สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการดำเนินงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
วีเซน ตั้งพิสิฐโยธิน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการดำเนินงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีเซน ตั้งพิสิฐโยธิน
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดสระแก้ว โดยใช้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ดูแลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสระแก้ว เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 ราย สัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรม SPSS for Windows หาค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสระแก้ว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43.0 ปี จบปริญญาตรี รับราชการมาแล้ว เฉลี่ย 18.4 ปี มีเงินเดือน เฉลี่ย 18,614 บาท รายได้ในครัวเรือน เฉลี่ย30,744 บาท รายจ่ายในครัวเรือน 24,756 บาท มีหนี้สิน เฉลี่ย 681,200.1 บาท และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาศูนย์ฯ เฉลี่ย 3.9 ปี ด้านปัญหาของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสระแก้ว พบว่า มีปัญหาในระดับมาก จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ 1) ด้านเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ 2) ด้านคณะกรรมการบริหารศูนย์ไม่มีความรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเพียงพอ 3) ด้านงบประมาณในการดำเนินงานศูนย์ฯ 4) ด้านค่าตอบแทนในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯยังน้อยมาก 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ 6) ด้านช่วงเวลาของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานในศูนย์แต่ละอาทิตย์น้อย 7) ด้านเกษตรกรไม่มารับบริการที่ศูนย์ฯ ส่วนข้อเสนอแนะจากการได้วิจัยมาเพื่อเป็นแนวทางต่อการแก้ปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์ฯต่อไป มีดังนี้ 1) รัฐควรจัดเบี้ยเลี้ยงในการสนับสนุนในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) รัฐควรเพิ่มงบประมาณในการดำเนินงานของศูนย์ เพื่อสะดวกในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ 3) ให้ความรู้ด้านการเกษตรและให้ความรู้ในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ 4) รัฐควรปรับเพิ่มค่าตอบแทนในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าเดิม 5) ควรมีการประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินงานต่างๆของศูนย์ฯ เพื่อให้เกษตรกรได้รู้ในบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ 6) ควรจัดเวลาในการปฏิบัติงานในศูนย์ฯให้มากกว่านี้ และมีคณะกรรมการมาร่วมในการดำเนินการด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการดำเนินงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลต่อการดำเนินงานของศูนย์ในจังหวัดเชียงใหม่ การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดอุทัยธานี ผลการดำเนินงานเรื่องการศึกษาบทบาทของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่ปี 2547 ความพึงพอใจของผู้นำสถาบันเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดอ่างทอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดปัตตานี ความพึงพอใจของผู้นำสถาบันเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดปทุมธานี ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก