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมควรให้คำแนะนำเรื่องการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปฏิบัติดูแลรักษาก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศของเกษตรกรโดยหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนร่วมศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมมะเขือเทศต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับ ไม่ยอมรับเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรกรในเขตโครงการปฏิบัติการพัฒนาสังคม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมันฝรั่ง การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร ของแม่บ้านเกษตรกรในภาคเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักกาดเขียวปลีของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผักที่ปลูกในเชิงการค้าของเกษตรกร ในจังหวัดลำปาง สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก