สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐาน ความคิดเห็น และความพึงพอใจ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ
จตุพร ศรีวิริยะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐาน ความคิดเห็น และความพึงพอใจ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จตุพร ศรีวิริยะ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานกับความคิดเห็น และความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่ม แม่บ้านเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2) ศึกษาความคิดเห็น ความพึงพอใจในการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 3) เปรียบเทียบความแตกต่างด้านลักษณะพื้นฐานกับความคิดเห็น และความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 273 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า F - test สรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 34.8 มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปีร้อยละ 45.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 74.4 มีรายได้ภาคการเกษตรต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาทต่อปี โดยร้อยละ 57.2 มีรายได้นอกภาคการเกษตรต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาทต่อปี ร้อยละ 29.7 มีรายได้รวมของครอบครัวระหว่าง 50,001 - 100,000 บาทต่อปี ร้อยละ 65.2 มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระหว่าง 1 - 5 ปี และร้อยละ 66.7 มีการฝึกอบรมด้านเคหกิจเกษตรระหว่าง 1 - 10 ครั้งต่อปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีความคิดเห็นในระดับมากในประเด็นความพึงพอใจในบทบาท หน้าที่และความสามารถของประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (ค่าเฉลี่ย = 3.64) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับปานกลางในประเด็นความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.35) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อปัญหาของสมาชิกกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 3.16) ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 3.14) ด้านอื่นๆ (ค่าเฉลี่ย = 3.04) และด้านเงินทุน (ค่าเฉลี่ย = 2.84) การทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ และรายได้ของครอบครัวต่างกันมีความคิดเห็นต่อวิธีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มแตกต่างกัน อายุ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ของสมาชิกลุ่มแตกต่างกันในด้านองค์ประกอบด้านบุคคล และการฝึกอบรมด้านเคหกิจเกษตรต่างกันมีความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มแตกต่างกันด้านสภาพขององค์กร อายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อวิธีการส่งเสริมแตกต่างกัน และระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มต่างกันมีความพึงพอใจในเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรแตกต่างกัน อายุ รายได้ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม และการฝึกอบรมด้านเคหกิจเกษตรต่างกันมีความพึงพอใจในบทบาท หน้าที่ และความสมารถของประธานกลุ่มแตกต่างกัน อายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อผลตอบแทนที่ได้รับจากการดำเนินงานของกลุ่มแตกต่างกัน และ รายได้ของครอบครัวต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่มแตกต่างกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสมุทรปราการ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐาน ความคิดเห็น และความพึงพอใจ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในงานส่งเสริมการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสระบุรี ความต้องการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในตำบลท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย ความรู้และบทบาทในการผลิตมันสำปะหลังของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี ความคิดเห็นและความพึงพอใจของสมาชิกและคณะกรรมการในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสงขลา ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโสกนาค ตำบลวังม่วง จังหวัดขอนแก่น ที่มีต่อโครงการแแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ความต้องการความรู้ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ความต้องการความรู้ด้านเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก