สืบค้นงานวิจัย
ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
นภาจรัส อำมาตย์โยธิน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่อง (EN): FARMER'S SATISFACTION TOWARD SOYBEAN SEED PRODUCTION PROJECTS' OPERATION IN MUANG DISTRICT, LAMPANG PROVINCE, THAILAND.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นภาจรัส อำมาตย์โยธิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Napajarat Ammartyothin
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง (1)ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในเขตอำเภอเมือง จังหวดลำปาง (2)ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง และ (3)ปัยหาและอุปสรรคของเกษตรกรในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองและแนวทางปรับปรุง ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง(ฤดูแล้ง)ในเขตชลประทาน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างแบบจับฉลากรวมทั้งสิ้นจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาถอดรหัสและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลเกือบทั้งหมดเป็นเพศชายมีอายุโดยเฉลี่ย 45ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และผู้ให้ข้อมูลเกือบทั้งหมดได้สมรสแล้ว สำหรับลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ให้ข้อมูลพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองโดยเฉลี่ย 9 ไร่ และส่วนมากปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.4 โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 185 กิโลกรัมต่อไร่ซึ่งยังต่ำกว่าผลผลิตต่อไร่ของเกณฑ์มาตรฐานสำหรับเมล็ดพันธุ์นั้นเกษตรกรขายให้แก่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 ลำปาง ผู้ให้ข้อมูลมีสมาชิกในครอบครวเฉลี่ย 5 คน แต่มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3 คน ส่วนมากระบุว่ามีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมในฤดูกาลปลูก ผู้ให้ข้อมูลมีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 9 ปี และส่วนมากระบุว่าเข้ารับการจัดการฝึกอบรมจากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 ลำปาง สำหรับแหล่งความรู้ในการปลูกถั่วเหลืองคือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ ผลการวิจัยความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานดครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากมีความพึงพอใจในวิธีการดำเนินงานทั่ง 7 กิจกรรม ซึ่งได้แก่ (1)การจัดหาและคัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรเพื่อจัดทำแปลงขยายพันธุ์(2) วิธีการจัดหาและคัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรเพื่อจัดทำแปลงขยายพันธุ์ (3)การจัดการฝึกอบรมเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ (4)หน้าที่และความรับผิดชอบของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ถั่วเหลือง (5)ระบบควบคุมและตรวจสอบคุณภาพแปลงขยายพันธุ์ถั่วเหลือง(6)การประมาณการผลผลิตเพื่อเตรียมการจัดซื้อคืนเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ถั่วเหลือง (7)การจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองคืนจากแปลงขยายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานของกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีผู้ให้ข้อมูลบางส่วนระบุว่าไม่พึงพอใจประเด็นย่อยต่าง ๆ คือ (1)การที่ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้และปุ๋ยยาเคมีเอง (2)การกำจัดไม่ให้ปลูกพืชอื่น ๆ รอบแปลงขยายพันธุ์ (3)การที่ต้องมีพื้นที่ติดต่อกันถึง 50-60 ไร่ (4)การจัดการฝึกอบรมที่ใช้เวลานานเกินไปและบางเรื่องเกษตรกรก็รู้อยู่แล้ว (5)การที่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองและเชื้อไรโซเบี้ยมด้วยเงินสด (6)เปอร์เซ็นต์ของถั่วเหลืองต่ำและขนาดไม่สม่ำเสมอ (7)การกำหนดให้การยกแปลงให้สูงทำให้มีปัยหาเกี่ยวกับการให้น้ำ (8)การที่เจ้าหน้าที่นำเมล็ดพันธุ์ไปตรวจสอบมากเกินไป (9)การที่ต้องขนย้ายเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดไปรวมไว้บ้านหัวหน้ากลุ่มทำให้ต้นทุนสูง (10)การที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจ่ายเงินแก่เกษตรกรในรูปของเช็ดแทนเงินสด สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในทรรศนะของผู้ให้ข้อมูลพบว่า มีปัญหาด้านบุคลากรกล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชไม่ค่อยมาเยี่ยมเยียน ปัญหาด้านเงินทุนคือ การจ่ายเงินของศูนย์ขยายพันธุ์พืชซึ่งจ่ายในรูปของเช็ค ด้านวัสดุอุปกรณ์มีปัญหาในเรื่องของเครื่องนวดเมล็ดพันธุ์ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองยังต่ำไป ส่วนปัญหาด้านเทคนิคในการจัดการพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีปัญหาในเรื่องแรงงานไม่เพียงพอและการให้น้ำยังขาดในช่วงออกดอกและติดผล
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/36992
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
เอกสารแนบ 1
สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์ ความเป็นไปได้ในการผลิตงาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ที่เก็บต่อจากเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 การทำแปลงทดสอบเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรในและนอกโครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง เขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ใหม่ Kwsx 107 และ Kwsx 91 เพื่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูงเพื่อการค้า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก