สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกรตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
สุนีย์ แจ่มสุวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกรตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนีย์ แจ่มสุวรรณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือน ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงเพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคมบางประการของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกร 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรส่วนมาก พบว่า เกษตรกรส่วนเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.3 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.3 คนมีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.6คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 11.5 ไร่ มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 32,333.3 บาท มีรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 114,750.9 บาท รวมรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 156,096.0 บาท เกษตรกรส่วนมากใช้เงินทุนในการผลิตเห็ดฟางจากกองทุนหมู่บ้าน ใช้เงินจาก ธ.ก.ส. สมาชิกสหกรณ์การเกษตร และทุนตัวเอง และมีประสบการณ์ ในการผลิตเห็ดฟาง เฉลี่ย 3.5 ปี เกษตรกรเพาะเห็ดฟางเฉลี่ย 2 โรงเรือน แต่ละโรงเรือนใช้ก้อนเชื้อเห็ด 20 ก้อนเท่ากันทุกโรงเรือน ส่วนอายุการใช้งานของโรงเรือนเกษตรกรจะเพาะเห็ดได้ 12 ครั้งหรืออายุการใช้งาน 2 ปี จึงเปลี่ยนโรงเรือนใหม่ เกษตรกรมีการใช้แรงงานในการเพาะเห็ดเฉลี่ย 4.8 คน เป็นการจ้างแรงงานเฉลี่ย 3.1 คน โดยส่วนมากมีการจ้างเหมาแรงงานเพาะต่อโรงเรือนๆ ละ 300 บาท การป้องกันกำจัดโรคแมลง พบว่าเกษตรกรมีการสำรวจโรงเรือนทุกวัน และทุกสัปดาห์ ศัตรูที่พบมาก และทำความเสียหายแก่ดอกเห็ด ได้แก่ หนู ปลวก และมด สำหรับโรคระบาดที่ทำความเสียหายต่อดอกเห็ดที่สำคัญ ได้แก่ โรคราเขียว และโรคเน่าเละของเห็ดฟาง เกษตรกรส่วนมากใช้น้ำหมักชีวภาพในการป้องกันกำจัดโรคแมลง ได้ผลดีพอสมควร ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดฟาง เกษตรกรใช้เวลาเริ่มเพาะถึงเก็บเกี่ยวดอกเห็ดใช้เวลา 15 วัน เกษตรกรได้ผลผลิตเห็ดฟางเฉลี่ย 122.7 กิโลกรัม / โรงเรือน เกษตรกรส่วนมากขายผลผลิตได้กิโลกรัมละ 30 บาท การขายผลผลิตของเกษตรกรจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในหมู่บ้าน สำหรับเศษวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟางที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนมากเกษตรกรจะนำไปใส่ในไร่นาเพื่อเพิ่มธาตุอาหารปรับปรุงบำรุงดินและช่วยกำจัดเศษขยะด้วย เกษตรกรที่ทำการศึกษาทุกรายได้ให้ข้อมูลว่าการผลิตเห็ดฟางได้กำไร ปัญหาในการผลิตเห็ดฟาง พบว่า เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือน ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่เป็นปัญหามากได้แก่ โรงเรือนเพาะเห็ดอยู่ใกล้ชุมชน เงินทุนไม่เพียงพอ มีโรคระบาดในการเพาะเห็ด วัสดุอุปกรณ์การเพาะมีราคาแพง ราคาผลผลิตต่ำ และพ่อค้าคนกลางตั้งราคาเอง ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตเห็ดฟางเพื่อได้ต่อรองราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง และจัดหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นได้แก่ เชื้อเห็ดฟาง อาหารเสริม รำอ่อน กากน้ำตาล เกษตรกรจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ควรอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดฟาง ในเรื่องการป้องกันกำจัดเรื่องโรคและแมลง การทำความสะอาดโรงเรือน และการพักโรงเรือนก่อนที่จะทำการเพาะเห็ดฟางครั้งต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกรตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตถั่วลิสงของเกษตรกร ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปรังของเกษตรกร ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม การผลิตและการตลาดเห็ดฟางแบบโรงเรือนของเกษตรกร ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร ตำบลข่ามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก