สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน
น้ำเพชร วินิจฉัยกุล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: น้ำเพชร วินิจฉัยกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทำวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการผลิต แดะ การตลาดของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์โอกาสใน การทำธุรกิจของกลุ่ม รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือและการใช้กลยุทธ์ในารเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งชัน โดยกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองนี้เข้าร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มเครีอว่ายผ้าทอพื้นเมืองอำเภอปาซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 7 กลุ่ม และกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 กลุ่ม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมี ส่วนร่ามของสมาชิกกลุ่ม โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแร่งขันของธุรกิจ การ แลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์ธุรกิจ รวมทั้งร่วมกันวางแผนธุรกิจเพื่อเสริมความสามารถ ทางการแข่งขันของกลุ่ม ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองมีจุดแข็งในเรื่องทักษะ และภูมิปัญญา ที่เด่นขัดด้านลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด จุดอ่อนในการดำเนินธุรกิจคือ ปัญหาช่องทาง การตลาด ต้นทุนในการดำเนินการสูง และปัญหาการจัดการของกลุ่ม โอกาสที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคือ การได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ส่วนอุปสรรคเกิดจากการที่อำนาจซื้อของผู้บริโภค ลดลง มีการแข่งขันสูงขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม รวมทั้งธุรกิจเอกชนอื่น ๆ กิจกรรมสำคัญที่โครงการวิจัย มีการดำเนินการเพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้าง ความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม ประกอบด้วย การจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้ง เพื่อให้ความรู้ในการวางแผนธุรกิจ และการสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านการ ออกแบบและการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อกสู่ตลาด การจัดให้มีการดูงานเพื่อเรียนรู้จาก ประสบการณ์ของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การพัฒนาเครือข่ายและสร้างความร่วมมือของกลุ่ม เพื่อลดต้นทุนในการซื้อปัจจัยการผลิต และการขายผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิตผ้าทอ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ นอกจากนั้นโครงการวิจัยได้มีการสร้าง Website (www. pathai.org) เพื่อช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to explore production and marketing performance of the native fabric weaving groups in the upper north of Thailand, to enhance the abilities of the groups in perceiving and analyzing business opportunities given locally available resources and to promote linkages and strategies to enhance the capabilities of competitiveness. The groups participating in this research project included the 7 groups joining the native fabric weaving network in Pa-sang district, Lampoon province and the 9 native weaving groups in Jomthong district, Chiang Mai province. This study employs group participatory approach, allowing the members to analyze their business environment, exchange ideas and experiences and set up the business cooperative plans to enhance the groups' competitiveness. The SWOT analysis indicated that the obvious strength of the participating groups was the indigenous knowledge and skills which reflected in their unique traditional designs. The other pius was the ability in upgrading product quality and designs to serve the market demand. Its weaknesses, however, lied in marketing channels, high operating costs, and managerial issues. Key opportunity included an ongoing support from various organizations, while barriers came from reductions in purchasing power, and high degree of competition with other small- and medium-sized community enterprises and also private entrepreneurs. Key activities to improve capabilities of the groups that the research team has implemented during the research duration included three training workshops to educate and encourage business planning and market innovation such as new products or new designs, and study tour to the well-established local enterprise to assist in learning from other' experiences. Linkages and coordination across the participating groups to reduce costs in purchasing inputs and marketing their products were promoted to increase productivity and abilities of the groups in business competition. The website (www.pathai.org) was also established to disseminate the information related to the participating weaving groups and our research efforts.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-012
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/Numpet_Winischaikule_2551/abstract.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบเครือข่ายธุรกิจ OTOP เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนของภาคเหนือตอนบน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก