สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
อัมพร วัฒนชัยเสรีกุล - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
ชื่อเรื่อง (EN): STUDY ON THE COMPARISON OF PLANT NUTRIENTS INCOMPOST ( LDD1) AND VERMICOMPOST
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัมพร วัฒนชัยเสรีกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ดำเนินการในปี พ.ศ.2549-2551 ณ.บ้านหนองเขื่อน ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและปริมาณธาตุอาหารพืชจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ที่ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ต่างๆ ปรากฎผลการทดลองดังนี้ การศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน วางแผนการทดลองแบบ 2x3 factoria in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดตัวย่อยสลายอินทรีย์วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ สารเร่ง พด1 และไส้เดือนดิน ( Perionyx excavatus ) ปัจจัยที่ 2 คือชนิด เศษอินทรีย์วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ตะกรันอ้อย ใบไม้ ผัก จากผลการศึกษาพบว่าปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากตะกรันอ้อย มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงสุดเท่ากับ 1.84% และ 1.73% ตามลำดับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากผัก มีอินทรียวัตถุและธาตุโพแทสเซียมสูงสุดซึ่งเท่ากับ 41.39% และ 1.93% ตามลำดับ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากตะกรันอ้อยมีธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงสุดเท่ากับ 2.42% และ 0.60% ตามลำดับ ส่วนปุ๋ยหมัก ที่ผลิตจากตะกรันอ้อยโดยใช้สารเร่ง พด1 และไส้เดือนดิน มีธาตุซัลเฟอร์เป็นปริมาณที่เท่ากันคือ 0.22% สำหรับปริมาณสุทธิของปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ต่อน้ำหนักสดเศษอินทรีย์วัสดุเหลือใช้ 1 ตัน พบว่าปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากใบไม้ ได้ปริมาณปุ๋ยมากที่สุดเท่ากับ 744.16 กิโลกรัม และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากผักได้ปริมาณปุ๋ยน้อยที่สุดเท่ากับ 115.52 กิโลกรัม การทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกในแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB มีกรรมวิธีการทดลองทั้งหมด 8 กรรมวิธี คือ ไม่ใส่ปุ๋ยหมัก ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1ที่ผลิตจากตะกรันอ้อย ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากใบไม้ ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากผัก ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากตะกรันอ้อย ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากใบไม้ ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากผัก และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง พบว่าต้นพริกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ผลิตจากใบไม้ มีความสูงมากที่สุดเท่ากับ 115.85 เชนติเมตร และต้นพริกใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากผักมีความกว้างทรงพุ่มมากที่สุดเท่ากับ 88.33 เซนติเมตร สำหรับปริมาณผลผลิตพริกที่ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากผัก ให้ปริมาณผลผลิตมากที่สุด 366 กิโลกรัม/ไร่/ปี แต่พริกที่ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 ที่ผลิตจากตะกรันอ้อย ให้รายได้สุทธิหรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดเท่ากับ 9,984 บาท/ไร่/ปี
บทคัดย่อ (EN): The study on the comparison of plant nutrients in compost ( LDD1 ) and vermicompost, which was carried out in 2006 - 2008 at Bannongkheun, Raimaipattana, Cha-um, Petchaburi, objective to study the quality and quantity of compost in regard to the amount of plant nutrients. The results showed that nitrogen and phosphorus composition of the compost ( LDD1 ), produced from sugarcane filter cake, were 1.84% and 1.73%, respectively. The vermicompost from vegetables gave the highest value of organic matter and potassium content which were 41.39% and 1.93%, respectively. The vermicompost from sugarcane filter cake gave the maximum number of calcium and magnesium at 2.42% and 0.60%, respectively. The compost from sugarcane filter cake and LDD1 yielded the highest sulfur content at 0.22%. Regarding to the net quantity of compost produced per 1 ton wet weight of waste organic matter, the compost ( LDD1 ) from the leaves yielded the highest amount of compost at 744.16 kg, in contrast to the vermicompost from vegetables which gave the lowest amount of compost, only 115.52 kg. The efficiency of the compost ( LDD1 ) and vermicompost on growth and production of chill was tested by using RCB desing with 8 treatment ; without compost, with the compost ( LDD1 ) from sugarcane filter cake, with the compost ( LDD1 ) from leaves, with the compost ( LDD1 ) from vegetable, with vermicompost from sugarcane filter cake, with vermicompost from leaves, with vermicompost from vegetable, and with high quality organic fertilizer. The results showed that chilli grown by adding vermicompost from leaves was tallest with 115.85 cm. When cultivated using the compost ( LDD1 ) from vegetables, the shrub was widest with 88.33 cm. The highest production of chill, 366 Kg/1600 m, was obtained by using the compost ( LDD1 ) from vegetables. However, using the compost ( LDD1 ) from sugarcane filter cake gave the highest net income or economic return of 9,984 Baht/ 1600 m /year.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-06-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี เทคนิคการเพิ่มอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของสารพิษตกค้างในดินเพื่อลดระยะเวลาการ ปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ศึกษาเทคนิคการนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. สกัดสารจากพืชสมุนไพร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูของพืชผัก ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยหมักจากสารเร่งพด.1 ร่วมกับสารป้องกันแมลงศัตรูพืชจากสารเร่งพด.7 เพื่อผลิตผักกาดหัว การประเมินสถานภาพของธาตุอาหารเพื่อการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน ผลการทดลองใช้จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่า(สารเร่ง พด.3)ของผักชีฝรั่ง ในระบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาปริมาณปุ๋ยหมักที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยเคมีและสารเร่ง พด.8 สำหรับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดินนา (กลุ่มชุดดินที่ 5) บริเวณอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมในไส้เดือนดิน ศึกษาการขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินและวัสดุเลี้ยงที่เหมาะสมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างๆ ศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1 และเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชจากสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 ทดแทนการใช้สารเคมีต่อผลผลิต และคุณภาพการเก็บรักษามันฝรั่ง ในกลุ่มชุดดิน 22

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก