สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
นภาพร อิสระกาญจน์กูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นภาพร อิสระกาญจน์กูล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การวิจัยได้ทำการศึกษาสมาชิกของกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร จำนวน 382 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้การแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าอายุของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.5 การศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถม คิดเป็นร้อยละ 81.1 รายได้ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีรายได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.0 ประสบการณ์การทำงาน 3 - 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 86.0 ความพึงพอใจด้านการบริหารและจัดการภายในกลุ่มระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.9 ความพึงพอใจด้านการแลกเปลี่ยนทัศนคติกับผู้ร่วมงาน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 54.0 และความพึงพอใจในการได้รับความรู้ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 58.6 วิธีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เกิดจากเจ้าหน้าที่กระตุ้น สมาชิกสนใจรวมตัวกัน คิดเป็นร้อยละ 56.6 ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อความเหมาะสมในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.0 ความติดเห็นของสมาชิกที่มีต่อความถี่ในการประชุมกลุ่มระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 44.5 ความคิดเห็นของสมาชิกที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่มระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52.5 วิธีการส่งข้อมูลข่าวสารในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ใช้วิธีประชุม คิดเป็นร้อยละ 42.6 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น คิดเป็นร้อยละ 84.6 แหล่งสนับสนุนงบประมาณ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 41.0 ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการรับความรู้จากเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 44.1 ผลการทดสอบสมมติฐาน ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง พบว่า อายุ รายได้ ประสบการณ์การทำงาน ความพึงพอใจในการร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความรู้ การบริหารจัดการภายในกลุ่ม ความเหมาะสมในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ความถี่ในการประชุม การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน การสื่อสารภายในกลุ่ม งบประมาณสนับสนุน การรับความรู้จากเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ วิธีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านธุรกิจกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดพังงา ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก