สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับภาระงานที่กำหนดไว้ของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
พชร ถือแก้ว, รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ, จิรวัฒน์ พัสระ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับภาระงานที่กำหนดไว้ของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison Between Job Performance and Job Description of Agricultural Extension Agents in the Upper North of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน 2) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามภาระงานจริงกับภาระงานที่กำหนดไว้ในลักษณะงานของกรมส่งเสริมการเกษตร และ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวน 238 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 52.1 ปฏิบัติงานในพื้นที่ราบ ร้อยละ 60.5 รับผิดชอบงาน 1 ตำบล ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ 1-5 ปี และรับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 501-1,000 ครัวเรือน ในด้านการปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.78) ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในด้านการติดตามประเมินผลการส่งเสริมการเกษตร วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ของเกษตรกรและชุมชน ให้บริการส่งเสริมอาชีพและดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งเสริมการเกษตร เมื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อคำบรรยายลักษณะงาน พบว่า ภาพรวมเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (xˉ = 3.92) โดยเห็นด้วยว่าหน่วยงานให้ความสำคัญกับคำบรรยายลักษณะงาน มีความเข้าใจในคำบรรยายลักษณะงาน การปฏิบัติงานตามคำบรรยายลักษณะงาน ประโยชน์ของคำบรรยายลักษณะงานต่อการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะในการนำไปปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานคือ การปฏิบัติงานนอกเหนือจากงานหลักมากเกินไปจนไม่มีเวลาปฏิบัติงานหลัก และงานที่ได้รับมอบหมายมีความหลากหลายมากเกินไป เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเสนอว่าควรมอบหมายงานให้ตรงตามคำบรรยายลักษณะงานและลดงานฝากจากหน่วยงานอื่นให้น้อยลงเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were: 1) to study working conditions of agricultural extension agents in the upper north of Thailand, 2) to study the performance of the agricultural extension agents in accordance with the work assigned in job description of the Department of Agricultural Extension, and 3) to study the problems and recommendations in the performance of agricultural extension agents. The researcher used survey research designs to conduct research. The sample for the study was 238 agricultural extension agents in upper northern Thailand. Data was analyzed using descriptive statistics. The results revealed that 52.1% of the agricultural extension agents worked in lowland and 60.5% responsible for 1 district. Most of them have field work experience from 1 to 5 years. Moreover, the agricultural extension agents are responsible for 501-1,000 households. It was found that the agricultural extension agents were working their task in high level (xˉ = 3.78) considering with job description such as analyze potential of agricultural and communal area; promote knowledge transfer in agricultural production; consultation and support farmer and communities to participate in the agricultural development plan, etc. From the study of agricultural extension agents opinions toward their job description, it was found that overall agricultural extension agents agreed (xˉ = 3.92) with their job description. They agreed that the agency focus on job description, they understand the job description, they had ability to follow job description, the benefits of the job description, etc. This study found that agricultural extension officers had problems in getting more tasks from the request of cooperation from other agencies and they perform other tasks than delegated tasks. The agricultural extension officers suggested that the assignment should follow the job description and reduce the task from other agencies for agricultural extension officers to perform in effective way.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับภาระงานที่กำหนดไว้ของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2548
เอกสารแนบ 1
การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชัยภูมิ สภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร : ศึกษาเฉพาะระบบการติดตามและนิเทศงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของประมงอาสาในจังหวัดพัทลุง การปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก