สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processingof Natural Products from Hemp Subproject 1: Improvement of Hemp Varietiesand Seed Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ (Hemp) มีเป้าหมายเพื่อให้ได้พันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสารเสพติดต่ำ ผลผลิตสูง และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้ดี ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ จึงดำเนินงาน 3 กิจกรรม คือ (1) คัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำให้มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงขึ้น รุ่นที่ 1 (M 1) พบว่า เฮมพ์ทั้ง 4 พันธุ์ คือ RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.2, 13.8, 12.9 และ 14.7 เป็นร้อยละ 16.2, 16.8, 17.1 และ 16.4 ตามลำดับ โดยที่ทุกพันธุ์ยังคงมีปริมาณ THC ต่ำกว่าร้อยละ 0.3 (2) ทดสอบผสมพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ 4 พันธุ์ คือ RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 กับพันธุ์ต่างประเทศ (ฝรั่งเศส) 7 พันธุ์ คือ USO31, F?rimon, F?dora17, F?lina32, Epsilon68, Futura75 และ Santhica27 ซึ่งสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม F1 จำนวน 21 คู่ผสม และ (3) การผลิตเมล็ดพันธุ์ของเฮมพ์พันธุ์ THC ต่ำ จำนวน 4 พันธุ์ คือ RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์คัด (Breeder seeds) จำนวน 2 กิโลกรัมต่อพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก (Foundation seeds) จำนวน 50 กิโลกรัมต่อพันธุ์ และ เมล็ดพันธุ์ขยาย (Extension seeds) รวม 4 พันธุ์ จำนวน 1,500 กิโลกรัม และได้นำเมล็ดพันธุ์คัดที่ผลิตได้ไปปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์หลักใน 4 พื้นที่ คือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ศูนย์ฯ วัดจันทร์ และศูนย์ฯ ปางอุ๋ง รวมพื้นที่ 6 ไร่ นำเมล็ดพันธุ์หลักที่ผลิตได้ไปปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายใน 4 พื้นที่ คือ ศูนย์ฯ ห้วยน้ำริน ศูนย์ฯ ห้วยส้มป่อย ศูนย์ฯ แม่สาใหม่ และ ศูนย์ฯ ม่อนเงาะ รวมพื้นที่ปลูก 28 ไร่ และนำเมล็ดพันธุ์ขยายที่ผลิตได้ส่งเสริมแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม 7 กลุ่ม พื้นที่ 46 ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงการย่อย 2: โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่1 การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 6 : การศึกษาวิจัยการรักษาเชื้อพันธุ์และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก