สืบค้นงานวิจัย
สภาพปัญหาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกรตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ธนวรรณ สวัสดิ์ชัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพปัญหาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกรตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนวรรณ สวัสดิ์ชัย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพปัญหาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกร ตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร สภาพปัญหาการผลิตมันเทศของเกษตรกร และการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลที่ปลูกมันเทศจำนวน 52 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีลักษณะคำถามให้เลือกตอบ ทั้งประเภทปลายเปิด และปลายปิด นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปใช้สถิติ หาค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ให้ข้อมูล ร้อยละ 63.5 ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุเฉลี่ย 45.83 ปี ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.98 คน พื้นที่ปลูกมันเทศทั้งสิ้น จำนวน 61ไร่ เฉลี่ย 1.17 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,396 กก./ไร่ มีรายได้จากการปลูกมันเทศเฉลี่ย 12,201 บาท สำหรับแหล่งเงินทุนที่เกษตรกรใช้เป็นทุนในการผลิตมันเทศ ส่วนใหญ่ใช้ทุนตนเอง สภาพปัญหาด้านกายภาพ จากการศึกษา พบว่า สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝนในการปลูกมันเทศของเกษตรกร รวมถึงลักษณะดินที่เป็นดินร่วนปนทราย ในตำบลปราสาท มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของมันเทศได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีพันธุ์มันเทศเพียงพอสำหรับการทำพันธุ์ และมีพื้นที่สำหรับจัดทำแปลงขยายพันธุ์ในการปลูกมันเทศในฤดูกาลต่อไป ด้านแรงงานในการปลูกมันเทศส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือนและมีแรงงานเพียงพอ สำหรับปัญหาด้านศัตรูพืชและวัชพืชพบว่าไม่สร้างความเสียหายให้กับมันเทศ แต่เกษตรกรปัญหาด้านการจำหน่ายผลผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะตลาด หากมีผลผลิตมากราคามันเทศก็จะตกต่ำไม่แน่นอน การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรไม่ได้ใช้พันธุ์มันเทศที่ทางราชการส่งเสริม มีการขยายพันธุ์มันเทศเพื่อปลูกในฤดูกาลต่อไป เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการหมุนเวียนพื้นที่ปลูกมันเทศเพื่อลดปัญหาการระบาดของศัตรูมันเทศมีการปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม เกษตรกรไม่มีการปลูกซ่อมหลังการปลูกมันเทศแล้วภายใน 15 วัน เนื่องจากไม่ได้รับความเสียหาย หรือไม่มีความจำเป็นต้องปลูกซ่อมสำหรับการให้น้ำในการปลูกมันเทศช่วงฤดูแล้งหลังปลูกมันเทศ 30 วัน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการปฏิบัติ และในด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนการปลูกมันเทศ แต่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันเทศในอัตราเฉลี่ย 50.48 กก/ไร่ เกษตรกรมีส่วนใหญ่มีการป้องกันและกำจัดวัชพืชอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับการพูนโคนมันเทศ สำหรับการเก็บเกี่ยวมันเทศเกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำโดยการเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่เหมาะสม จากการศึกษาดังกล่าว จึงตอบคำถามได้ว่า ทำไมพื้นที่ในการปลูกมันเทศลดลง เนื่องจากเกษตรกรเลิกปลูกมันเทศในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ พื้นที่ปลูกในหมู่บ้านลดลงเพราะมีการขยายตัวของชุมชน และใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น และประการสุดท้ายคือราคามันเทศขึ้นอยู่กับสภาวะการตลาด เกษตรกรไม่สามารถต่อรองราคาได้ตามความต้องการ ข้อเสนอแนะ ในการศึกษาสภาพปัญหาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกรครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะในด้านการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการผลิตและการแปรรูปมันเทศส่งเสริมการรวมกลุ่มในการจัดการด้านการตลาด จัดทำแปลงศึกษาทดสอบมันเทศในพื้นที่ตำบลปราสาท เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/148893
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดบุรีรัมย์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพปัญหาและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันเทศของเกษตรกรตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2546/2547 สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรปี 2546/2547 ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก