สืบค้นงานวิจัย
นิเวศวิทยา และศักยภาพการสืบต่อพันธุ์ของผักหวานป่า บริเวณโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
วิชญ์ภาส สังพาลี - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: นิเวศวิทยา และศักยภาพการสืบต่อพันธุ์ของผักหวานป่า บริเวณโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Ecology and Regeneration Potential of Melientha suavis Pierre (Opiliaceae), Baan Pong Development Forest under the Royal Initiative, Chiang Mai province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิชญ์ภาส สังพาลี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุธีระ เหิมฮึก
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: นิเวศวิทยา และศักยภาพการสืบต่อพันธุ์ของผักหวานป่าบริเวณโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดาริ จังหวัดเชียงใหม่ โดยวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 200 x 200 เมตร ทาการวัดและบันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) ของพรรณไม้ทุกชนิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป พร้อมบันทึกตาแหน่งต้นไม้ทุกต้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากของผักหวานป่า จากการศึกษาพบไม้ยืนต้นในแปลงตัวอย่าง 2,291 ต้นต่อเฮกแตร์ มี 40 ชนิด 36 สกุล 22 วงศ์ ค่าดัชนีความสาคัญทางนิเวศวิทยา (IVI) สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เต็ง รัง ยางเหียง รักใหญ่ และพลวง มีค่าเท่ากับ 66.46, 56.87, 51.56, 33.84 และ 33.64 ตามลาดับ ค่าดัชนีความหลากหลายโดยใช้สูตรของ Shannon-Wiener index เท่ากับ 2.08 การกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของไม้ทุกต้นเป็นแบบ negative exponential โดยจานวนไม้ยืนต้นส่วนมากมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกอยู่ในช่วง 5.0-7.5 เซนติเมตร บ่งบอกถึงสภาพการเติบโตทดแทนตามธรรมชาติเป็นไปด้วยดีและป่าอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงของไม้ยืนต้นในรูปสมการ hyperbolic มีค่าสัมประสิทธิ์เฉพาะพื้นที่ (a) เท่ากับ 1.338 และมีค่า Hmax เท่ากับ 23.15 เมตร ในขณะที่จานวนต้นผักหวานพบทั้งหมด 794 ต้น หรือคิดเป็น 202 ต้นต่อเฮกแตร์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่คอรากสูงสุดเท่ากับ 3.75 เซนติเมตร และมากที่สุดในชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากในช่วง 0.25-0.5 เซนติเมตร ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนในแปลงย่อยขนาด 20 x 20 เมตร พบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากของผักหวานป่าเฉลี่ย จานวนของไม้ยืนต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกไม้ยืนต้นสูงสุด จานวนต้นที่อยู่วงศ์ Dipterocarpaceae และจานวนต้นรังมีค่าสูงในบริเวณที่ลุ่มต่าอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): Ecology and Regeneration Potential of Melientha suavis Pierre (Opiliaceae), Baan Pong Development Forest under the Royal Initiative, Chiang Mai. A 200 x 200 m permanent plot was set up to measure diameter at breast height (DBH) of all plants with DBH of at least 1 cm., and species was identified. Locations of all trees within a plot was recorded as well as diameter at root collar of M. suavis. The study found that there were 2,291 trees found per hectare, from 40 species, 36 genera, and 22 families. Species with the highest DBH was Shorea obtusa with the value of 54.71 cm. S. obtusa, S. siamensis, Dipterocarpus obtusifolius, Gluta usitata, and D. tuberculatus were the top five species with the highest Importance Value Index (IVI) of 66.46, 56.87, 51.56, 33.84, and 33.64 % respectively. The Shannon-Wiener Index was 2.08. Distribution of trees within each DBH class was found to be in a negative exponential form, with most trees occupied a 5.0-7.5 DBH class indicating that the forest under study was in a reestablishment stage. Relationship between DBH and height in form of hyperbolic equation yielded the coefficient of a and Hmax of 1.338 and Hmax of 23.15 m. In terms of M. suavis ecology, it was found that there were 794 M. suavis stands in the area under investigation with the density of 202 stands/ha. The maximum diameter at root collar of M. suavis was 3.75 cm. Most M. suavis was found to fall in the 0.25-0.5 cm. diameter at root collar range. Analysis of Variance within a 20 x 20 subplots indicated that average diameter at root collar of M. suavis, number of trees, number of Dipterocarpaceous trees, and number of S. siamensis showed a significantly larger value on the lower elevation.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-069
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
นิเวศวิทยา และศักยภาพการสืบต่อพันธุ์ของผักหวานป่า บริเวณโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในบริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิธีการการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศของผักหวานป่า การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ความหลากหลายและปัจจัยจำกัดการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ยืนต้นในป่าเขาหินปูนเขตร้อน บริเวณท้องที่ จังหวัดแพร่ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก