สืบค้นงานวิจัย
ความพึงพอใจในการให้บริการเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ปียรัตน์ ประมุขชัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการให้บริการเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปียรัตน์ ประมุขชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนภูมิภาค และประชาชนผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร โดยทำการส่งแบบสำรวจไปยังเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 76 จังหวัดทางไปรษณีย์ และเก็บข้อมูลจากผู้มาใช้บริการของศูนย์วิทยบริการฯ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2548 - เดือนเมษายน 2548 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 79.1 เป็นเพศชาย ร้อยละ 20.9 เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุราชการมากกว่า 10 ปี โดยมีอายุราชการระหว่าง 11 - 20 ปี ร้อยละ 49.3 สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการเอกสารเผยแพร่นั้น เจ้าหน้าที่ร้อยละ 40.3 ไม่ได้มารับบริการเอกสารเผยแพร่ในรอบปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากอยู่ไกล และไม่มีภารกิจมาราชการที่กรมส่งเสริมการเกษตร นอกจากนี้ร้อยละ 95.5 ยังเห็นว่าควรจัดส่งเอกสารเผยแพร่ไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาคโดยตรงแทนการมาขอรับจากส่วนกลาง และควรแจ้งรายชื่อเอกสารคงเหลือรวมทั้งสำรวจความต้องการใช้เอกสารเผยแพร่เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารเผยแพร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด มีเพียงเรื่องการใช้ภาพประกอบและขนาดของตัวหนังสือเท่านั้น ที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก สำหรับประชาชนที่มาใช้บริการนั้น ร้อยละ 51.1 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 34.64 ปี ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 31-40 ปี ประกอบอาชีพข้าราชการมากที่สุด สำหรับคะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ด้านคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.21 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.22 และด้านสถานที่ให้บริการ อยู่ในระดับพอใจมาก คะแนนเฉลี่ย 3.88 ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการของศูนย์วิทยบริการทั้งสองกลุ่ม สรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้คือ ด้านเนื้อหา ควรปรับปรุงเนื้อหาของเอกสารเผยแพร่ให้มีความทันสมัย และมีความหลากหลายมากขึ้น ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความสามารถในด้านการเกษตร เพื่อช่วยแนะนำและตอบปัญหาให้แก่ผู้มารับบริการได้ รวมถึงควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีใจรักงานบริการมากขึ้น ด้านสถานที่ให้บริการ ควรปรับปรุงสถานที่ให้บริการให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และ ด้านการจัดส่งเอกสาร ควรปรับปรุงการจัดส่งเอกสารให้มีความรวดเร็วทันต่อการใช้งานมากขึ้น สำหรับแนวทางในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการฯ นั้น ควรพัฒนาศูนย์วิทยบริการฯให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางการเกษตรทุกสาขา รวมถึงเป็นศูนย์รวมในการให้บริการสื่อทุกประเภท ในลักษณะ One stop service เพื่อความสะดวกของผู้มารับบริการ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนกุมภาพันธ์ 2548 - เดือนเมษายน 2548
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความพึงพอใจในการให้บริการเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร การสื่อสารภายในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2536 การศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการของเกษตรกรต่อการให้บริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดอุดรธานี การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก