สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วราภรณ์ แสงทอง - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of RD15, KDML 105 and Sangyod Phatthalung Rice Varieties for Year Round Cultivation in Response to Climate Change
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภรณ์ แสงทอง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ด้วยวิธีผสมกลับรวมทั้งมีอายุวันออกดอกทั้งในฤดูนาปี และนาปรังเหมาะสมกับระบบการปลูกข้าวในปัจจุบัน และสามารถปลูกได้ทุกฤดู รวม 15 สายพันธุ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ด้วยวิธีผสมกลับ โดยใช้ hd1, sd1, er2, er3 และ wx marker ช่วยในการคัดเลือก (MAB) ทำโดยมีข้าวพันธุ์รับ (recurrent parent) คือ ข้าวไวต่อช่วงแสงต้นสูงข้าวเจ้า ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุง ข้าวพันธุ์ให้ (donor parent) มีจำนวน 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ข้าวเหนียว กข6-702 ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย และข้าวสายพันธุ์ กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นสูง BC3F7-1752 เมื่อผลิตเมล็ด F1 ได้แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์รับ เพื่อผลิตเมล็ด BCnF1 โดยแต่ละชั่วของการผสมกลับคัดเลือกต้น BCnF1 ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลให้มียีโนไทป์เป็น heterozygous ของเครื่องหมายทุกตำแหน่ง แล้วนำต้นดังกล่าวผสมกลับไปหาพันธุ์รับจนถึงชั่วของการผสมกลับที่ต้องการ เมื่อต้น BCnF1 ผสมตัวเองได้เมล็ด BCnF2 สำหรับปีที่ 3 (2557) ทำการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด 6 ประชากร โดยที่ประชากรที่ 1 3 และ 5 เป็นการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ในฤดูนาปี 2557 ปลูกศึกษาพันธุ์ 2 แถวที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ เชียงราย และพัทลุง ตามลำดับ ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรดี ส่งมาตรวจยีนที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจัดชุดการทดลอง เพื่อทดสอบผลผลิตในสองพื้นที่ คือ ที่ศูนย์วิจัยข้าว และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยที่แต่ละประชากรมี 4 ชุดการทดลอง คือ ต้นสูง ข้าวเจ้า, ชุดต้นสูง ข้าวเหนียว, ชุดต้นเตี้ย ข้าวเจ้า และชุดต้นเตี้ย ข้าวเหนียว ในฤดูนาปรัง 2558 สามารถคัดเลือกต้นที่มีลักษณะการเกษตรดี เพื่อนำปลูกคัดเลือกในฤดูนาปี 2558 และนาปรัง 2559 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้สายพันธุ์มีความคงตัวทางพันธุกรรมมากขึ้น สำหรับประชากรที่ 2, 4 และ 6 เป็นการปรับปรุงพันธุ์ กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง และมีอายุวันออกดอกเร็ว ซึ่งในฤดูนาปี 2557 ทำผลิตเมล็ด BCnF2 และในฤดูนาปรัง 2558 ซึ่งเป็นสภาพวันยาวจึงปลูกคัดเลือกต้น BCnFn ในนาทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คัดได้สายพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และมีอายุวันเก็บเกี่ยวสั้น ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ นักวิจัย นักวิชาการ และนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทย สามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องหมายโมเลกุลไปประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทยในอนาคต
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-04-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
27 เมษายน 2556
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุง ให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร อิทธิพลของระดับน้ำต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก