สืบค้นงานวิจัย
การระบุและการศึกษาหน้าที่ของอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในกุ้งก้ามกราม
อำนาจ เพชรรุ่งนภา - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การระบุและการศึกษาหน้าที่ของอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในกุ้งก้ามกราม
ชื่อเรื่อง (EN): Genome-wide identification and functional characterization of the immune-related microRNAs from the giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำนาจ เพชรรุ่งนภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Amnat Phetrungnapha
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของ miRNAs กับการตอบสนองทางภูมิคุมกันผาน PRRsignaling pathway ในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ผู้วิจัยทําการวิเคราะห์ miRNAs ในกุ้งที่ถูกฉีดด้วย NaCl (กลุ่ม C), LPS และ poly IC (กลุ่ม ic) เพื่อระบุชนิดของ miRNAs ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ผลการทดลองพบว่าจากลําดับทั้งหมด 19,157,854, 13,916,666 และ 32,346,034 clean reads ที่พบใน C, LPS และ IC libraries มีลําดับที่มีขนาด 18-32 นิวคลีโอไทด์เป็นจํานวน 509,371, 451,521 และ 888,863 unique sequences ตามลําดับ หลังจากที่เปรียบเทียบลําดับดังกล่าวกับฐานข้อมูล miRBase พบว่าสามารถระบุชนิดของ miRNAs ได้ 1,723, 1,580 และ 1,933 ชนิดใน C, LPS และ IC libraries ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์การแสดงออกของ miRNAs พบว่ามี miRNAs 173 ชนิดที่แสดงออกมากขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญและ 234 ชนิดที่แสดงออกลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญในกุ้งที่ฉีดกระตุ้นด้วย LPS และมี miRNAs 450 ชนิดที่แสดงออกมากขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญและ 314 ชนิดที่แสดงออกลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญในกุ้งที่ฉีดกระตุ้นด้วย poly IC เมื่อคัดเลือก miRNAs 4 ชนิดมาตรวจยืนยันการแสดงออกด้วย stem-loop qPCR พบว่า การแสดงออกของ miRNAs ที่ตรวจสอบด้วย stemloop qPCR นั้นสอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย high-throughput sequencing และยังเป็นที่น่าสนใจว่า miRNAs ที่มีการแสดงออกเปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้หลายๆชนิดมีรายงานว่ามีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ การระบุยีนเป้าหมายของ miRNAs เหล่านี้จะทําให้องค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ miRNAs กับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผ่าน PRR-signaling pathway ในกุ้งก้ามกรามมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to elucidate the relationship of miRNAs and immune response mediated by PRR-signaling pathway in the giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii. To identify the immune-related miRNA, we conducted a miRNAs analysis on the hepatopancreas of M. rosenbergii injected with NaCl (C), LPS, and poly IC (IC). In total 19,157,854, 13,916,666, and 32,346,034 clean reads representing 509,371, 451,521, and 888,863 unique sequences of 18-32 nt length were obtained from the C, LPS and IC libraries, respectively. After comparing the miRNA sequences with the miRBase database, 1,723, 1,580, and 1,933 known mature miRNAs were identified from the C, LPS and IC libraries, respectively. Differential expression analysis revealed that 173 miRNAs were up-regulated significantly and 234 miRNAs were down-regulated significantly upon LPS, and 450 miRNAs were up-regulated significantly and 314 miRNAs were down-regulated significantly upon poly IC. Then, four differentially expressed miRNAs upon LPSand poly IC were selected for validation by stem-loop qPCR. The expression trend of most the miRNAs from stem-loop qPCR were consistent with the high-throughput sequencing data. Interestingly, several differentially expressed miRNAs were reported to be involved in innate immune response. Identification of the target genes of these miRNAs will provide better understanding in the relationship of miRNAs and immune response in prawn.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-05-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-05-01
เอกสารแนบ: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG5980010
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การระบุและการศึกษาหน้าที่ของอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในกุ้งก้ามกราม
มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 พฤษภาคม 2561
เอกสารแนบ 1
การแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอในข้าวที่ตอบสนองต่อโรคขอบใบแห้ง โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสยุคก้าวหน้า การระบุอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่แสดงออกอย่างจำเพาะในข้าวพันธุ์ กข 47 คุณภาพและปริมาณอาร์เอ็นเอที่สกัดได้จากใบอ่อนของถั่วเหลืองโดยใช้ชุดทดสอบสารไตรซอล การใช้ไส้เดือนน้ำที่พบท้องถิ่นในระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามวัยรุ่นขนาด 5-8 เซนติเมตร การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล การเสริมโพแทสเซียม แมกนีเซียม ในระบบการอนุบาลกุ้งก้ามกรามที่ลดการปล่อยของเสีย ด้วยน้ำหมุนเวียน ผลของขนาดใบต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล [Ulva rigida C. Agardh, 1823] ผลของการเสริมกรดไขมันอะราชิโดนิก(20:4n-6) ในอาหารแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามต่อความเครียดและการอนุบาลลูกกุ้งในระดับความเค็มต่างกัน การเสริมกุ้งก้ามกรามในระการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมากจากพลังงานทางเลือกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก