สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่
ศันสนีย์ นายอง - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Related to the Well-being of Farmer Housewives and Families in Accordance with the Sufficiency Economic Approach in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศันสนีย์ นายอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sansanee Nayong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รุจ ศิริศัญลักษณ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Ruth Sirisunyaluck
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการทางเศรษฐกิจและสังคมของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวแม่บ้านเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แม่บ้านเกษตรจำนวน 375 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีคำถามเป็นปลายเปิดและปลายปิดใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุในวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ผลการศึกษาพบว่า แม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 47.71 ปี ทั้งแม่บ้านและพ่อบ้านเกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน มีบุตรจำนวน 2 คน มีจำนวนแรงงานด้านการเกษตรของครอบครัวเพียง 2 คน ระยะเวลาในการสมรสเฉลี่ย 24.04 ปีแม่บ้านเกษตรกรมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 3,948.27 บาทและมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย แม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ด้านการมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนของแม่บ้านเกษตรกร โดยภาพรวมแม่บ้านเกษตรกรมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนอยู่ในระดับมาก แม่บ้านเกษตรกรได้รับความรู้ด้านการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง โดยแหล่งความรู้ที่แม่บ้านเกษตรกรได้รับความรู้มาก ได้แก่ โทรทัศน์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวแม่บ้านเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือต่ำกว่า ได้แก่ 1) จำนวนบุตร 2) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของครัวเรือนของแม่บ้านเกษตรกร 3) การทำกิจกรรมด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการทำกิจกรรมเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ ราคาปัจจัยการผลิตบางอย่างมีราคาสูงขึ้น แรงงานในการทำการเกษตรในครอบครัวไม่เพียงพอ รวมทั้ง แมลงและศัตรูพืชทำลายพืชผักจนได้รับความเสียหาย
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this research were to study 1) basic socio-economic of farming housewives and families in Chiang Mai province 2) factors related to the well-being of farmer housewife’s and families in accordance with the Sufficiency Economy approach. The sample size of 375 farmer housewives was obtained by multi-stage random sampling. A set of questionnaire was used for data collection in opened-ended question and closed-ended question. Multiple regressions were used to analyze the relationship between dependent variable and independent variables. The results of the research found that the farmer housewives had average age of 47.71 years old. Most of both housewives and their husbands were elementary school graduates. Majority had 4 members of family. They had 2 children and 2 agricultural workforces on average. Their time span of marriage was 24.04 years on average. They had an average monthly income of 3,948.27 baht and the family income was less than 10,000 baht. Most of the informants had never left their villages to new settlement. They were members of the village fund and the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. With regards to economic role of the respondents, as a whole, it was found that they had a high level in household economy. Overall, most of them obtained the agricultural knowledge at moderate level and source of the agricultural knowledge was television.It was found that the significant factors contributing to well-being of families at 0.05 levels or lower were 1) number of children 2) the economic roles of the farmer housewife 3) the agricultural activities in accordance with sufficiency economy approach, and 4) the problems and constraints of agricultural activities. The important problems were the higher price of inputs, shortage of farm labor, and crops damaged by insects and pests.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245989/168157
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การบริหารจัดการแรงงานภาคการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ของแม่บ้านเกษตรกร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน การศึกษาการปลูกยางพาราภายใต้การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดเลย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก