สืบค้นงานวิจัย
ผลของถ่านชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตและเติบโต ของยางพารา
สมบัติ ชิณะวงศ์, เตือนใจ ปิยัง, จรรตกร รอดอยู่, ปิยภาคย์ สงประเสริฐ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ผลของถ่านชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตและเติบโต ของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Biochar for Para rubber Growth and Yield Production
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ทำการทดลอง ณ แปลงยางพารา ตำบลห้วยยูง อำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600 อายุ 3 ปี ร่วมกับปุ๋ยสูตรเดียวกันและปริมาณเท่ากันคือปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 อัตรา 500 กรัม/ครั้ง/ต้น ปริมาณปุ๋ย ใส่ร่วมกับถ่านไบโอชาร์จากเปลือกไม้ยางพารา มีคุณสมบัติตามค่าวิเคราะห์ประกอบด้วย ปริมาณอินทรียวัตถุ(%OM) มีค่า 19.57% ไนโตรเจนทั้งหมด(Total nitrogen) มีค่า 0.86 %ฟอสฟอรัส(P) มีค่า 0.54 mg/kg. โพแทสเซียม(K) มีค่า 1.79 mg/kg. C/N ratio มีค่า 69.00 pH มีค่า 9.29 Organic Carbon มีค่า 11.38 % CEC มีค่า15.73 Cmol/kg ใส่ตามสูตรการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มลงในบล็อกอย่างสมบูรณ์ ( Randomized Complete Block Design, RCBD ) โดยแบ่งกลุ่ม ทรีตเม้นท์ที่ศึกษาเป็น 4 สิ่งทดลองแต่ละสิ่งทดลองมี 4 ซ้ำ ซ้ำละ 40 ต้น ดังนี้ 1) ชุดควบคุม (control) 2) ใส่ถ่านไบโอชาร์ปริมาณ 2 กิโลกรัม/ต้น 3)ใส่ถ่านไบโอชาร์ปริมาณ 4 กิโลกรัม/ต้น 4)ใส่ถ่านไบโอชาร์ปริมาณ 6 กิโลกรัม/ต้น เก็บข้อมูลการเติบโตโดยวัดขนาดเส้นรอบลำต้นที่ระดับ 150 เซนติเมตรเหนือผิวดินหลังการทดลอง 12 เดือน พบว่า ชุดการทดลองที่ 4 มีขนาดเส้นรอบลำต้นที่ระดับ 150 เซนติเมตรเหนือผิวดิน สูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 34.75 เซนติเมตร/ต้น ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(P<0.01) ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้ขนาดเส้นรอบลำต้นที่ระดับ 150 เซนติเมตรเหนือผิวดิน มีค่าเพียง 29.97เซนติเมตร ผลวิเคราะห์คุณสมบัติดินบนที่ระดับ 0-15และดินล่างที่ระดับ 15-40 เซนติเมตร หลังการทดลอง 12 เดือน พบว่า ค่าความเป็นกรดด่างของดินหลังใส่ถ่านไบโอชาร์ สูงกว่าชุดควบคุม ปริมาณอินทรียวัตถุ(%OM)ชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ 8.18 ของดินบนและ 8.0% ของดินล่าง ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(P<0.01) C/N ratio ชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ คือ 69.38 ของดินบนและ 63.38 ของดินล่าง (P<0.01) ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์(%OC) ชุดการทดลองที่4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ 4.81 ของดินบนและ 4.5 % ของดินล่าง (P<0.01)ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยปริมาณคาร์บอนอินทรีย์เพียง 0.60 ของดินบนและ0.5 % ของดินลาง ฟอสฟอรัส (P) ชุดการทดลองที่4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ189.60 ของดินบนและ160.6 mg/kg. ของดินล่าง (P<0.01) ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยปริมาณฟอสฟอรัสเพียง 5.78 ของดินบนและ5.5 mg/kg.ของดินล่าง โพแทสเซียม(K) ชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ 208.95 ของดินบนและ180 mg/kg.ของดินล่าง (P<0.01) ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยปริมาณโพแทสเซียมเพียง 19.18 ของดินบนและ 19.17mg/kg. ของดินล่าง ค่าเฉลี่ยไนโตรเจนทั้งหมด (Total nitrogen) ชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุม 0.24 ของดินบนและ 0.20 mg/kg.ของดินล่าง (P<0.01) ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเพียง 0.06 % ของดินบนและ 0.05 mg/kg. ของดินล่าง Total C (%)ชุดการทดลองที่4 มีมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุมคือ 17.56 ของดินบนและ 0.16.5 % ของดินล่าง(P<0.01) ขณะที่การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยปริมาณ Total C เพียง 0.54 ของดินบนและ 0.4 %ของดินล่าง
บทคัดย่อ (EN): Study on Effect of Biochar on Growth and Yield of Para Rubber of 1 RRIM 600, age 3 years was carried out at Huai Yung sub-district, North Klong distrct, Krabi province. The 20-8-20 fertilizer was applied as 500 g / time / tree. The amount of fertilizer mixed with biochar from rubber bark. Qualified according to analytical values, organic matter content was 19.57% , total nitrogen was 0.86%, phosphorus was 0.54 mg / kg, potassium was 1.79 mg / kg. The C / N ratio was 69.00. The pH value was 9.29. The organic carbon was 11.38%. The CEC was 15.73 Cmol / kg. Randomized Complete Block Design (RCBD) was applied in this study. The experiment consisted of 4 treatments, 1) Control, 2) put biochar at 2 kg / plant, 3) put biochar at 4 kg / plant and 4) put bio char at 6 kg / tree. Each treatment was set for 40 replications. The growth data was conducted by measuring the circumference of the trunk at 150 cm above the soil surface. After a 12-month experiment, the tree of treatment 4 at 150 cm above the ground shown highest average as 34.75 cm / tree. The statistically significant difference (P <0.01) was observed comparing to treatment control (treatment 1) which used only fertilizer to show the circumference of the trunk at 150 cm above the soil as only 29.97 cm. Analysis of top soil properties at the level 0-15 cm and sub soil at the level of 15-40 cm of treatment 2-4 after 12 months was higher than treatment control. The organic matter was significantly higher than the control (8.18) of the upper and 8.0 % of the sub soil, which was statistically significantly different (P<0.01). C/N Ratio of treatment 4 was significantly higher than treatment control as 69.38 % of the top soil and 63.38% of the sub soil (P<0.01). Organic Carbon% of treatment 4 On average, the average of the organic carbon content was only 0.60 of the top soil and 0.5% of the sub soil. Phosphorus of treatment 4 was 189.60 which is higher than the treatment control for the bottom soil (P <0.01), whereas using only fertilization resulted in an average phosphorus content of 5.78% of the top soil and 5.5% of the top soil and 160.6 mg / kg. of soil below. Potassium in treatment 4 was significantly higher than that of treatment control, 208.95 of upper and 180, whereas fertilizer application only resulted in an average of 19.18% of potassium content and 19.17mg / kg of sub soil, total nitrogen (mg / kg) for treatment 4 was significantly higher than control as 0.24 of soil and 0.20 mg / kg of soil (P <0.01). Only fertilization resulted in a total nitrogen content of 0.06% of top soil and 0.05 mg / kg of soil. Total C (%) in treatment 4 was an average of 17.56 of the upper soil and 0.16.5% of the lower soil (P <0.01), while only fertilizer resulted in an average of only 0.54 of total soil and 0.4 % of sub soil
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของถ่านชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตและเติบโต ของยางพารา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2560
ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 3) ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 2) การเจริญเติบโตและผลผลิตของขนุนพันธุ์ต่าง ๆ เมื่อปลูกร่วมกับยางพารา ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ปีที่1 การเจริญเติบโตและผลผลิตของหวายบางพันธุ์ที่ปลูกร่วมกับยางพารา ผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 31 ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการปลดปล่อยไนโตรเจน การเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพารา จ.สุราษฎร์ธานี ผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพารา การประเมินศักยภาพการเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพาราและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราในพื้นที่นาร้าง ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน และการเจริญเติบโต และผลผลิตของยางพารา จ.สุราษฎร์ธานี
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก