สืบค้นงานวิจัย
ภูมิภาคอาเซียนกับความมั่นคงทางอาหาร
อิษฏ์ อินทรภูมิ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ภูมิภาคอาเซียนกับความมั่นคงทางอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): The ASEAN and Food Security
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อิษฏ์ อินทรภูมิ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Itch Intarapoom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แนวคิดความมั่นคงทางอาหารเริ่มต้นในการประชุมอาหารโลกปี พ.ศ.2513 ตามแนวความคิดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ความมั่นคงทางอาหารจะต้องมีองค์ประกอบครบด้านทั้ง 4 มิติ (4-Demension of Food Security) ได้แก่ มิติการมีอาหารเพียงพอ (Availability) มิติการเข้าถึงอาหาร (Accessibility) มิติการใช้ประโยชน์จากอาหาร (Utilization) มิติการมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Stability) และยังครอบคลุมไปถึงการที่อาหารมีความปลอดภัย (Food Safety) อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ (Food Nutrition) และการพึ่งพาตนเอง (Self suffciency) ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีการผลิตข้าวที่ถือว่าเป็นพืชอาหารหลักได้มากกว่าการบริโภค เช่นเดียวกับพืซอาหารอื่นๆ ร่วมถึงผักผลไม้ ปศสัตว์และประมง ที่สามารถผลิตได้มากกว่าการบริโภคซึ่งทำให้เห็นว่าอาเซียนน่าจะมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร (Food Self-sufficiency) และมีความมั่นคงทางอาหารภายในภูมิภาค (Food Security) แต่ถ้าหากพิจารณาในระดับประเทศแล้วยังมีช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก โดยในภูมิภาคประกอบด้วยผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ไทยและเวียดนาม ขณะเดียวกันประกอบด้วยสมาชิกผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังจะเผชิญปัญหาความมั่นคงทาง อาหารในมิติความไม่เพียงพอทางอาหาร (Food Unavailability) มิติการเข้าถึงอาหาร (Food Accessibility) และมิติการพึ่งตนเองด้านอาหาร (Food Self-Suffciency ได้ในอนาคต อีกทั้งอาเซียนยังมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) การเกิดวิกฤตการณ์ด้านพลังงานโลก การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการให้ความสำคัญของการผลิตพืชอาหารลดลงในทางตรงกันข้ามเน้นการผลิตพืชพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพืซอาหารสูงขึ้นจนทำให้ประซากรที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร
บทคัดย่อ (EN): The concept of food security first originated in the World Food Conference in 1970, based on Food and Agriculture Organization of the United Nations or FAO’s idea of 4 dimensions of food security as follows: food availability, food accessibility, food utilization, and food stability. This also covers food safety, food nutrition, and self-sufficiency. The studies state that ASEAN in the overall look is quite fertile. Rice production, considered as the main food crop, is higher than consumption as well as other food crops, vegetables and fruits, livestock, and fish which are produced over consumption. Accordingly, ASEAN seems to have food self-sufficiency and food security within the region. However, in the national level, there is a gap between countries posing conflicts toward one another. In the region, Thailand and Vietnam are the main rice producers and exporters while the world’s main rice importers are Malaysia and Singapore. This indicates that ASEAN is about to face food security problems in the future which are food unavailability, food accessibility and food self-sufficiency. Moreover, ASEAN’s food security opens to risks from climate change, global energy crisis, population growth and less production of food crops in contrast with higher production of energy crops which results in increased prices of food crops that are unapproachable for the poor. These factors all affect the region’s food security and food sustainability.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=20 Itch1.pdf&id=2530&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ภูมิภาคอาเซียนกับความมั่นคงทางอาหาร
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางสนับสนุนเศรษฐกิจข้าวและความมั่นคงทางอาหารภายใต้บริบทสังคมจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิจิตร แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนกับการดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติการผลิต วัฒนธรรม และการค้า จังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์นโยบายการค้าระหว่างประเทศและศักยภาพการแข่งขันของบริษัทไทยในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประหว่างประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน วัฒนธรรมอาหารในเขตธนบุรี กรณีศึกษาอาหารโปรตุเกส และอาหารมอญ การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม ความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำแก่ชาวเขาและการอนุรักษ์ปลาไทยพื้นเมือง การศึกษาการใช้แหนหมักเป็นแหล่งอาหารโปรตีoในอาหารไก่พื้นเมือง พันธุกรรมกับอาหารโคนม การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้ออนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก