สืบค้นงานวิจัย
ระบบคัดแยกคุณภาพแผ่นยางพาราโดยการประมวลผลภาพ
ปรัชญา บำรุงกุล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ระบบคัดแยกคุณภาพแผ่นยางพาราโดยการประมวลผลภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Rubber Sheet Quality Grading System by Image Processing
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรัชญา บำรุงกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการคัดแยกคุณภาพของแผ่นยางพาราต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีอยู่น้อย การศึกษาปัญหาวิจัยนี้ นำเสนอระบบการคัดแยกคุณภาพแผ่นยางโดยใช้การประมวลผลภาพ ในระบบที่นำเสนอนี้ แผ่นยาง จะถูกบันทึกภาพโดยการให้แสงจากด้านล่าง แล้วภาพที่ได้จะนำไปผ่านกระบวนการประมวลภาพเพื่อ หาลักษณะเด่นในการคัดแยกคุณภาพแผ่นยาง เนื่องจากตามมาตรฐานการคัดแยกแผ่นยางนั้นจะดูจาก ความใสและปริมาณจุดด่างที่เกิดจากรา การศึกษาปัญหาวิจัยนี้จึงใช้การประมวลผลภาพเพื่อให้ได้ ลักษณะเด่นที่เป็นตัวแทนของคุณสมบัติทั้งสองนี้ ในขั้นแรกภาพของแผ่นยางจะถูกเปลี่ยนให้เป็น ภาพระดับเทาก่อน แล้วจึงนำไปหาค่าผลรวมของระดับความเข้มของภาพเพื่อใช้เป็นตัวแทนของความ ใส สำหรับการวัดปริมาณจุดด่างนั้น ทำได้โดยการนำภาพระดับเทาไปผ่านการเปลี่ยนเป็นภาพขาวดำ จำนวนพื้นที่จุดดำที่ได้เป็นตัวแทนของปริมาณจุดด่างในแผ่นยาง การแยกเกรดของแผ่นยางเป็น 4 เกรด ทำได้โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้จากการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ วิธีที่นำเสนอได้รับการ ทดสอบกับตัวอย่างแผ่นยางจำนวน 100 ตัวอย่างโดยสามารถคัดแยกได้ถูกต้อง 89 เปอร์เซ็นต์เมื่อ เทียบกับการคัดแยกโดยผู้เชียวชาญ
บทคัดย่อ (EN): Currently, the grading of Para rubber sheet according to its quality is performed by experts, who are rare. This research study proposes a rubber sheet classification system based on image processing. In the proposed system, an image of light passing through a rubber sheet is taken using 3 light sources underneath the sheet. The taken image is preprocessed to become a gray-scale image, which is used to calculate the transparency and the dark spots. The amount of intensity per area is calculated to represent the transparency. For the dark spots measurement, the gray-scale image of the rubber sheet is converted to a black and white (binary) image, where its black area is considered to represent the amount of dark spots in the rubber sheet. The two features are used to classify the rubber sheet into 4 levels by comparing them with a rule based on the experts and the training of a data set. The proposed method was verified with 100 samples of rubber sheet from Ubonrachatanee province. The results showed the accuracy of the proposed classification is 89 percent.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/299891/0e9072705c2ab1f8bc123cd0d8d4890d?Resolve_DOI=10.14457/KMUTT.res.2007.35
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบคัดแยกคุณภาพแผ่นยางพาราโดยการประมวลผลภาพ
การยางแห่งประเทศไทย
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิเคราะห์คุณภาพแผ่นยางพาราในโรงรมยางด้วยหลักการประมวลผลภาพ การคัดแยกต้นกล้ายางพารา โดยวิธีการประมวลผลภาพ กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ระบบอบแห้งแผ่นยางพารา ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีก๊าซหุงต้ม เป็นพลังงานเสริม โรงอบยางพาราพลังงานความร้อนร่วมแสงอาทิตย์-แก๊สชีวภาพจากน้ำทิ้งของกระบวนการทำแผ่นยางพาราสำหรับเกษตรกรรายย่อย การใช้ไคโตซานเป็นสารยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพารา อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี การศึกษาการคัดพันธุ์ข้าวด้วยการประมวลผลภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก