สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก
ณัฐวุฒิ พลอยอร่าม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐวุฒิ พลอยอร่าม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประสาน สุขสุทธิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกร ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น พันธุ์ข้าวโพดหวาน ระยะปลูก การจัดการปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) และปุ๋ยเคมี ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดหวาน ศึกษาถึงการยอมรับของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวาน วิธีการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ประการแรก กระทำโดยการสำรวจในภาคสนาม (survey research) พื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ชลบุรี จันทบุรี สระแก้ว เพื่อทราบปัญหาการใช้เทคโนโลยีจากเกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้านค้าเมล็ดพันธุ์และเคมีภัณฑ์เกษตร วิธีการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ประการที่สอง ทำการทดลองในไร่เกษตรกรโดยให้เกษตรกรดำเนินการ คณะผู้วิจัยกำกับดูแลติดตามในแปลงทดลอง ตัวแทนของพื้นที่ ได้แก่ หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี หมู่ที่ 10 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และหมู่ที่ 1 ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว การทดลองประกอบด้วย หนึ่งทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่เหมาะสม 10 พันธุ์ใช้แผนการทดลอง แบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 4 replication 10 treatment สอง ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมของข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์อินทรี 2 ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 4 replication 4 treatment สาม ผลของการจัดการปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) และปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์อินทรี 2 ใช้แผนการทดลองแบบ Split Plot in RCBD 4 replication, main plot ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) 3 อัตรา sub plot ได้แก่ ปุ๋ยเคมี (สูตร 15-15-15) 3 อัตรา และการศึกษาวิจัยด้านต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดหวานลูกผสมโดยใช้วิธีคำนวณ วิธีการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ประการที่สาม ใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรเป็นเครื่องมือในพื้นที่เป้าหมายเดียวกัน พื้นที่ทำการสำรวจและทดลองที่กล่าวแล้ว ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกร ได้แก่ โอกาสในการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม มีให้เลือกซื้อเพียง 1 หรือ 2 พันธุ์ และเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง เกษตรกรไม่ทราบว่าอัตราต้นข้าวโพดต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ที่เหมาะสม ควรมีจำนวนต้นต่อไร่เท่าใดจึงเหมาะสม เกษตรกรไม่ทราบอัตราปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) และปุ๋ยเคมีในอัตราเท่าใดต่อไร่จึงเหมาะสมที่ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นและข้าวโพดหวานมีคุณภาพ เกษตรกรขาดการวางแผนการจัดการการผลิตการตลาด การจดบันทึกฟาร์มก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว จึงผลิตไม่ได้คุณภาพขายไม่ได้ราคา พบว่าพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีแนวโน้มในการให้ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์ไม่แพง หาซื้อได้ง่าย ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2 แหลมทอง (เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวที่นิยมบริโภคฝักสด (ต้ม) ชูการ์ 74 ไฮบริกซ์ 7 สวีท 93 และไฮบริกซ์ 10 พบว่าระยะปลูกระหว่างต้น x ระหว่างแถวที่เหมาะสม ควรเป็นระยะปลูก 25x75 เซนติเมตร (1ต้นต่อหลุม) จะได้ปริมาณต้น 8,533 ต้นต่อไร่ พบว่าอัตราปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) และอัตราปุ๋ยเคมี (สูตร 15-15-15) ต่อไร่ ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) 1 ตัน และปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้ปริมาณผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,074 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่าในปีการผลิต 2547/2548 ลงทุนผลิตข้าวโพดหวาน 1.00 บาท ได้รับผลตอบแทน 2.20 บาท พบว่าการยอมรับของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก อันดับที่หนึ่ง เรื่องพันธุ์ที่ใช้ปลูก เกษตรกรนิยมและยอมรับการใช้พันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวกับนิยมและยอมรับในเรื่องวิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว คิดเป็น ร้อยละ 100.0 อันดับที่สอง เรื่องการป้องกันกำจัดวัชพืชแบบผสมผสาน ร้อยละ 94.5 อันดับที่สาม เรื่องการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่) และปุ๋ยเคมี ร้อยละ 93.6 อันดับที่สี่ เรื่องการเตรียมดินก่อนปลูกร้อยละ 83.5 อันดับที่ห้า เรื่องวิธีการปลูกและการถอนแยกต้นข้าวโพดหวาน ร้อยละ 78.9 อันดับที่หก เรื่องการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ร้อยละ 73.4 และอันดับที่เจ็ด เรื่องการให้น้ำกับต้นข้าวโพดนอกเหนือจากฝนธรรมชาติ ร้อยละ 68.8
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทน จากการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตปลาดุกลูกผสมในบ่อดินจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2557

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก