สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด
พงศ์ศักดิ์ เอมดวง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงศ์ศักดิ์ เอมดวง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับของเกษตรกรต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด เพื่อศึกษาการนำความรู้เรื่องการผลิตเห็ด จากการเข้ารับการฝึกอบรม ไปใช้ประโยชน์ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ตลอดจนศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง(พืชสวน) เป็นกิจกรรมหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นการส่งเสริมการนำความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการไปใช้ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต จะได้รายได้เพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 108 ราย ดังนี้ ผู้เข้าอบรมเป็นชาย และหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 - 40 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 50.93 ไม่เคยทำการผลิตเห็ดมาก่อน แต่หลังเข้ารับการอบรมแล้วกลับไปผลิตเห็ดร้อยละ 60.19 อีกร้อยละ 39.81 (43 ราย) ไม่กลับไปผลิตเห็ด เนื่องจากยังคงประกอบอาชีพเดิม เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่า ยังไม่มั่นใจที่จะทำการผลิตเห็ดแต่ยังมีความตั้งใจที่จะผลิตเห็ด ประการสุดท้ายคือยังขาดเงินทุนที่จะดำเนินการเหล่านี้คือปัญหาอุปสรรค ความรู้ความเข้าใจของเนื้อหาที่อบรมเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด การทำอาหารวุ้น PDA การทำหัวเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่าง ก่อนอบรมมีอยู่น้อยถึงไม่รู้เลย หลังอบรมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง เรื่องการทำก้อนเชื้อเห็ด การนึ่งก้อนเชื้อเห็ด การหยอดเชื้อ และการเปิดดอกเห็ด มีการนำไปปฏิบัติมากกว่าไม่ปฏิบัติ จากผู้เข้าอบรม 65 ราย (60.19 %) ที่กลับไปทำการผลิตเห็ด หลังจากผ่านการอบรมแล้วมีรายได้จากการผลิตเห็ดสูงขึ้นมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม มีผลมาจากการได้ผลผลิตมากขึ้น เก็บดอกเห็ดได้นานขึ้น ดอกเห็ดมีคุณภาพสูง และจากรายได้อื่นๆ (38 ราย) เช่นขายก้อนเชื้อเห็ด ขายหัวเชื้อเห็ด ขายอุปกรณ์การผลิตเห็ด ทำให้มีต้นทุนการผลิตเห็ดสูงขึ้นถึงร้อยละ 55.38 ในส่วนการขายผลผลิตเห็ดหลังอบรมมีการขายส่งมากขึ้นโดยมีการขายในตลาดท้องถิ่น และตลาดประจำอำเภอหรือจังหวัดมากขึ้น ซึ่งก่อนอบรมมีแต่การขายส่งและขายปลีกในตลาดท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดแบบบครบวงจร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นสินค้าต้นแบบจากวัสดุท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนบน การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีและถ่ายทอดงานวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดสระบุรี ทัศนคติและการยอมรับของเกษตรกรในท้องถิ่นต่อเทคโนโลยีการผลิตพืช โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเห็ด สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546 สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีกรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก