สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาอาหารหอยหวาน
สุพัฒน์ คงพ่วง, เศวต ไชยมงคล, ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี, สุพัฒน์ คงพ่วง, เศวต ไชยมงคล, ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอาหารหอยหวาน
ชื่อเรื่อง (EN): Feed Development for Spotted Babylon (Babylonia areolata)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การพัฒนาอาหารหอยหวาน Development of Spotted Babylon (Babylonia areolata, Link 1807) Feed เศวต ไชยมงคล1, สุพัฒน์ คงพ่วง1, ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี1 และอัมรินทร์ ทองหวาน2 1แผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี 2หน่วยวิจัยและเพาะฟักสัตว์น้ำ สะกอม แผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาชนิดอาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงหอยหวาน (Babylonia areolata, Link 1807) โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย คือ (1) การเลี้ยงหอยหวานพ่อแม่พันธุ์โดยใช้อาหารสดต่างชนิดกัน (2) การใช้เนื้อและกระดูกป่นทดแทนปลาป่นบางส่วนในอาหารทดลอง และ (3) แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกันในอาหารทดลอง เลี้ยงหอยหวานเป็นระยะเวลา 6 เดือนในถังพลาสติกโดยใช้ระบบน้ำแบบไหลผ่านตลอด การทดลองที่ 1 ใช้อาหารสดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis Bleeker) แมลงภู่(Perna. viridis) ปูม้า (Portunus spp) และกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei) เพื่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวาน ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ความหนาแน่น 50 ตัว/ตารางเมตร โดยเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและอัตรารอด จำนวนครั้งในการวางไข่ต่อเดือน จำนวนฝักไข่ต่อเดือน จำนวนไข่ต่อฝัก ความกว้างและความยาวของฝักไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางไข่ อัตราการฟักไข่ อัตราการรอดของตัวอ่อนระยะลงเกาะ และคุณภาพน้ำบางประการทุกๆเดือน ผลการศึกษาพบว่า จำนวนไข่ต่อฝักของชุดการทดลองที่ 1 มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (661.0?22.10 ไข่/ฝัก; P0.05) การทดลองที่ 2 ใช้เนื้อและกระดูกป่นทดแทนปลาป่นในอาหารหอยหวานในระดับ 0 10 20 และ 30 เปอร์เซนต์ โดยมีชุดควบคุมที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาข้างเหลือง ทำการทดลองชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ที่ความหนาแน่น 200 ตัว/ตารางเมตร เก็บข้อมูลอัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพน้ำบางประการทุกๆเดือน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของหอยหวานในชุดควบคุมมีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P0.05) การทดลองที่ 3 ใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) สาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva recticulata) สาหร่ายไส้ไก่(Ulva intestinalis) และแป้งสาคู เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต โดยชุดการทดลองควบคุมเลี้ยงด้วยปลาข้างเหลือง ทดลองชุดการทดลองละ 4 ซ้ำ ที่ระดับความหนาแน่น 200 ตัว/ตารางเมตร เก็บข้อมูลอัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพน้ำรายเดือน ผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของชุดควบคุมมีค่าสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) อัตราการเจริญเติบโตโดยน้ำหนัก ความยาว และความกว้าง เท่ากับ 1.02?0.06 กรัม/เดือน, 0.21?0.01 ซม./เดือน และ 0.29?0.01 ซม./เดือน ตามลำดับ ขณะที่อัตรารอดเท่ากับ 80.63?4.62% แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับสามชุดการทดลองแรก กล่าวโดยสรุป อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเลี้ยงหอยหวานคือปลาข้างเหลือง หากไม่สามารถหาปลาข้างเหลืองสดได้ สามารถผลิตอาหารใช้เอง โดยใช้เนื้อและกระดูกป่นทดแทนปลาป่นในระดับที่น้อยกว่า 20 เปอร์เซนต์ ส่วนการใช้คาร์โบไฮเดรตจากทุกแหล่งที่กล่าวมาข้างต้นมีความเหมาะสม ยกเว้นสาหร่ายไส้ไก่ ทั้งนี้การเลี้ยงหอยหวานโดยใช้วัตถุดิบอาหารที่กล่าวมาข้างต้นให้อัตราการเจริญเติบโตในระดับน่าพอใจ คำหลัก: หอยหวาน อาหาร พ่อแม่พันธุ์ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน สาหร่ายทะเล เนื้อและกระดูกป่น
บทคัดย่อ (EN): Development of Spotted Babylon (Babylonia areolata, Link 1807) Feed Saweit Chaimongkol1, Supat Khongpuang1, Chinnawat Pitagsalee1 and Amrin Thongwaan2 1Division of Fishery Technology, Department of Technology and Industries, Prince of Songkla University Pattani Campus. 2Aquatic Animal Hatchery and Research Unit, Division of Fishery Technology, Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University Pattani Campus. This study aims to determine the suitable feed for Spotted Babylon culture. The study comprises three sub-topics including (1) Different fresh feed for Spotted Babylon broodstock culture, (2) Partial replacement of meat and bone meal for fish meal in trial feed for Spotted Babylon culture, and (3) Different carbohydrate sources in trial feed for Spotted Babylon culture. All were conducted in plastic tank over a 6 months study period using flow through water system. The first study applied various fresh feed; Yellow stripe trevally (Selaroides leptolepis Bleeker), Green Mussel (Perna. viridis), Swimming Crab (Portunus spp.), and White Shrimp (Litopenaeus vanamei) for broodstock rearing. Three replications at a stocking density of 50 pieces/m2 were conducted .Some growth and reproductive parameters; broodstock growth and survival rates, number of spawning time, number of capsule per month, number of egg per capsule, length and width of capsule, egg diameter, hatching rate, and survival rate of settled larva, were collected and compared among treatments. Some water parameters were collected monthly. The number of egg per capsule of the first treatment showed the significant highest value (661.0?22.10 egg/capsule; P0.05) The second study applied meat and bone meal to replace fish meal in trial feed at different levels; 0, 10, 20, and 30%, comparing with Yellow stripe trevally flesh (control treatment). Three replications were applied using the stocking density of 200 pieces/m2. Growth and survival rates were observed monthly as well as some water parameters. The study found that the growth rates of the control treatment (1.08?0.06 g/month, 0.22?0.00 cm/month and 0.33?0.01 cm/month by weight, length, and width, respectively) were significant highest (P0.05). The third study applied 4 different carbohydrate sources (Gracilaria fisheri, Ulva recticulata, Ulva intestinalis and sago flour) comparing with Yellow stripe trevally flesh (control treatment). Four replications were established for all treatments at the stocking density of 200 pieces/m2. Growth and survival rates were observed monthly as well as some water parameters. The growth rate of the control treatment (1.02?0.06 g/month, 0.21?0.01 cm/month and 0.29?0.01 cm/month by weight, length, and width, respectively) were the highest (P0.05). In summary, the best feed was Yellow stripe trevally. However, if it is not available, formulated feed can be prepared by using meat and bone meal to replace fish meal (at ?20%) or using all mentioned carbohydrate sources, except the Ulva intestinalis. Because these are optional protein and carbohydrate sources available locally and provide a considerable growth rate. Key words: Spotted Babylon, Feed, Broodstock, Carbohydrate, Protein, Seaweed and meat and bone meal.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาอาหารหอยหวาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
30 กันยายน 2551
การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ อาหารบำรุงสมอง การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "น้ำส้มจากผง" การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์พกพาสำหรับการหาอะคริลาไมด์ในตัวอย่างอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานด้วยการพัฒนาปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ระบบอิมัลชันในอาหารและความคงตัว การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างโดยละเอียดของเซลล์สืบพันธุ์และระดับ APGWamide ในหอยหวานแปลงเพศจาก TBT

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก