สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ
ชุตินันท์ ชูสาย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ
ชื่อเรื่อง (EN): Situation of diseases and insect pests of rubber tree in northeastern and theirs management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชุตินันท์ ชูสาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chutinan Choosai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนันต์ วงเจริญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Anan Wongcharone
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดของโรคและแมลงศัตรูของยางพาราระยะกล้า และระยะต้นโต โดยทำการสำรวจ โรคและแมลงศัตรูของยางพารา ในพื้นที่ปลูกยางพารา 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี เลย และ ขอนแก่น ในเดือนมีนาคม (ฤดูแล้ง) และกันยายน (ฤดูฝน) พ.ศ. 2557 พบว่า โรคของยางพาราที่มีการสำรวจ พบมี 9 โรค ได้แก่ โรคราแป้ง โรคใบจุด Colletotrichum โรคปลายใบไหม้ โรคขอบใบไหม้ โรคใบจุดสีขาว โรคใบจุดก้างปลา โรคใบจุดวงช้อน โรคลำต้นไหม้ โรคเปลือกเน่า และอาการเปลือกแตก โดยโรคราแป้ง โรคใบ จุด Colletotrichum โรคใบจุดก้างปลา และโรคใบจุดสีขาว พบในยางพาราทั้งสองระยะที่มีการสำรวจ การเกิด โรคของยางพารามีความแตกต่างกันในแต่ละฤดู โดยโรคลำต้นไหม้ และเปลือกแตก พบในฤดูแล้ง ส่วนโรคใบจุด วงช้อน และเปลือกเน่า พบในฤดูฝน ส่วนแมลงศัตรู และสัตว์ศัตรูที่สำรวจพบมี 5 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแปัง เพลี้ย หอย ปลวก ผีเสื้อหนอนเจาะเปลือก และหอยทาก โดยหอยทาก พบในทุกระยะของยางพารา ส่วนปลวก และ ผีเสื้อหนอนเจาะเปลือก พบทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน แต่ในฤดูแล้ง สำรวจพบเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง ส่วนหอย ทาก พบเฉพาะในฤดูฝน การศึกษาคุณสมบัติทงกายภาพและทางเคมีของดินแปลงยางพาราระยะต้นโต ก่อนเปิดกรีด และหลัง เปิดกรีด ในทุกจังหวัดที่มีการสำรวจ พบว่า แปลงยางพาราก่อนเปิดกรีดที่สำรวจในจังหวัดบึงกาฬ และแปลง ยางพาราหลังเปิดกรีดที่สำรวจในจังหวัดหนองคาย มีคุณสมบัติทางเคมีของดินสูงกว่าแปลงยางพาราในจังหวัด อื่น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทงสถิติ ได้แก่ ปริมาณนโตรเจนทั้งหมดในดิน ปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ ในดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกในดิน แต่แปลงยางพาราก่อนเปิดกรีด ที่สำรวจในจังหวัดขอนแก่น และแปลงยางพาราหลังเปิดกรีดที่สำรวจในจังหวัดหนองคาย มีปริมาณฟอสฟอรัสที่ เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับแปลงยางพาราในจังหวัดอื่น นอกจากนี้ แปลง ยางพาราก่อนเปิดกรีดและหลังเปิดกรีดที่มีการสำรวจในแต่ละจังหวัด ดินมีสภาพเป็นกรด กเว้นแปลง ยางพาราหลังเปิดกรีดที่สำรวจในจังหวัดบึงกาฬ ดินมีสภาพเป็นด่าง สารประเภทดูดซึม prochloraz และไม่ดูดซึม mancozeb และ เชื้อราเอนโดไฟต์ T. harzianum 03 และ T. shanense 06 มีศักยภาพยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคของยางพารา 6 ชนิด ได้แก่ Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium chlamydosporum, Diaporthe phaseolorum, Lasiodiplodia theobromoe และ Neoscytalidium dimidiatum
บทคัดย่อ (EN): Study on situation of diseases and insect pests of rubber tree in northeastern and theirs management. The objective of this study was to survey the diseases and insect pests of immature stage (less than 1 year old) and mature stage of Para rubber tree. The diseases and insect pests were surveyed in March 2014 (dry season) and September 2014 (rainy season) of 5 provinces of Para rubber planting areas are Buengkhan, Nongkhai, Udon thani, Loei and Khon Kaen. Nine diseases of Para rubber tree were surveyed: powdery mildew, Colletotrichum leaf spot, leaf tip blight, leaf blight, white leaf spot, Corynespora leaf spot, Pseudocercospora leaf spot, stem blight, mouldy rot and trunk phloem necrosis. The powdery mildew, Colletotrichum leaf spot, Corynespora leaf spot and white leaf spot were found in both stages of Para rubber tree. The disease incidence of Para rubber tree has been differenced in each season. Stem blight and truck phloem necrosis were found in dry season but Pseudocercospora leaf spot and mouldy rot were found in rainy season. Five pests of Para rubber tree were surveyed: mealy bug, scale insect, termite, bark boring caterpillar and snail. Snail was found in all developmental stages of Para rubber tree. Moreover, termite and bark boring caterpillar were found in both seasons. Conversely, scale insect and mealy bug were only found in dry season and snail was only found in rainy season. The study of soil physical and chemical properties in mature stage (before and after tapping) of Para rubber tree was surveyed in all provinces. The results showed that soil from Para rubber tree before tapping surveyed in Buengkhan and from Para rubber tree after tapping surveyed in Nongkhai had significant difference higher soil chemical properties than the other provinces such as total nitrogen, water soluble potassium, organic matter and cation exchange capacity. Conversely, soil from the Para rubber tree before tapping surveyed in Khon Kaen and from Para rubber tree after tapping surveyed in Nongkhai had highest available phosphorus that significant difference with the other provinces. Besides, soil from Para rubber tree before and after tapping surveyed in each province had acidic, exception in soil from Para rubber tree after tapping surveyed in Buengkhan had alkaline. The fungicides including systemic prochloraz and non-systemic mancozeb and endophytic T. harzianum 03 and T. ghanense 06 were potentially method for inhibition of 6 pathogenic fungi of rubber tree: Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium chlamydosporum, Diaporthe phaseolorum, Lasiodiplodia theobromae and Neoscytalidium dimidiatum.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 245,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2558
สำรวจโรคและศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสวนยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานของยางพาราก่อนเปิดกรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำรวจโรคและศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของยางพาราในแปลงกิ่งตายาง แปลงกล้ายาง และแปลงผลิตยางชำถุง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การสำรวจแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลไกตลาดยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วงดำแมลงศัตรูข้าวตัวใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก