สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
ไกรสิงห์ ชูดี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Research on Asparagus Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไกรสิงห์ ชูดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งดำเนินการระหว่างปี 2549-2553 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่เหมาะสมในแต่ละฤดูกาล และพัฒนาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และชีวินทรีย์ ในรูปแบบการผสมผสานเทคโนโลยีในแต่ละแหล่งปลูก ผลการศึกษาพบว่า พบว่าสูตรอาหารชักนำต้นคือ MS+0.04 ppm NAA+0.1 ppm Kinetin, สูตรอาหารเพิ่มปริมาณต้นคือ MS+0.04 ppm NAA+0.1 ppm Kinetin และ MS+3% sucrose, สูตรอาหารชักนำรากคือ MS+3% sucrose ส่วนการเพาะอับเกสรหน่อไม้ฝรั่งพบว่า สูตรอาหารชักนำแคลลัสคือ MS+ Casein hydrolysate 500 mg/l+glutamine 800 mg/l+2 ppm NAA+1 ppm BA+sucrose 2 %+phytagel 2% สูตรอาหารชักนำต้นและเพิ่มปริมาณคือ MS+glutamine 800 mg/l+inosital 100 mg/l+sucrose 3 %+ phytagel 3 g, MS+0.04 ppm NAA+0.1 ppm Kinetin และ MS+3% sucrose ตามลำดับ และสูตรอาหารที่ชักนำรากคือ MS+3% sucrose การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูร้อนควรใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดินร่วมกับการให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย (Springler) จะให้ผลผลิตหน่อดีสูงสุดถึง 30.16% ส่วนในฤดูหนาว การปลูกหน่อไม้ฝรั่งภายใต้หลังคาพลาสติกใส ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปีสูงสุดคือ 325.02 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการผสมผสานเทคโนโลยีพบว่า วิธีการที่ใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตัน/ไร่, ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 4 ครั้ง, ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง, โปแตสเซียมคลอไรด์อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง คลุมแปลงด้วยแกลบดิบอัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ และในช่วงต้นฤดูหนาวคลุมด้วยฟางข้าวอัตรา 1 ตัน/ไร่ จะให้ผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งสูงสุดเฉลี่ย 3 ปีคือ 325 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในภาคตะวันตกพบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าของกรมวิชาการเกษตรอัตรา 10 กรัม/ต้น สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรลงได้ 50% โดยให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมี 100%
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่งของสมาชิกโครงการเร่งรัดการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2531 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย สภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร ในจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่งของสมาชิกโครงการเร่งรัดการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ใน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ปี พ.ศ.2531 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพกุหลาบ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบคุณภาพสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก