สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์
ศรีกาญจนา คล้ายเรือง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์
ชื่อเรื่อง (EN): Screening for Bioactive compounds from Endophytic Bacteria Isolated from Plants Cultured in Temporary Immersion Bioreactor
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ การศึกษาการขยายพันธุ์งาขี้ม้อนด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การแยกเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์จากต้นงาขี้ม้อน (Perilla frutescens (L.) Britton) และการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และศึกษาผลการใช้เชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ร่วมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต่อการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอล ในการศึกษาการขยายพันธุ์งาขี้ม้อน (Perilla frutescens (L.) Britton) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้เมล็ดงาขี้ม้อนที่เก็บในพื้นที่เชียงใหม่ ทาการหาสภาวะที่เหมาะสมในการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดเพื่อกระตุ้นให้งอก และการเพิ่มปริมาณยอดและการกระตุ้นให้ออกรากในสภาพปลอด ในการฟอกฆ่าเชื้อได้นาเมล็ดมาแช่สารฆ่าเชื้อต่างๆ ได้แก่ คลอรอกซ์ เมอคิวริกคลอไรด์ และ PPM พบว่า สภาวะที่เหมาะสมของการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ด คือ การแช่เมอคิวริกคลอไรด์ความเข้มข้น 0.1% นาน 5 นาที ร่วมกับ PPM ความเข้มข้น 5% นาน 24 ชั่วโมง ตามลาดับ ซึ่งสามารถลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้สูงและเมล็ดมีการงอกได้ดีที่สุด ในการเพิ่มปริมาณยอดได้ใช้ชิ้นส่วนข้อเดี่ยวซึ่งได้จากต้นกล้าที่งอกในสภาพปลอดเชื้ออายุ 4 สัปดาห์ นามาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมไซโตไคนิน BA ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือ TDZ ความเข้มข้น 0.125 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนข้อสามารถแตกยอดได้ 100% ทุกกรรมวิธี ซึ่งการใช้อาหารที่ไม่เติมไซโตไคนินสามารถทาให้ยอดมีการเจริญเติบโตดีที่สุดและมีจานวนข้อมากที่สุด และในการกระตุ้นให้ยอดออกรากได้ใช้อาหารแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมออกซิน NAA ระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า การใช้อาหารที่ไม่เติม NAA ทาให้ยอดออกรากได้ดีที่สุด มีความยาวรากมากที่สุดและมีลักษณะปกติ ในส่วนของการแยกเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ทาการเก็บตัวอย่างต้นงาขี้ม้อนจากพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลาพูน รวมทั้งต้นที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ได้เชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ทั้งสิ้น 79 ไอโซเลต เมื่อจาแนกโดยอาศัยลาดับเบสของยีน 16S rRNA ประกอบด้วยจีนัส Acinetobacter, Citrobacter, Enterobacter, Klebsiella, Pantoea, Pseudomonas, Stenotrophomonas, Bacillus, Rummelibacillus, Lysinibacillus และ Paenibacillus โดยแบคทีเรียเอนโดไฟท์เหล่านี้มีเชื้อ Bacillis subtilis และ Pseudomonas aeruginosa ที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Bacillus cereus, Escherichia coli, Enterobacter sp., Listeria monocytogenes, Serratia marcescens, Staphylococcus aureus และ Xanthomonas oryzae ได้เมื่อทดสอบด้วยวิธี spot on lawn อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบด้วยฤทธิ์ยับยั้งด้วยวิธี agar well diffusion พบว่าแบคทีเรียเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งเพียง B. cereus, Staph. aureus, Ser. marcescens และ X. oryzae เท่านั้น จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคพืชของแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากงาขี้ม้อน โดยทดสอบกับเชื้อรา 4 ชนิดที่แยกได้จากลาไย ได้แก่ Ascomycete sp. LD01-2, Aspergillus sp. L4.1D, Diaporthe sp. LD05-5 และ Fusarium sp. L5.2A พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์จานวน 36 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคได้อย่างน้อย 1 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียในจีนัส Bacillus, Pseudomonas, Enterobacter และ Klebsiella นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากงานขี้ม้อนยังมีการผลิตสารประกอบฟีนอลิกโดยแบคทีเรียที่ตรวจพบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด คือ Bacillus amyloliquefaciens subsp. plantarum PF_SD1_B11 ที่ความเข้มข้น 53.68 ? 0.59 ?g GAE/ml ได้นาเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa PF2_L1_B4 ที่แยกได้จากส่วนใบของงาขี้ม้อนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ดี ทั้งส่วนของตะกอนเซลล์ และน้าเลี้ยงเชื้อ มาผสมในอาหารสูตร MS ปริมาณ 5 กรัม/ลิตร และ 5 มิลลิลิตร/ลิตร ตามลาดับ เพื่อใช้เพาะเลี้ยงงาขี้ม้อน นาน 6 สัปดาห์ นาใบงาขี้ม้อนที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก โดยทั้งอาหารที่เติมเชื้อแบคทีเรีย และน้าเลี้ยงจะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ 23 มิลลิกรัมแกลลิกแอสิด/กรัมของใบแห้ง และจากการวิเคราะห์หา rosmarinic acid ในสารสกัดเมธานอลจากใบด้วยเทคนิค thin layer chromatography พบว่ามีเฉพาะสารสกัดจากใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อเท่านั้นที่ตรวจพบ rosmarinic acid โดยใบงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงในอาหาร MS ผสมตะกอนเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ตรวจพบปริมาณ rosmarinic acid สูงสุด คือ 0.78 มิลลิกรัม/กรัมน้าหนักแห้ง ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์อาจกระตุ้นการผลิต rosmarinic acid ในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงด้วยระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้
บทคัดย่อ (EN): This research comprised of three parts including the isolation of bacterial endophytes from perilla plant (Perilla frutescens (L.) Britton) and theirs bioactive compounds, the study of micropropagation of perilla plant ,and the study on the effect of endophytes on polyphenol production by perilla plant. In study on micropagation of Perilla frutescens (L.) Britton, the optimal protocols for seed-surface sterilization, shoot multiplication and rooting were carried out. Perilla seeds were collected from Chiangmai area. Seeds were immersed in various types of disinfectants including 10% Clorox?, 0.1% mercuric chloride and 5% Plant Preservative Mixture? (PPM) alone or their combinations. After a four-week period of seed germination, it was founded that an optimal sterilization protocol was immersion in 0.1% mercuric chloride for 5 min and followed by in 5% PPM for 24 h, which gave the lowest microbial contamination rate and the highest seed germination rate. In study on shoot multiplication, single nodal explants were cultured on modified-solid MS medium without or with cytokinins BA (1.0 mg/l) and TDZ (0.125 mg/l), for four weeks. Although all treatments gave the same shoot induction rate at 100%, but the best shoot growth and the highest number of shoot nodes were given when cytokinin was not added in the medium. In vitro rooting was studied as well. Shoot explants were grown on modified-solid MS medium without or with auxin NAA (0.5, 1.0 and 2.0 mg/l), for four weeks. The best rooting rate and the longest root length were showed when NAA was not added in the medium. This treatment also gave the shoots with normal roots. In the part of bacterial isolation, perilla plant samples were collected from Chiangmai and Lamphun area and from plant tissue cultures in laboratory. Total of seventy-nine bacterial isolates were obtained and were characterized by sequence of 16S rRNA gene. They comprised of Acinetobacter, Citrobacter, Enterobacter, Klebsiella, Pantoea, Pseudomonas, Stenotrophomonas, Bacillus, Rummeliibacillus, Lysinibacillus and Paenibacillus. Among these, isolates of Bacillissubtilis and Pseudomonas aeruginosa showed the antibacterial activities against Bacillus cereus, Escherichia coli, Enterobacter sp., Listeria monocytogenes, Serratia marcescens, Staphylococcus aureus and Xanthomonas oryzae according to spot on lawn method. However, these bacterial endophytes only showed the inhibition on B. cereus, Staph. aureus, Ser. marcescens and X. oryzae by agar well diffusion assay. Antifungal activities against phytophathogenic fungi, particularly Ascomycete sp. LD01-2, Aspergillus sp. L4.1D, Diaporthe sp. LD05-5 and Fusarium sp. L5.2A, were investigated. Total of 36 isolates comprising of the genera of Bacillus, Pseudomonas, Enterobacter and Klebsiella showed the inhibitory effect on fungal growth. Furthermore, culture supernatant of thirty three endophytic bacteria showed the antioxidant capacity according to the content of total phenolic compound. Bacillus amyloliquefaciens subsp. plantarum PF_SD1_B11 gave the highest phenolic content at the concentration of 53.68 ? 0.59 ?g GAE/ml. Pseudomonas aeruginosa PF2_L1_B4 isolated from leaf of perilla which showed the good antibacterial activities was selected to mix in MS medium in the forms of cell pellets and culture supernatant at the concentrations of 5 g/l and 5 ml/l, respectively. These MS media were used to cultivated perilla plants for six weeks. The perilla leaves from micropropagation were analyzed for the content of total phenolic compound. It was found that total phenolic compound in micropropagated plants were higher than that in wild perilla plant. The average of total phenolic content of dry perilla leaves from MS with cell pellet/culture supernatant was about 23 mg GAE/ g of dry leaves. Methanolic extracts of perilla leaves were also examined the rosmarinic acid by thin layer chromatography (TLC). The perilla leaves cultivated in MS containing bacterial cell pellet showed the highest content of rosmarinic acid at the concentration of 0.73 mg/g of dry leaves. These results suggested that endophytic bacteria may induce the production of rosmarinic acid of perilla plant in micropropagation system.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-032
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-58-032.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2558
เอกสารแนบ 1
การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช การศึกษา " งาขี้ม้อน" พืชน้ำมันชนิดใหม่ กับการใช้ประโยชน์ การผลิต cucuminoids จากการเพาะเลี้ยงแคลลัสขมิ้นชัน พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ การวิจัยการผลิตไพลแบบบูรณาการ ผลของน้ำหมักจากแบคทีเรีย Methylobacterium radiotolerans ED5-9 ที่ผลิต Indole-3-acetic acid (IAA) ต่อผลผลิตเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus (Jacq. ex Fr.) Kummer) พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา ผลของลิกนิน คาร์บอน ไนโตรเจน และโพลีฟีนอลของต้นปอเทืองต่อปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชัน การคัดเลือกองค์ประกอบทางเคมีสำคัญและตรวจสอบความเป็นพิษในสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากงาขี้ม้อน เพื่อการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก