สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จุมพล ไทยสุชาติ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุมพล ไทยสุชาติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จุมพล ไทยสุชาติ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการใน 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ปลูกหอมแดงมาก โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกหอมจำนวน 200 ราย และศึกษาเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชจากเอกสารวิชาการ ผลการค้นคว้าวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 89 (178 ราย) มีการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยใช้สารประเภทก่อนวัชพืชงอกได้แก่ สาร oxyfluorfen , alachlor, alachlor + metolachlor และสาร metolachlor คิดเป็นร้อยละ 52.8 , 21.3 , 20.2 , และ 5.6 ตามลำดับ และเกษตรกรร้อยละ 97.8 ของเกษตรกรที่ใช้สารกำจัดวัชพืชทั้งหมด จะใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอกโดยฉีดพ่นสารหลังปลูกหอมทันทีในขณะที่ดินมีความชื้น สำหรับวัชพืชที่งอกขึ้นมาภายหลังพบว่า เกษตรกรร้อยละ 66.3 จะทำการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการถอน มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 33.7 ที่ไม่มีการกำจัดวัชพืช เนื่องจากกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นหอม เกษตรกรร้อยละ 89.5 จะตัดสินใจใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกเพื่อควบคุมวัชพืชที่เกิดขึ้นถ้าหากทราบว่ามีสารกำจัดวัชพืชที่ใช้หลังวัชพืชงอกที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้ดีและไม่มีความเป็นพิษต่อต้นหอม ส่วนการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอก มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 3.4 (6ราย) เท่านั้นที่ใช้ โดยใช้สาร haloxyfop - methyl ฉีดพ่นเมื่อพบว่ามีวัชพืชขึ้นมากจนถอนไม่ทัน นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรร้อยละ 14.1 (25 ราย) ใช้สารglyphosate ฉีดพ่นก่อนการเตรียมดินเพื่อปลูกหอม ในด้านอัตราของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 80.9 จะใช้สารกำจัดวัชพืชโดยไม่คำนึงถึงปริมาตรของสารต่อพื้นที่ (spray volume) ส่วนเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า เกษตรกรร้อยละ 79.8 ใช้เครื่องฉีดพ่นชนิดสะพายหลังแบบสูบชัก เกษตรกรร้อยละ 16.9 ใช้เครื่องฉีดพ่นชนิดสะพายหลังแบบโยก และเกษตรกรร้อยละ 3.4 ใช้เครื่องฉีดพ่นแบบแรงสูง นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรร้อยละ 86.5 ไม่แยกเครื่องฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชออกจากเครื่องฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลง ส่วนหัวฉีดที่ใช้ในการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า เกษตรกรทุกรายใช้หัวฉีดแบบกรวย แหล่งความรู้ในด้านการใช้สารกำจัดวัชพืช พบว่า เกษตรกรร้อยละ 51.7 ได้รับจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 43.8 ได้รับจากร้านค้าและบริษัท อีกร้อยละ 4.5 ได้รับจากเจ้าหน้าที่เกษตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2541
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสหอมแดง การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นต่อการปลูกปอของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก