สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากใบหม่อน
ปรียะทัศนีย์ ประไชโย1, ธีรพร กงบังเกิด1, นิติพงศ์ จิตรีโภชน์1, วิโรจน์ แก้วเรือง 2, สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ2 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากใบหม่อน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Functional Food from Mulberry Leaves
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาสูตรน้ำชาใบหม่อนพร้อมดื่มโดยมีปัจจัยที่ศึกษา 4 ปัจจัยได้แก่ 1. พันธุ์ของใบหม่อน (คุณไพ และบุรีรัมย์ 60) 2. กรรมวิธีในการทำแห้งใบหม่อน (ทำแห้งแบบครัวเรือน และทำแห้งเชิงอุตสาหกรรม) 3. ความเข้มข้นของน้ำชาใบหม่อน (1:50 และ 1:100) และ 4. ปริมาณน้ำตาล (ร้อยละ 0, 2 และ 5 โดยน้ำหนัก) จากปัจจัยทั้งหมดทำให้ได้น้ำชาใบหม่อนทั้งหมด 24 สูตร เตรียมน้ำชาใบหม่อนโดยต้มชาใบหม่อนกับน้ำร้อน (98 + 2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 5 นาที กรองแล้วเติมน้ำตาลปริมาณต่างๆ และให้ความร้อนต่อที่ 80 + 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที บรรจุน้ำชาใบหม่อนใส่ขวดพลาสติกที่ฆ่าเชื้อแล้ว ทำให้เย็นลงทันทีและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 + 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน ทำการวิเคราะห์ค่าสี (ความสว่างของสี (L*), กำหนดค่าสีแดงหรือสีเขียว (a*) และ กำหนดค่าสีเหลืองหรือน้ำเงิน (b*)) ค่า pH ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณยีสต์ และปริมาณรา ผลการวิจัยพบว่าชนิดของชาใบหม่อนมีผลต่อสีของน้ำชาใบหม่อนแต่ไม่มีผลต่อค่า L* ของน้ำชาใบหม่อน โดยชาที่ทำจากใบหม่อนพันธุ์คุณไพให้สีน้ำตาลอ่อน ในขณะที่น้ำชาใบหม่อนที่ทำจากใบหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ให้สีเขียวอ่อน และค่า L* ของน้ำชาใบหม่อนลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษามากขึ้น วิธีการทำแห้งมีผลต่อความสว่างของชาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยการทำแห้งด้วยมือให้น้ำชาที่มีค่า L* มากกว่าการทำแห้งด้วยเครื่องจักร ปัจจัยที่ศึกษาทั้งสี่ปัจจัย (ชนิดของชาใบหม่อน วิธีการทำแห้ง ความเข้มข้นของชา และปริมาณน้ำตาล) ไม่มีผลต่อค่า pH อย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณน้ำตาลมีผลต่อปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด โดยปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณของแข็งที่ละลายได้เพิ่มขึ้น และเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น ชนิดของชาใบหม่อนและระดับความเข้มข้นของชาใบหม่อนไม่มีผลต่อปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พันธุ์ของใบหม่อนและกรรมวิธีการทำแห้งมีผลต่อค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของน้ำชาใบหม่อน ใบหม่อนพันธุ์คุณไพมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าใบหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และกรรมวิธีในการทำแห้งของชาใบหม่อนที่ได้จากใบหม่อนที่ผ่านการทำแห้งแบบครัวเรือนมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อนที่ผ่านการทำแห้งเชิง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2551-13.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากใบหม่อน
กรมหม่อนไหม
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโปรตีนไฮโดรไลเซทเพื่อสุขภาพจากเห็ด การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากผลไม้พื้นบ้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมะเกี๋ยงผสมน้ำหม่อนพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ การพัฒนาเครื่องดื่มผงชงดื่มจากผลหม่อนผสมน้ำผึ้ง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 2554A17002232 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้า การทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวเม่า นํ้าผัก - ผลไม้พร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก