สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
ทิพยา ไกรทอง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Product Technology of Aromatic Coconut
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทิพยา ไกรทอง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): NAA
บทคัดย่อ: มะพร้าวน้ำหอมเป็นมะพร้าวบริโภคผลสด น้ำมีกลิ่นหอม รสหวาน ดับกระหาย แหล่งกำเนิดของมะพร้าว น้ำหอมอยู่ในประเทศไทย โดยตลาดทั้งในและต่างประเทศต้องการเป็นจำนวนมาก แต่ผลผลิตมักขาดตลาดในช่วงฤดูแล้ง และมีไม่เพียงพอกับความต้องการ การจัดการด้านการผลิตเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมให้เพียงพอเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งนอกจากการคัดเลือกพันธุ์ดีมาปลูกแล้ว ด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการดิน ธาตุอาหาร น้ำ เป็นปัจจัยหลักในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะพร้าวน้ำหอม ใช้ระยะเวลา 3 ปีระหว่างเดือน ตุลาคม 2555 สิ้นสุด กันยายน 2557 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อต้องการทราบผลของ NAA ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวน้ำหอม และเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งการจัดการธาตุอาหารในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม โดยการนำสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชประเภท Auxin คือ NAA (Naphthyl acetic Acid) ซึ่งเป็นสารเร่งราก อัตราความเข้มข้นต่างๆกันประกอบด้วย การให้ NAA 20 ,40, 60 และ 80 ppm ทางราก และ การให้ NAA 30 ppm ฉีดพ่นที่จั่นเริ่มบาน ผลการทดลอง พบว่า การให้ NAA ทางราก 20 ppm ผลผลิตมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอิ่นๆ และไม่แตกต่างกันกับการให้ NAA 80 ppm คือ 148.27 และ 149.40 ผล/ต้น/ปี ส่วนการให้ NAA 30 ppm ฉีดพ่นที่จั่นผลผลิตน้อยกว่าการให้ทางราก เช่นเดียวกันกับ การเจริญเติบโต และส่วนประกอบของผล ก็พบว่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งกรรมวิธีการให้ NAA 80 ppm นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองแล้วยังเพิ่มต้นทุนอีกด้วย ส่วนงานทดลอง การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราต่างๆกันประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 20 กก./ต้น/ปีในปีแรก (ปีที่ 2,3 ใส่ 60 กก./ต้น) กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมฯ (GAP) (ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 4 กก./ต้น/ ปี + ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 500 กรัม/ต้น/ปี ร่วมกับปุ๋ยมูลวัว อัตรา 20 กก./ต้น/ปี) กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยตามค่าผลการวิเคราะห์ดิน+พืช (21-0-0 500 กรัม + 0-3-0 1,000 กรัม+ 0-0-60 1,500 กรัม + คีเซอร์ไรท์ 230 กรัม /ต้น/ปี) กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น/ปี ใส่ปีละครั้งร่วมกับการใส่เกลือแกง (NaCl) อัตรา 1 กก./ต้น/ปี) โดยทุกกรรมวิธีใส่โดโลไมท์อัตรา 2 กก./ต้น/ปี พบว่า การใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและพืชให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด 114.93 ผล/ต้น/ปี รองลงมาเป็นการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมคือ 87.16 ผล/ต้น/ปี เช่นเดียวกันกับผลตอบแทนของกรรมวิธีที่ 4 การใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและพืช ให้ผลตอบแทนคิดเป็นรายได้สุทธิมากที่สุดเช่นกัน
บทคัดย่อ (EN): The aromatic coconut is use as edible fresh fruit, aromatic water, sweet taste and quenching. The origin of the aromatic coconut is located in Thailand. It has the trend for domestication and exportation. However, during the summer the aromatic coconut production is out of stock. The good agricultural practices for the aromatic coconut are the main point for supporting a costumer. Beside the cultivar selection, the soil management, mineral and water are a major factors for the aromatic coconut production. This research and development in aromatic coconut was done for 3 years, from October 2012 to September 2014 in the Chumphon Horticulture Research Center .The aim of this study is investigated the effect of NAA in enhancing aromatic coconut production and find out the suitable technology in aromatic coconut production. The nutrient management is an altered in enhancing coconut production by using plant growth regulator; Auxin as NAA (Naphthyl acetic Acid). The aromatic coconut roots were treated with 20, 40, 60 and 80 ppm and NAA 30 ppm is sprayed in the inflorescence. The study have found that the application of NAA 20 ppm by root is given a highly coconut production which is not significantly with NAA 80 ppm 148.27 and 149.40 nut/tree/year. In addition the application of NAA 30 ppm by sprayed in the inflorescences, 1-2 days after spathe opening when fertilizing was complete in all buttons given a low coconut production. The application of NAA 80 ppm is wasteful by taken a high cost. In addition, the optimal nutrient management in the aromatic coconut production was using in differently of artificially fertilizer concentration. Treatment 1 is a control (without fertilizer), treatment 2 application of compost as 20 kg/tree/year in the first year (Year 2,3; 60 kg/tree), treatment 3 application of the fertilizer followed by GAP (in formula 13-13-21 by 4 kg/tree/year + NH4SO2 500 gram/tree/year+ cow dung 20 kg/tree/year), treatment 4; application of the fertilizer followed by plant according to soil & plant analysis (21-0-0 500 gram+0-3-0 1,000 gram+ 0-0-60 1,500 gram+ keserite 230 gram/tree/year) and in treatment 5 applied the fertilizer followed by a farmer (15-15-15 2 kg/tree/year) with NaCl (1 kg/tree/year).All treatment were applied dolomite 2 kg/tree/year and the result have shown that the applied fertilizer by plant according to soil & plant analysis given a high production as 114.93 nut/tree/year following the applied fertilizer application procedure was done according to GAP (DOA recommendation) as 87.16 nut/tree/year. The 4th treatment instead gave the best net profit comparing to another treatment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชภายใต้โรงเรือน การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารอย่างเหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของสับปะรด การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง:1. ระบบการผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารพืชตามดัชนีผลิตภาพดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในจังหวัดสระแก้ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก