สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Biodiversity in the Nature Trails Located in Plant Genetic Conservation Area under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at the University of Phayao, Phayao Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศบนบกในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยพะเยาจังหวัดพะเยา ได้แบ่งการศึกษาเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ การศึกษาการใช้ประโยชน์จากผักพืชบ้าน การศึกษาความหลากกล้วยไม้ การศึกษาความหลากหลายของเห็ด การศึกษาความหลากชนิดของแมลงผสมเกสรและผีเสื้อ และการศึกษาการสะสมในระบบนิเวศป่าธรรมชาติ กิจกรรมที่ 1 เป็นการศึกษาความหลากหลายของผักพืชบ้านของชุมชมรอบๆมหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารของคนในท้องถิ่น ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557-เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ สำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ที่ใช้เป็นอาหารและสมุนไพร ผลการศึกษาพบว่าผักพืชบ้านที่ใช้ประโยชน์มีทั้งหมด 89 ชนิด 47 วงศ์ โดยพบวงศ์ Leguminosae มากที่สุด จำนวน 7 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ Zingiberaceae จำนวน 6 ชนิด และ วงศ์ Labiatae และวงศ์ Solanaceae พบจำนวน 4 ชนิด โดยที่การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่นำมาเป็นอาหารและเป็นสมุนไพร กิจกรรมที่ 2 เป็นการสำรวจกล้วยไม้ในพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 พบกล้วยไม้ทั้งหมด 3 วงศ์ย่อย 20 สกุล 38 ชนิด โดยที่ วงศ์ย่อย Epidendroideae จำนวน 9 สกุล 17 ชนิด วงศ์ย่อย Vandoideae จำนวน 9 สกุล 15 ชนิด Orchidioideae จำนวน 2 สกุล 6 ชนิด โดยที่สกุลกล้วยไม้ที่พบมากที่สุดคือสกุล Dendrobium และ Habenaria พบจำนวนสกุลละ 5 ชนิด รองลงมาคือ Geodorum และ Vanda พบจำนวนสกุลละ 3 ชนิด กิจกรรมที่ 3 เป็นการศึกษาความหลายหลากของเห็ดโดยเก็บรวบรวมเห็ดในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ด จากนั้นบ่งบอกชนิดของเห็ดโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบเห็ดทั้งหมด 53 ชนิด ประกอบด้วยเห็ดที่เป็นผู้ย่อยสลาย 37 ชนิด เป็นไมคอร์ไรซ่า 12 ชนิด เป็นสาเหตุโรคพืช 2 ชนิด และเห็ดที่อาศัยอยู่กับปลวก 2 ชนิด จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสมบูรณ์และมีความหลากหลายของเห็ดมาก กิจกรรมที่ 4 เป็นการศึกษาการสะสมในระบบนิเวศป่าธรรมชาติ ได้แก่ป่าเต็งรังและพื้นที่เชื่อมต่อป่าเต็งรังผสมป่าเบญจพรรณในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยพะเยา โดยทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 3 แปลงที่มีขนาดแปลงละ 40 X 40 เมตร เพื่อทำการทำการศึกษาการสะสมของอินทรียวัตถุและธาตุอาหาร ในดินลึก 1 เมตรและการสะสมในซากพืชบนพื้นป่า โดยพบว่า ป่าเต็งรังแปลงที่ 1 (DDF 1) มีปริมาณอนุภาคดิน ที่ระดับ 0-100 ซม. การสะสมของอินทรียวัตถุ อินทรียคาร์บอน และธาตุอาหารได้แก่ไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม น้อยที่สุด โดยมีปริมาณ ปริมาณดิน 3,220 Mg/ha อินทรียวัตถุ(OM.) 22,325 kg/ha อินทรียคาร์บอน (OC) 12,949 kg/ha ไนโตรเจนรวม (total-N) 1,188 kg kg/ha และ ธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ คือ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และ แมกนีเซียม (available P, K, Ca & Mg) 23 194 1,287 และ 220 kg/ha ตามลำดับ ยกเว้น ปริมาณของแคลเซียมและแมกนีเซียมที่มีค่าสูงกว่าโดยมีค่า 1,287 และ 220 kg/ha ตามลำดับ ส่วนแปลงที่ 3 (MDF) มี มีปริมาณอนุภาคดิน อินทรียวัตถุและปริมาณธาตุอาหารอื่น ๆ สะสมในดินสูงที่สุด สำหรับการสะสมของอินทรีวัตถุและธาตุอาหารในซากพืชที่ร่วงหล่น มีปริมาณสุดในป่าเบญจพรรณ (แปลงที่ 3 หรือ MDF) และมีค่าต่ำสุดในแปลงป่าเต็งรัง (แปลงที่ 2 หรือ DDF2) กิจกรรมที่ 5 เป็นการศึกษาความหลากชนิดของแมลงผสมเกสรและผีเสื้อ ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยพะเยา ทำการศึกษาโดย จากการสำรวจและใช้สวิงโฉบเก็บตัวอย่างแมลง ในพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร ต่อเวลา 90 นาที ใน 2 พื้นที่ (แปลงสุ่มตัวอย่าง) 3 ฤดู ฤดูร้อน/ฝน (14 มิถุนายน 2557) ฤดูฝน 24-25 กันยายน 2557 และ ฤดูหนาว (22-23 ธันวาคม 2557) ในปี 2557) รวม 6 ซ้ำ สามารถเก็บตัวอย่างแมลงได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 214 ตัวอย่าง และเมื่อนำมาวิเคราะห์จัดจำแนกได้ทั้งสิ้น 47 ชนิด ใน 7 อันดับ โดยสามารถเก็บตัวอย่างแมลงผสมเกสรจากทั้ง 2 พื้นที่ศึกษาได้มากชนิดที่สุดใน ฤดูร้อน/ฝน จำนวน 31 ชนิดใน 7 อันดับ มีจำนวน 75 ตัวอย่าง ส่วนในฤดูฝน พบแมลงผสมเกสร 21 ชนิดใน 7 อันดับ มีจำนวน 62 ตัวอย่าง และในฤดูหนาวพบชนิดตัวอย่างแมลงผสมเกสรน้อยที่สุดมี 19 ชนิด ใน 6 อันดับ และมีจำนวน 77 ตัวอย่างโดยมีความเด่นและความหลากหลายในแปลงสุ่มตัวอย่างทั้ง 2 แปลงรวมกันได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 ค่าดัชนีความเด่นในแปลงสุ่มตัวอย่างทั้ง 2 แห่งมีค่าสูงที่สุดในฤดูหนาว (0.10) รองลงไปในฤดูฝน (0.06) และน้อยที่สุดในฤดูร้อน/ฤดูฝน (0.04) โดยมีค่าดัชนีความเด่นตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.03 ส่วนค่าดัชนีความหลากหลายมีค่าสูงที่สุดในฤคูร้อน/ฤดูฝน (3.27) และต่ำลงในฤดูฝน (2.90) และน้อยที่สุดในฤดูหนาว (2.61) เมื่อรวมชนิดแมลงที่สุ่มเก็บตัวอย่างได้ตลอด 3 ฤดูในปี 2557 มีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 3.61
บทคัดย่อ (EN): Studing on the biodiversity of terrestrial ecosystem in the University of Phayao plant genetic conservation area, Phayao Province was divided to 5 activities including diversity of indigenous vegetables, orchid, mushrooms, pollinators and butterflies and to study the nutrient accumulative in nature forest ecosystem in the University of Phayao plant genetic conservation area, Phayao Province. First activity was to study the diversity of indigenous vegetables, which aims to investigate the traditional uses of edible plants by local people during October 2013 to September 2014 by interviewing local people and surveys around home garden, and the natural forest to record information about plants and their usages. The results indicated that 88 species belonging to 48 families have been used for indigenous vegetables. The highest species of family in this area are Leguminosae (7 species), Zingiberaceae (6 species) and Labiatae and Solanaceae (4 spcecies). The second activity was to study the orchid in University of Phayao plant genetic conservation area, Phayao Province during January to December 2014. The wild orchid’s 38 species 20 genera 3 subfamily including subfamily Epidendroideae (9 genera, 17 species) subfamily Epidendroideae (9 genera, 15 species) subfamily Vandoideae (2 genera, 6 species) were found. The highest species of genera were Dendrobium (5 species), Habenaria (5 species), Geodorum (3 spcecies). and Vanda (3 spcecies). The third activity was to study the bio-diversity of mushrooms and to identify both edible and inedible mushrooms. Mushroom were collected in University of Phayao plant genetic conservation area, Phayao Province during January to December 2014. These fungi were identified by using morphological characteristics. Fifty-three species were reported comprising, 37 saprobic mushroom, 12 mycorrhizal mushroom, 2 plant pathogen and 2 termite mushroom. This study showed that the forest is very rich in mushroom diversity. The fourth activity was to study the nutrient accumulative in nature forest ecosystem including dry dipterocarp forest, ecotone between dry dipterocarp forest mixed deciduous forest and mixed deciduous forest, University of Phayao were studied. From a sampling of three conversion plot, each plot measuring 40 X 40 meters to study the accumulation of organic matter and nutrients in the soil depth of one meter and the accumulation of litter on the forest floor by the forest plots. 1 (DDF 1) the amount of soil particles at 0-100 cm accumulation of organic matter, organic carbon And nutrients such as nitrogen, phosphorus, potassium, minimum volume of earth 3,220 Mg / ha of organic matter (OM.) 22,325 kg / ha of organic carbon (OC) 12,949 kg / ha nitrogen (total-N) 1,188 kg kg / ha. and plant nutrients that are beneficial is phosphorus, potassium, calcium and magnesium (available P, K, Ca & Mg) 23 194 1,287 and 220 kg / ha, respectively, except for the amount of calcium and magnesium, which is higher than the value of 1,287 and 220. kg / ha, respectively. Plot 3 (MDF) with the amount of clay particles. Organic matter and other nutrients accumulated in the highest soil. For the accumulation of organic material and nutrients in the humus fall. Were maxed in MDF and the lowest in Plot 2 or DDF2 The fifth activity was to study the diversity of pollinators and butterflies in the area of plant genetic conservation and protect in University Phayao. The survey used sampling swing hovering insects in the area 1600 square meter for 90 minutes in two areas (blocks sampling) 3 season summer/rains (June 14, 2557), rain season (24-25 September 2557) and the winter season (22. December 23, 2557) includes six individually can collect insect samples of 214 samples and identified a total of 47 species in seven ranked by sampling pollinators of the two study areas were very kind as possible. Summer/rain season showers, 31 species in 7 order with a total of 75 samples in rainy found pollinators, 21 species in 7 order with a total of 62 samples, and in winter its kind example pollinators 77 sample least 19 species in 6 order.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2557
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการสร้างจิตสำนึก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช การอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปกปัก สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก