สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารต่อการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)
พัธพงค์ แซ่ตู - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารต่อการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of dietary protease supplementation on growth performance and digestibility coefficient in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัธพงค์ แซ่ตู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pattapong Saetoo
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารกุ้งขาวที่มีการลดปลาป่ นและใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และสัมประสิทธิ์ การย่อยสารอาหาร วางแผน การทดลองแบบ 3 × 2 แฟคทอเรียล โดยศึกษา 2 ปัจจัยได้แก่ ระดับปลาป่นต่างกัน 3 ระดับคือ 18%, 10% และ 0% โดยแต่ละระดับปลาป่นแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เสริมและเสริมเอนไซม์โปรติเอสที่ระดับ 175 มก./กก. อาหาร อาหารทดลองมี 6 สูตรกำหนดให้อาหารทุกสูตรมีโปรตีน 38% และพลังงาน 4,700 กิโลแคลอรี่/กก.อาหาร ใกล้ เคียงกัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่ากุ้งขาวที่ได้รับอาหารที่มีปลาป่ น 10% มีการเจริญ เติบโต (น้ำหนักเฉลี่ยสุดท้ายและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น) ไม่แตกต่างทางสถิติ (P > 0.05) กับกุ้งขาวที่ได้ รับอาหารที่มีปลาป่น 18% แต่จะมีสัมประสิทธิ์ การย่อยวัตถุแห้งและโปรตีนต่ำกว่า (P < 0.05) ส่วนกุ้งขาวที่ได้ รับอาหารที่ไม่มีปลาป่นมีการเจริญเติบโต กิจกรรมของเอนไซม์ไคโมทริปซิน และสัมประสิทธิ์ การย่อยโปรตีนต่ำที่สุด (P < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกุ้งขาวที่ได้รับอาหารที่มีปลาป่น 18% และ 10% ทั้งนี้การเสริมเอนไซม์โปรติเอสส่งผลให้กุ้งขาวมีประสิทธิภาพการใช้อาหาร กิจกรรมของเอนไซม์ทริปซินและไคโมทริปซิน และสัมประสิทธิ์ การย่อยอาหารเพิ่มสูงขึ้นในทุกระดับปลาป่น (P < 0.05) ดังนั้นสามารถลดระดับปลาป่นในอาหารกุ้งขาวจาก 18% ลงเหลือ 10% ได้โดยการทดแทนด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง และการเสริมเอนไซม์โปรติเอสสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารและสัมประสิทธิ์ การย่อยอาหารให้สูงขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This study was investigated the effects of exogenous protease supplementation in Pacific white shrimp feed in which fish meal level was replaced by supplementing soybean meal on growth performance, feed utilization, and apparent nutrient digestibility coefficients. A 3×2 factorial treatment design was operated by means of study 2 factors: 3 different levels of fish meal including 18%, 10% and 0%; and each fish meal level either un-supplemented or supplemented with 175 mg/kg exogenous protease. Six diets were formulated to be iso-proteic (38%) and iso-energetic (4,700 kcal/kg feed). At the end of the 8 weeks feeding trial, growth performance (mean final weight and percent weight gain) were not significantly different between shrimp fed with 10% and 18% fish meal diet (P > 0.05), whereas shrimp fed with 10% fish meal diet exhibited lower apparent digestibility coefficients (dry matter and crude protein) (P < 0.05). The result also exhibited that growth performance, chymotrypsin activity and apparent digestibility coefficient of crude protein were lowest in shrimp fed with 0% fish meal diet (P < 0.05). Dietary protease supplementation in each fish meal level resulted in increases of feed utilization, trypsin and chymotrypsin activity as well as apparent digestibility coefficients in the shrimp (P < 0.05). Thereby, this study signified that Pacific white shrimp feed can be reduced of fish meal level from 18% to 10% by means of replacing fish meal level with soybean meal. In addition, dietary supplementation with protease performed better improvement of feed utilization and apparent digestibility coefficients.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=2_118_612.pdf&id=3704&keeptrack=10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารต่อการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของจุลินทรีย์อีเอ็มต่อการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม ผลของการเสริมสาหร่ายสไปรูไลนาในอาหารต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคที่เกิดจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม ผลการเสริม Schizochytrium limacinum [D.Honda & Yokochi, 1998] ในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย และความทนทานของกุ้งขาว [Litopenaeus vannamei Boone, 1931] ระยะวัยอ่อน ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม ผลของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นต่อการเจริญเติบโต ระบบการย่อยอาหาร และการยับยั้งโรคติดเชื้อในปลานิล (Nile tilapia: Oreochromis niloticus) ผลของระดับการใช้เปลือกตาลหมักร่วมกับเปลือกสับปะรดทดแทนกระถินเพื่อเป็นอาหารหยาบทดแทนในช่วงฤดูแล้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม ผลของแหล่งไขมันต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะ และส่วนประกอบของซากไก่เนื้อ ผลของลิวซีนในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการสะสมไขมันในซาก ผลของการอดอาหารและการกลับมาให้อาหารต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารของปลาอีกง (Mystus golio) ผลของข้าวโพดดัดแปลงโปรตีนสูงต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่กระทง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก