สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการตลาดกุหลาบของเกษตรกรใน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปี พ.ศ.2527
ประพัฒน์ รัตนเสาวภาคย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดกุหลาบของเกษตรกรใน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปี พ.ศ.2527
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประพัฒน์ รัตนเสาวภาคย์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: เกษตรกรที่ทำการศึกษาในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 105 ราย พบว่าส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40.28 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 อาชีพหลักคือ การปลูกพืช พืชหลักที่ปลูกกันมาก คือ กุหลาบส่วนใหญ่ที่ดินเป็นของตนเองเฉลี่ยครอบครัวทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 2.72 คน เกษตรกรส่วนใหญ่จ้างเรงงานชั่วคราวเฉลี่ยครอบครัวละ 0.88 คน เพื่อกำจัดวัชพืชและเด็ดดอก เป็นต้น เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 129,316.80 บาท/ปี เกษตรกรทั้งหมดปลูกกุหลาบลงบนร่องสวน และมีบางรายปลูกกุหลาบเป็นไม้กระถางด้วย กุหลาบที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นกุหลาบพันธุ์ฟูซีเลียร์ ซึ่งมีดอกสีแดง ใช้ประโยชน์ในการร้อยพวงมาลัยได้ดี และมีเกษตรกรส่วนน้อยปลูกกุหลาบพันธุ์เพื่อตอนกิ่งขาย และขายเป็นไม้กระถาง เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกุหลาบเป็นอาชีพ เพราะมีรายได้ดีและให้ผลตอบแทนได้เร็วแหล่งความรู้ในการปลูกกุหลาบ เกษตรกรได้จากประสบการณ์ของตนเองแหล่งพันธุ์กุหลาบได้จากเพื่อนบ้านมากที่สุด เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกุหลาบโดยใช้กิ่งตอน มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ่ยอินทรีย์ทุก ๆ 15 วันมากที่สุด ให้นำกุหลาบทุกวันเวลาเช้าโดยใช้น้ำจากแม่น้ำ การกำจัดวัชพืชเกษตรกรใช้แรงงานคน ส่วนการกำจักโรคและแมลงศัตรูพืชนั้นใช้สารเคมี เกษตรกรผลิตดอกกุหลาบได้มากที่สุดในฤดูฝนเฉลี่ยครั้งละ(วันเว้นวัน) 4943.08 ดอก ผลิตกิ่งตอนกุหลาบได้มากที่สุดในฤดูฝน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 441.67 กิ่ง ผลิตกุหลาบกระถางได้มากที่สุดในฤดูฝน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 438.33 กระถาง เกษตรกรทั้งหมดที่ปลูกกุหลาบพันธุ์ฟูซีเลียร์ ใชถุงพลาสติกบรรจุดอกเพื่อส่งขายและขนส่งโดยทางเรือ สำหรับเกษตรกรที่ตอนกิ่ง ใช้ใบตองห่อกิ่งตอนและขนส่งโดยทางรถยนต์ ส่วนเกษตรกรที่ผลิตกุหลาบกระถาง ใช้กระถางขนาดขนาด 7 นิ้วมากที่สุด และขนส่งโดยทางรถยนต์ทั้งหมด เกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลิตภัณฑ์ขายผลผลิตกุหลาบโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง และตลาดกลางที่ใหญ่ที่สุดคือตลาดปากคลองตลาด ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของกุหลาบพันธุ์ฟูซีเลียร์ เกษตรกรทั้งหมดมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช โรค แมลงศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากและเกษตรกรบางส่วนขาดความรู้จากเอกสารการเกษตร และขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ย เกษตรกรต้องการความรู้ในเรื่อง การใช้ยากำจัดโรค และแมลงศัตรูกุหลาบ ความรู้ในการใช้ปุ๋ย และการรักษาเสถียรภาพราคา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2527
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการตลาดกุหลาบของเกษตรกรใน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปี พ.ศ.2527
กรมส่งเสริมการเกษตร
2527
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปรังของเกษตรกรจังหวัดนนทบุรี สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 สภาพการผลิตและการตลาดผักของเกษตรกรในจังหวัดสตูล ปี 2548 สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก