สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Milk Supply Chain and Logistics Management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค มีวัตถุประสงค์เพื่ศึกษาโครงสร้างและกิจกรรม ในโช่อุปทานสินค้าน้ำนมโค ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดจนถึงปลายน้ำ และประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส ของโซ่อุปทานสินค้าน้ำนมโค ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนมและผู้ประกอบการเอกชน โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งสิ้น 161 ราย โดยทำการศึกษาข้อมูลในแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญ 10 จังหวัด และข้อมูล ทุติยภูมิได้จากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลทางสถิติที่หน่วยงานต่าง ๆ รวบรวมไว้ เช่น กรมปศุสัตว์ และกรมศุลกากร เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายรวม คิดเป็นร้อยละ 1.752 หรือ 0.314 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วยสัดส่วนต้นทุนการขนส่งนั้นมติบต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 1.718 หรือ 0.308 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้นทุนที่สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ สัดส่วนมูลค่าน้ำนมติบที่ถูกตีกลับต่อยอดขาย และสัดส่วน มูลค่น้ำนมดิบค้างถังต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 0.023 หรือ 0.004 บาทต่อกี้โลกรัม และร้อยละ 0.011 หรือ 0.002 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายรวม คิดเป็นร้อยละ 5.27 หรือ 1.014 บาทต่อก็โลกรัม โดยมีสัดส่วนต้นทุนการขนส่งน้ำนมดิบต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 2.50 หรือ 0.482 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้นทุนที่สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ สัดส่วนต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อ ยอดขาย และสัดส่วนตันทุนการให้บริการลูกค้าต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 2.15 หรือ 0.415 บาทต่อก็โลกรัม และร้อยละ 0.23 หรือ 0.044 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมมีต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อยอดขายรวม คิดเป็นร้อยละ 8.26 หรือ 2.497 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีสัดส่วนต้นทุนการขนส่งนมพร้อมดื่ม ต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 7.18 หรือ 2.171 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้นทุนที่สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ สัดส่วน ตันทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย และสัดส่วนต้นทุนการจัดซื้อจัดหาต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 0.630 หรือ 0.192 บาทต่อกิโลกรัม และร้อยละ 0.170 หรือ 0.051 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าตันทุนโลจิสติกส์ที่สำคัญที่สุดของผู้มีส่วนเกี่ยวช้องในสินค้าน้ำนมโค คือ ตันทุน การขนส่ง โดยเกษตรกรมีสัดส่วนต้นทุนการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 98.09 ของตันทุนโลจิสติกส์รวมทั้งหมด ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบมีสัดส่วนตันทุนการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 47.53 ของตันทุนโลจิสติกส์รวมทั้งหมด และ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมมีสัดส่วนตันทุนการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 86.95 ของต้นทุนโลจิสติกส์รวมทั้งหมด จากผลการศึกษาสามารถเสนอข้อเสนอแนะได้ดังนี้ 1) เกษตรกรที่อยู่ในเส้นทางหรือบริเวณใกล้เคียงกัน ควรมีการรวมกลุ่มในการขนส่งน้ำนมดิบเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 2) ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ควรมีการบริหารจัดการระบบการขนส่งในการรับน้ำนมดิบจากฟาร์มเกษตรกรเอง เพื่อให้สามารถควบคุม ระยะเวลาขนส่งและรักษาคุณภาพของน้ำนมติบได้ 3) ควรมีการวางแผนในการจัดส่งน้ำนมดิบจากศูนย์ รวบรวมน้ำนมติบไปยังโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีการขนส่งหนาแน่น และช่วง ปิดภาคเรียน เพื่อบริหารจัดการการขนสั่งน้ำนมดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ควรมีมาตรการลงโทษที่เข้มงวด สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
บทคัดย่อ (EN): The study on milk supply chain and logistics management aims at scrutinizing operating paradigms of milk supply chain process starting from upstream, internal and ending at downstream and studying efficiency of milk logistics management. The primary data obtains from dairy cattle producers, cooperative and private raw milk collection centers. Dairy processing plants, a total of 161 respondents, located in 10 key different provinces in Thailand. Statistics figures and information published by Department of Livestock Development and Thai Customs are primary data in this study. The empirical study indicates that logistics cost per sale for dairy farmers accounts for 1.752 % or 0.314 baht per kilogram. The major component of this cost is transportation cost per sale which is responsible for 1.718 % or 0.308 baht per kilogram. The rest are ratio returned goods value per sale and ratio of value damaged per sale attributing to 0.023 % or 0.004 baht per kilogram and 0.011 or 0.002 baht per kilogram, respectively. The logistic cost per sale for cooperative raw milk collection centers accounts for 5.27 % or 1.014 baht per kilogram. Transportation cost per sale is 2.50 % or 0.482 baht per kilogram. Warehousing cost per sale and customer service cost per sale are 2.15 % or 0.415 baht per kilogram and 0.23 % or 0.044 baht per kilogram, proportionately. Finally, dairy processing plants undertake logistics cost per sale amount to 8.26 % or 2.497 baht per kilogram. The critical cost is transportation cost for ready to drink milk per sale, which is responsible for 7.18 % or 2.171 baht per kilogram. The rest are ratio of inventory cost per sale and ratio of purchasing cost per sale attributing to 0.630 % or 0.192 baht per kilogram and 0.170 % or 0.051 baht per kilogram, appropriately. In summary, the prominent logistics cost for milk stakeholders is transportation cost. This cost is substantially logistics cost for dairy farmers, 98.09 % of total logistics cost. Cooperative raw milk collection centers bear transportation cost at 47.53 % and dairy processing plants exhibit transportation cost of 86.95 % of total logistics cost. Based on the major findings, recommendations are as follows: 1) Farmers in adjacent areas should collaborate in shipments of raw milk for time saving and minimizing cost of transportation. 2) In order to control delivery time and to maintain quality of raw milk, raw milk collection centers should have their own transportation management systems. 3) Well-planned systems for transportation between cooperative raw milk collection centers and dairy processing plants are required to increment efficiency of raw milk shipments, especially, in festive occasions and semester breaks. 4) Intense punishment should be enforced to those who do not follow the regulations and school milk project procedures.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/baer/research/livestock/milksupplychain.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สระบุรี เชียงใหม่ ลำพูน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ส่วนวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ส่วนวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้สัก การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์โซ่คุณค่ากุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง การศึกษาโซ่อุปทานสุกร การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของส้มโอ จังหวัดสมุทรสงคราม การพัฒนาแบบจำลองโซ่อุปทานของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในประเทศไทย การศึกษาวิจัยสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน กรณีศึกษา : อ้อยและน้ำตาล การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานผลหม่อนในจังหวัดน่าน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก